กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) | |
---|---|
ชื่ออื่น | กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง[1] |
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของไวรัสซาร์ส | |
การออกเสียง | |
สาขาวิชา | โรคติดเชื้อ |
อาการ | ป่วย, ไอแห้งบ่อย, ปวดหัว, ปวดกล้ามเนื้อ, หายใจลำบาก |
ภาวะแทรกซ้อน | กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) กับโรคร่วมอื่น ๆ ที่นำไปสู่การเสียชีวิต |
สาเหตุ | ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โรคซาร์ส (SARS-CoV-1) |
การป้องกัน | ล้างมือ, รักษามารยาทการไอ, หลีกเลี่ยงกับการใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ, ไม่เดินทางไปยังที่ที่มีผู้ติดเชื้อ[2] |
พยากรณ์โรค | โอกาสเสียชีวิตร้อยละ 9.5 (ทุกประเทศ) |
ความชุก | 8,098 เคส |
การเสียชีวิต | เท่าที่รู้ 774 คน |
กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ โรคซาร์ส (อังกฤษ: severe acute respiratory syndrome, SARS) เป็นไวรัสโรคระบบหายใจที่มีต้นกำเนิดจากสัตว์ซึ่งมาจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (severe acute respiratory syndrome coronavirus; SARS-CoV หรือ SARS-CoV-1) สายจำเพาะแรกของสปีชีส์โคโรนาไวรัสซาร์สในโคโรนาไวรัสสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARSr-CoV) กลุ่มอาการนี้ก่อให้เกิดการระบาดของโรคซาร์สใน ค.ศ. 2002–2004 ในช่วงปลาย ค.ศ. 2017 นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนสืบต้นตอไวรัสจากตัวกลางในอีเห็นข้างลาย ถึงค้างคาวมงกุฎ ในเขตเมืองชาติพันธุ์อี๋ซีหยาง มณฑลยูนนาน[3]
ซาร์สเป็นโรคที่หายาก ในตอนที่โรคระบาดนี้สิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2003 มีผู้ติดเชื้อ 8,422 รายที่มีอัตราป่วยตาย (CFR) ร้อยละ 11[4] ไม่มีเคส SARS-CoV-1 ที่มีการรายงานทั่วโลกมาตั้งแต่ ค.ศ. 2004[5]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 SARSr-CoV อีกสายหนึ่งมีชื่อว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)[6] สายพันธ์ุนี้ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งเป็นโรคทำให้เกิด การระบาดทั่วของโควิด-19[7]
อาการและอาการแสดง
[แก้]อาการแรกเริ่มจะคล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ คือมีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ และอาการแบบไม่จำเพาะอื่น ๆ อาการเดียวที่พบร่วมกันในผู้ป่วยทุกรายคือมีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการหายใจลำบากและมีปอดอักเสบตามมา ซึ่งอาจเป็นปอดอักเสบจากไวรัสโดยตรง หรือเป็นปอดอักเสบจากแบคทีเรียแทรกซ้อน
เชื้อซาร์สมีระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 4–6 วัน แต่ก็พบได้สั้นสุดคือ 1 วัน และนานสุดคือ 14 วัน
สาเหตุ
[แก้]โรคซาร์ส เกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด [8]
- เป็นไวรัสในกลุ่มไวรัสโคโรนา (Corona Virus) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหวัดธรรมดา
- เป็นไวรัสอยู่ในกลุ่มไวรัสพาราไมโซ (Paramyxo Virus) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัด คางทูม และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
การระบาด
[แก้]องค์การอนามัยโลกระบุว่า โรคนี้มีต้นกำเนิดมาจากมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน เมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ระบาดไปที่ฮ่องกง และต่อมาที่เวียดนาม สิงคโปร์ และแคนาดา โดยต่อมามีผู้พบโรคนี้ในที่อื่น ๆ ซึ่งรวมถึงในสหรัฐ ฝรั่งเศส อังกฤษ ไต้หวัน และเยอรมนี[9]
ประเทศหรือภูมิภาค | ติดเชื้อ | เสียชีวิต | อัตราผู้ป่วยตาย (%) | |
---|---|---|---|---|
จีน[a] | 5,327 | 349 | 6.6 | |
ฮ่องกง | 1,755 | 299 | 17.0 | |
ไต้หวัน[b] | 346 | 73[11][12] | 21.1 | |
แคนาดา | 251 | 43 | 17.1 | |
สิงคโปร์ | 238 | 33 | 13.9 | |
เวียดนาม | 63 | 5 | 7.9 | |
สหรัฐอเมริกา | 27 | 0 | 0 | |
ฟิลิปปินส์ | 14 | 2 | 14.3 | |
ไทย | 9 | 2 | 22.2 | |
เยอรมนี | 9 | 0 | 0 | |
มองโกเลีย | 9 | 0 | 0 | |
ฝรั่งเศส | 7 | 1 | 14.3 | |
ออสเตรเลีย | 6 | 0 | 0 | |
มาเลเซีย | 5 | 2 | 40.0 | |
สวีเดน | 5 | 0 | 0 | |
สหราชอาณาจักร | 4 | 0 | 0 | |
อิตาลี | 4 | 0 | 0 | |
บราซิล | 3 | 0 | 0 | |
อินเดีย | 3 | 0 | 0 | |
เกาหลีใต้ | 3 | 0 | 0 | |
อินโดนีเซีย | 2 | 0 | 0 | |
แอฟริกาใต้ | 1 | 1 | 100.0 | |
โคลอมเบีย | 1 | 0 | 0 | |
คูเวต | 1 | 0 | 0 | |
ไอร์แลนด์ | 1 | 0 | 0 | |
มาเก๊า | 1 | 0 | 0 | |
นิวซีแลนด์ | 1 | 0 | 0 | |
โรมาเนีย | 1 | 0 | 0 | |
รัสเซีย | 1 | 0 | 0 | |
สเปน | 1 | 0 | 0 | |
สวิตเซอร์แลนด์ | 1 | 0 | 0 | |
รวมทุกที่ยกเว้นจีน[a] | 2,769 | 454 | 16.4 | |
