ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ

พิกัด: 13°53′35″N 100°37′04″E / 13.893119°N 100.61775°E / 13.893119; 100.61775
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก SBAC)
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ
Siam Business Administration College of Technology
6/599 หมู่ 5 ซอยพหลโยธิน 52 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
ข้อมูล
ชื่ออื่นเอส-แบค SBAC
ชื่อเดิมโรงเรียนสยามบริหารธุรกิจ
ประเภทสถาบันอาชีวศึกษา
สถาปนาพ.ศ. 2539
ผู้อำนวยการปราศรัย ประวัติรุ่งเรือง
ระดับชั้นปวช. - ปวส.
วิทยาเขตวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี
สี  น้ำเงิน
คำขวัญทักษะเป็นเลิศ เชิดชูคุณธรรม ก้าวนำวิชาการ เชี่ยวชาญเทคโนโลยี
เพลงมาร์ชเอส-แบค
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
เว็บไซต์sbac.ac.th

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC; คำอ่าน : เอส-แบค) หรือ Siam Business Administration Technological College เป็นสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ที่ ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เปิดสอน 2 ระดับ คือ ปวช. และ ปวส. มีอาคารเรียนที่สวยงามทันสมัย ติดเครื่องปรับอากาศทุกห้อง พร้อมเครื่องพิมพ์ดีดและเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 1000 เครื่อง ซึ่งมีสถาบันในเครือ 2 สถาบัน คือ โรงเรียนสยามคอมพิวเตอร์และภาษา และ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ และในขณะนี้ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ ได้ขยายเป็น 2 สาขา คือวิทยาเขตนนทบุรี (SBAC 2) ที่ สี่แยกแคราย

เครื่องแบบ

[แก้]

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ เป็นโรงเรียนอาชีวะศึกษาแห่งแรก ที่ใช้ สูท เป็นเครื่องแต่งกาย เป็นแห่งแรกของประเทศ ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 หรือตั้งแต่ปีเริ่มที่ดำเนินการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความภาคภูมิใจต่อเครื่องแบบ เหตุผลที่ใช้สูท เนื่องจากการใส่สูท ทำให้นักเรียน นักศึกษา มีภูมิฐาน โดยเครื่องแบบของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ ยังติดอันดับแฟชันชุดนักเรียน อีกด้วย

เกียรติคุณของโรงเรียนโดยย่อ

[แก้]
  1. รางวัลเสาเสมาธรรมจักร สาขาผู้ประกอบอาชีพ ที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา
  2. รางวัลชนะเลิศสถานศึกษาดีเด่น ด้านการจัดกิจกรรมบริจาคโลหิต จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  3. รางวัลผู้บริหารดีเด่นระดับกรมของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
  4. ได้รับรองระบบคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9001:2000 ทั้งระบบ
  5. ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ
  6. รางวัลถ้วยพระราชทานการแข่งขันทักษะมรรยาทไทยและการสมาคม จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
  7. รางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ในการบรรยายธรรมะ จากเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
  8. นักเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นเด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ
  9. โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ปีการศึกษา 2546
  10. โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ปีการศึกษา 2550
  11. นักเรียนรางวัลพระราชทาน ปีการศึกษา 2547 (นางสาวแคทรีน อินทรโยธา)
  12. นักเรียนรางวัลพระราชทาน ปีการศึกษา 2548 (นายวาสิฏฐ์ นิติกุลไพศาล ญาณถ้อย)
  13. นักเรียนรางวัลพระราชทาน ปีการศึกษา 2549 (นางสาวลลิตา วงษ์จันทร์)
  14. นักเรียนรางวัลพระราชทาน ปีการศึกษา 2550 (นายวรรณธัช ชั้นแจ่ม)
  15. นักเรียนรางวัลพระราชทาน ปีการศึกษา 2552 (นายวรานนท์ เทียมแสง)
  16. ฯลฯ

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

[แก้]

เปิด 2 หลักสูตร ภาคภาษาไทย และ ภาคภาษาอังกฤษ (English Program) เปิดดำเนินการสอน 6 สาขาวิชา

  1. คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Business Computer)
  2. คอมพิวเตอร์กราฟิค (Computer Graphic)
  3. การบัญชี (Accounting)
  4. การขาย (Selling)
  5. ภาษาต่างประเทศ (Foreign Language)
  6. การโรงแรมและการท่องเที่ยว (Hotel and Tourism)

English Program

[แก้]

ในหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ เปิดดำเนินการเรียนการสอน โดยมีการเชื่อมโยงกับ สถานศึกษาของประเทศออสเตรเลีย คือ สถาบัน TAFE โดยใช้อาจารย์ต่างประเทศ เป็นคนสอนทั้งหมด โดยวิชาด้านภาษาอังกฤษ จะดำเนินการสอนโดยเจ้าของภาษาเป็นผู้สอน และ วิชาทั่วไปจะดำแนินการสอนโดยอาจารย์ชาวฟิลิปปินส์ แต่เปิดดำเนินการสอน เพียง 1 สาขา คือ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในสมัยก่อนมีการเปิดระดับ ปวส. แต่ทว่า เนื่องจากนักศึกษาเรียนต่อน้อย จึงหยุดดำเนินการไปได้ระยะหนึ่งแล้ว โดยผู้ที่จบ จะได้รับใบประกาศนียบัตรจาก สถาบัน TAFE อีกด้วย

ระดับประกาศนัยบัตรวิชาชีพชั้นสูง

[แก้]

เดินดำเนินการสอน 6 สาขาวิชา

  1. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
  2. คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Business Computer)
  3. คอมพิวเตอร์กราฟิค (Computer Graphic)
  4. การบัญชี (Accounting)
  5. การตลาด (Marketing)
  6. ภาษาอังกฤษธุรกิจ (Business for English)
  7. การท่องเที่ยวและการโรงแรม (Tourism )

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°53′35″N 100°37′04″E / 13.893119°N 100.61775°E / 13.893119; 100.61775