รวม (29 ดินแดน) | 8,096 | 774 | 9.6 | |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Likhacheva A (April 2006). "SARS Revisited". The Virtual Mentor. 8 (4): 219–22. doi:10.1001/virtualmentor.2006.8.4.jdsc1-0604. PMID 23241619. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2020. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
SARS—the acronym for sudden acute respiratory syndrome
- ↑ "SARS (severe acute respiratory syndrome) – NHS". National Health Service. 2019-10-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ , ประเทศจีน
- สำหรับงานวิจัย ดู: Wang, Ning (2018). "Serological Evidence of Bat SARS-Related Coronavirus Infection in Humans, China" (PDF). Virologica Sinica. 33 (1): 104–107. doi:10.1007/s12250-018-0012-7. PMC 6178078. PMID 29500691. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2020. สืบค้นเมื่อ 8 January 2021.
- สำหรับสื่อข่าวภาษาอังกฤษ ดู: "Bat cave solves mystery of deadly SARS virus — and suggests new outbreak could occur". Nature. 2017-12-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2020. สืบค้นเมื่อ 8 January 2021.
- สำหรับข่าวเพิ่มติมในภาษาจีน ดู: "石正丽团队两年前已发现蝙蝠冠状病毒感染人现象". The Beijing News [新京报]. 2020-02-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2021. สืบค้นเมื่อ 8 January 2021.
- ↑ Chan-Yeung M, Xu RH (November 2003). "SARS: epidemiology". Respirology. 8 Suppl (s1): S9-14. doi:10.1046/j.1440-1843.2003.00518.x. PMC 7169193. PMID 15018127.
- ↑ "SARS (severe acute respiratory syndrome)". NHS Choices. UK National Health Service. 3 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2016. สืบค้นเมื่อ 8 March 2016.
Since 2004, there haven't been any known cases of SARS reported anywhere in the world.
- ↑ "New coronavirus stable for hours on surfaces". National Institutes of Health (NIH) (ภาษาอังกฤษ). NIH.gov. 17 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2020. สืบค้นเมื่อ May 4, 2020.
- ↑ "Myth busters". WHO.int. World Health Organization. 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
- ↑ "รู้จักรับมือ SARS ไวรัส "หวัด" เขย่าโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-08-16. สืบค้นเมื่อ 2007-06-08.
- ↑ ธเนศ พัวพรพงษ์ (บ.ก.). "โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือที่เรียกว่า SARS คืออะไร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2007.
- ↑ "Summary of probable SARS cases with onset of illness from 1 November 2002 to 31 July 2003". World Health Organization. 21 April 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2020.
- ↑ "衛生署針對報載SARS死亡人數有極大差異乙事提出說明" (ภาษาจีนตัวย่อ). 台灣衛生福利部疾病管制署. 16 June 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 February 2020.
- ↑ "十年前SARS流行 346人感染73死亡" (ภาษาจีนตัวย่อ). 公視. 24 April 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2020. สืบค้นเมื่อ 19 February 2020.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Sihoe AD, Wong RH, Lee AT, Lau LS, Leung NY, Law KI, Yim AP (June 2004). "Severe acute respiratory syndrome complicated by spontaneous pneumothorax". Chest. 125 (6): 2345–51. doi:10.1378/chest.125.6.2345. PMC 7094543. PMID 15189961.
- Enserink M (March 2013). "War stories". Science. 339 (6125): 1264–8. doi:10.1126/science.339.6125.1264. PMID 23493690.
- Enserink M (March 2013). "SARS: chronology of the epidemic". Science. 339 (6125): 1266–71. Bibcode:2013Sci...339.1266E. doi:10.1126/science.339.6125.1266. PMID 23493691.
- Normile D (March 2013). "Understanding the enemy". Science. 339 (6125): 1269–73. Bibcode:2013Sci...339.1269N. doi:10.1126/science.339.6125.1269. PMID 23493692.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- MedlinePlus: Severe Acute Respiratory Syndrome News, links and information from The United States National Library of Medicine
- Severe Acute Respiratory Syndrome (SARS) Symptoms and treatment guidelines, travel advisory, and daily outbreak updates, from the World Health Organization (WHO)
- Severe Acute Respiratory Syndrome (SARS): information on the international outbreak of the illness known as a severe acute respiratory syndrome (SARS), provided by the US Centers for Disease Control
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |