ข้ามไปเนื้อหา

เราเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Router)
เราเตอร์ 27 Terabit ต่อวินาที
ตัวอย่างเราเตอร์ซิสโก 1800

เราเตอร์ (อังกฤษ: router) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่หาเส้นทางและส่ง(forward)แพ็กเกตข้อมูลระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไปยังเครือข่ายปลายทางที่ต้องการ เราเตอร์ทำงานบนเลเยอร์ที่ 3 ตามมาตรฐานของ OSI Model

เราเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับสองเส้นทางหรือมากกว่าจากเครือข่ายที่แตกต่างกัน (ต่างจากสวิทช์ที่เชื่อมต่อสายข้อมูลภายในเครือข่ายเดียวกัน) เมื่อแพ็คเก็ตข้อมูลเข้ามาจากเส้นทางหนึ่ง เราเตอร์จะอ่านข้อมูล address ที่อยู่ในแพ็คเก็ตเพื่อค้นหาปลายทางสุดท้าย จากนั้น, ด้วยข้อมูลในตารางเส้นทางหรือนโยบายการส่ง, จะส่งแพ็กเก็ตไปยังเครือข่ายข้างหน้าตามเส้นทางนั้น เราเตอร์จะดำเนินการ "กำกับการจราจร" บนเส้นทางนั้นด้วย แพ็คเก็ตข้อมูลโดยทั่วไปจะถูกส่งจากเราเตอร์หนึ่งไปยังอีกเราเตอร์หนึ่งผ่านเครือข่ายที่เป็น Internetwork จนกว่าจะถึงโหนดปลายทาง[1]

เราเตอร์ประเภทที่คุ้นเคยมากที่สุดคือ เราเตอร์ที่บ้านและสำนักงานขนาดเล็ก ที่เพียงส่งผ่านข้อมูลเช่นหน้าเว็บ, อีเมล์, IM และวิดีโอระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านและอินเทอร์เน็ต เราเตอร์ดังกล่าวอาจเป็นเคเบิลโมเด็มหรือ DSL โมเด็มที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่าน ISP เราเตอร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเช่นเราเตอร์ขององค์กรธุรกิจเชื่อมต่อกับธุรกิจขนาดใหญ่หรือกับเครือข่ายผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เข้ากับคอร์เราเตอร์กำลังสูงที่สามารถส่งข้อมูลไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูงตามแนวเส้นใยแก้วนำแสงของอินเทอร์เน็ตแบ็คโบน แม้ว่าเราเตอร์โดยปกติจะเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยฮาร์ดแวร์ก็ตาม การใช้เราเตอร์ที่ทำงานด้วยซอฟต์แวร์มีการเจริญเติบโตมากขึ้น

การประยุกต์ใช้

[แก้]

เมื่อเราเตอร์หลายตัวถูกใช้ในเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างกัน, เราเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับ address ปลายทางโดยใช้โพรโทคอลการกำหนดเส้นทางแบบไดนามิก เราเตอร์แต่ละตัวจะสร้างตารางแสดงรายการเส้นทางที่พอใจ ระหว่างสองระบบบนเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน เราเตอร์มีอินเตอร์เฟซทางกายภาพสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่ประเภทแตกต่างกัน (เช่นสายทองแดง, ใยแก้วนำแสงหรือการส่งไร้สาย) นอกจากนี้ยังมีเฟิร์มแวร์สำหรับเครือข่ายการสื่อสารที่มีมาตรฐานของโพรโทคอลแตกต่างกัน อินเตอร์เฟซแต่ละเครือข่ายจะใช้ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์นี้โดยเฉพาะเพื่อให้สามารถส่งแพ็กเก็ตข้อมูลไปข้างหน้าจากระบบการส่งผ่านโพรโทคอลหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่ง

เราเตอร์อาจถูกใช้ในการเชื่อมต่อกลุ่มตรรกะของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายย่อยสองกลุ่มหรือมากกว่า ที่แต่ละกลุ่มมีที่อยู่ของเครือข่ายย่อยแตกต่างกัน ที่อยู่ของเครือข่ายย่อยที่ถูกบันทึกไว้ในเราเตอร์ไม่จำเป็นต้อง map โดยตรงเข้ากับไปยังการเชื่อมต่ออินเตอร์เฟซทางกายภาพ[2] เราเตอร์มีสองขั้นตอนของการทำงานเรียกว่า เพลนส์[3] ได้แก่:

  • เพลนควบคุม: เราเตอร์จะบันทึกตารางแสดงรายการเส้นทางว่าเส้นทางไหนควรจะถูกใช้เพื่อส่งต่อแพ็คเก็ตข้อมูลและต้องผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เฟสทางกายภาพแบบไหน วิธีนี้ไม่ได้ใช้ที่อยู่ที่กำหนดไว้ภายในล่วงหน้า เรียกว่าเส้นทางแบบคงที่
เราเตอร์ทั่วไปสำหรับบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็กที่ ในรุ่นที่บิลด์อินโมเด็มภายใน(แสดงให้เห็นถึงซ็อคเก็ตสายโทรศัพท์-หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า"โมเด็มเราเตอร์") ADSL และการเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลเข้าสู่เครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต
  • เพลนส่งต่อ: เราเตอร์จะส่งต่อแพ็กเก็ตข้อมูลจากอินเตอร์เฟซขาเข้าไปอินเตอร์เฟซขาออก มันจะเราต์ข้อมูลไปบนประเภทของเครือข่ายที่ถูกต้องโดยใช้ข้อมูลที่ส่วนหัวของแพ็คเก็ต ข้อมูลดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในตารางเส้นทางของเพลนควบคุม

เราเตอร์อาจจัดให้มีการเชื่อมต่อภายในองค์กร, ระหว่างองค์กรธุรกิจและอินเทอร์เน็ต, และระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ISP) เราเตอร์ที่ใหญ่ที่สุด (เช่น Cisco CRS-1 หรือ Juniper T1600) เชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่แตกต่างกันหรืออาจจะใช้ในเครือข่ายองค์กรขนาดใหญ่[4]. เราเตอร์ขนาดเล็กมักจะให้การเชื่อมต่อสำหรับบ้านทั่วไปและเครือข่ายสำนักงาน โซลูชั่นของเครือข่ายอื่น ๆ อาจให้บริการด้วย Wireless Distribution System (WDS) ที่หลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายของการนำสายเคเบิลเครือข่ายเข้าไปในอาคาร

ภายในองค์กรขนาดใหญ่อาจมีเราเตอร์ใช้อยู่ทุกขนาด[5] เราเตอร์กำลังสูงส่วนมากจะพบได้ใน ISP, สถาบันการศึกษาและองค์กรวิจัย ธุรกิจขนาดใหญ่อาจจำเป็นต้องใช้เราเตอร์กำลังสูงมากกว่าเช่นกันเพื่อรับมือกับความต้องการการจราจรข้อมูลในอินเตอร์เนทที่เพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา รุ่นที่เป็นเลเยอร์ 3 จะถูกใช้โดยทั่วไป แต่ไม่ใช่ทั้งหมดที่เครือข่ายขนาดเล็กจำเป็นต้องใช้[6]

การเข้าถึง

[แก้]
ภาพหน้าจอของเว็บอินเตอร์เฟส LuCI ใช้โดย OpenWrt หน้านี้กำหนดแบบไดนามิก DNS

เราเตอร์การเข้าถึงรวมทั้งรุ่น 'สำนักงาน / บ้านขนาดเล็ก (SOHO) จะวางอยู่ที่ไซต์ของลูกค้าเช่นสำนักงานสาขาที่ไม่จำเป็นต้องกำหนดเส้นทางลำดับชั้นแต่อย่างใด โดยปกติแล้วเราเตอร์เหล่านี้จะถูกปรับให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่ต่ำ บางเราเตอร์ SOHO มีความสามารถในการทำงานกับทางเลือกของ firmwares ฟรีของลีนุกซ์เช่น Tomato, OpenWrt หรือ DD-WRT[7].

การกระจาย

[แก้]

เราเตอร์การกระจายจะรวบรวมการจราจรจากเราเตอร์การเข้าถึงหลายช่องทาง การจราจรอาจเป็นที่ไซต์เดียวกันหรือในการเก็บกระแสข้อมูลจากหลายๆไซต์จนถึงสถานที่ขององค์กรที่สำคัญ เราเตอร์กระจายมักจะรับผิดชอบในการบังคับใช้คุณภาพของบริการทั่วแวน ดังนั้นพวกมันอาจจะมีหน่วยความจำมาก การเชื่อมต่ออินเตอร์เฟซหลายๆ WAN และที่สำคัญการประมวลผลข้อมูลที่มีรูทีนการทำงานที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังอาจให้การเชื่อมต่อไปยังกลุ่มของไฟล์เซิร์ฟเวอร์หรือเครือข่ายภายนอกอื่น ๆ

การรักษาความปลอดภัย

[แก้]

เครือข่ายภายนอกจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยโดยรวม แยกออกจากเราเตอร์อาจจะเป็นไฟร์วอลล์หรืออุปกรณ์การจัดการ VPN หรือเราเตอร์อาจรวมถึงฟังก์ชันการรักษาความปลอดภัยเหล่านี้และอื่น ๆ หลาย บริษัทได้ผลิตเราเตอร์ที่มุ่งเน้นรักษาความปลอดภัยเป็นหลัก ได้แก่ PIX และ ชุดของ ASA5500 ของ Cisco Systems, Netscreen ของจูนิเปอร์, Firebox ของ WatchGuard, หลากหลายอุปกรณ์ที่มุ่งเน้น mail ของ Barracuda และอื่น ๆ อีกมากมาย

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าเราเตอร์ยังไวต่อการโจมตี DDoS (การปฏิเสธการให้บริการแบบกระจาย) ซึ่งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ที่ถูกบุกรุกจะทำให้เราเตอร์มีปริมาณการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก ทำให้เราเตอร์ท่วมท้นและทำให้เราเตอร์เสียหายหรือไม่ตอบสนอง เพื่อป้องกันการโจมตี DDoS[8] องค์กรควรพิจารณาใช้โซลูชันการป้องกัน DDoS เช่น บริการบนคลาวด์ที่สามารถดูดซับและกรองการรับส่งข้อมูลที่เป็นอันตรายก่อนที่จะมาถึงเราเตอร์

คอร์

[แก้]

ในสถานประกอบการขนาดใหญ่ คอร์เราเตอร์จะเป็น "แบ็คโบน" เชื่อมต่อเป็นแกนกลางของเครือข่าย ที่ประกอบด้วยเราเตอร์ชั้นในกระจายจากหลายอาคารของมหาวิทยาลัยหรือสถานที่องค์กรขนาดใหญ่ เราเตอร์เหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้วยแบนด์วิดธ์สูง แต่ขาดบางส่วนของคุณสมบัติของเราเตอร์ขอบ(Edge Router)[9].

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและการใช้งานภายใน

[แก้]

เราเตอร์ที่มีไว้สำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและสำหรับการเชื่อมต่อองค์กรที่สำคัญมักจะแลกเปลี่ยนข้อมูลเส้นทางโดยใช้ Border Gateway Protocol (BGP). มาตรฐาน RFC 4098[10] กำหนดประเภทของเราเตอร์ที่ใช้ BGP โพรโทคอลตามฟังก์ชันเราเตอร์ดังนี้:

  • Edge Router: หรือ Provider Edge Router (PE) เป็นเราเตอร์ของ ISP จะอยู่ที่ขอบของเครือข่าย ISP เราเตอร์นี้บางทีใช้ External BGP หรือ EBGP ในผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือในระบบการปกครองตนเอง(Autonomous System, AS)ขององค์กรขนาดใหญ่
ตัวอย่างเราเตอร์แบบต่างๆในเครือข่าย
  • Subscriber edge router: เรียกอีกอย่างว่าเราเตอร์ขอบลูกค้า ตั้งอยู่ที่ขอบของเครือข่ายของผู้ใช้บริการก็ยังใช้โพรโทคอล EBGP
  • Inter-provider border router: เชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นเราเตอร์ที่ใช้ โพรโทคอล BGP ที่รักษาเซสชั่นของ BGP กับเราเตอร์โพรโทคอล BGP อื่นใน ISP AS
  • Core router: เราเตอร์แกนกลางอยู่ภายใน AS เป็นแบคโบนเพื่อดำเนินการจราจรระหว่างเราเตอร์ขอบด้านหนึ่งกับเราเตอร์อีกด้านหนึ่ง[11]
  • Within an ISP: ใน AS ของ ISP เราเตอร์ที่ใช้โพรโทคอล internal BGP ในการสื่อสารกับเราเตอร์ขอบของ ISP อื่น ๆ หรือกับคอร์เราเตอร์ของอินทราเน็ตอื่นๆ หรือเราเตอร์ชายแดนของผู้ให้บริการอินทราเน็ตของ ISP
  • Internet backbone: Internet ไม่ได้มีแบ็คโบนที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนอีกต่อไปซึ่งแตกต่างจากเครือข่ายบรรพบุรุษของมัน เราเตอร์ระบบของ ISP หลักสร้างในสิ่งที่อาจจะถือว่าเป็น core ของแบ็คโบนของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน[12]. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทำงานทั้งสี่ประเภทของเราเตอร์โพรโทคอล BGP อธิบายที่นี่ "core" เราเตอร์ของ ISP จะใช้ในการเชื่อมต่อภายในระหว่างเราเตอร์ขอบกับเราเตอร์ชายแดน คอร์เราเตอร์อาจจะมีฟังก์ชันเฉพาะใน VPN ขึ้นอยู่กับการรวมกันของ BGP และเอ็มพีแอลเอส[13]
  • Port forwarding: เราเตอร์ยังคงใช้สำหรับการส่งต่อพอร์ตระหว่างเซิร์ฟเวอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตส่วนตัว[14]
  • Voice/Data/Fax/Video Processing Routers: ปกติจะเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์การเข้าถึงหรือเกตเวย์ อุปกรณ์เหล่านี้ถูกใช้ในการเร้าต์และประมวลเสียง, ข้อมูล, วิดีโอและการจราจรแฟกซ์บนอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ปี 2005 โทรศัพท์ทางไกลส่วนใหญ่ได้รับการประมวลผลเป็นจราจรแบบ IP (VoIP) ผ่านเกตเวย์เสียง การจราจรเสียงที่ครั้งหนึ่งให้บริการด้วยเครือข่ายสายเคเบิลแบบดั้งเดิม การใช้เราเตอร์ชนิดที่เป็นเซิร์ฟเวอร์การเข้าถึงขยายตัวออกไปพร้อมกับการถือกำเนิดของอินเทอร์เน็ต, ครั้งแรกเข้าถึงด้วย dial-up หลังจากนั้นก็ฟื้นตัวด้วยบริการโทรออกด้วยเสียง

สารสนเทศทางประวัติศาสตร์และทางเทคนิค

[แก้]
Avaya ERS 8600 (2010)

อุปกรณ์ตัวแรกๆที่มีพื้นฐานการทำงานเดียวกันกับเราเตอร์ในวันนี้ก็คือ Interface Message Processor (IMP); IMPเป็นอุปกรณ์ที่สร้าง ARPANET ขึ้นเป็นเครือข่ายแพ็คเก็ตตัวแรก ความคิดสำหรับเราเตอร์ (เรียกว่า "เกตเวย์" ในเวลานั้น) ในขั้นต้นเกิดขึ้นผ่านทางกลุ่มนานาชาติของนักวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า International Network Working Group (INWG) ตั้งขึ้นในปี 1972 เป็นกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการที่จะต้องพิจารณาปัญหาทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกัน ในปีต่อมามันก็กลายเป็นคณะอนุกรรมการของสหพันธ์นานาชาติสำหรับการประมวลผลข้อมูล[15].

อุปกรณ์เหล่านี้แตกต่างจากเครือข่ายแพ็คเก็ตก่อนหน้านี้ในสองทาง ทางแรกอุปกรณ์เหล่านี้เชื่อมต่อเครือข่ายที่ต่างชนิดกัน เช่นสายอนุกรมกับเครือข่ายท้องถิ่น ทางที่สองอุปกรณ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์ connectionless ซึ่งไม่มีบทบาทในการให้ความเชื่อมั่นการจราจรอย่างน่าเชื่อถือ

ไอเดียมีการสำรวจในรายละเอียดมากขึ้น ด้วยความตั้งใจที่จะผลิตระบบต้นแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของสองโปรแกรมร่วมสมัย โปรแกรมแรกคือโปรแกรมที่ริเริ่มโดย DARPA ซึ่งได้สร้างสถาปัตยกรรม TCP / IP ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน[16]. อีกโปรแกรมหนึ่งคือโปรแกรมที่ Xerox PARC ในการสำรวจเทคโนโลยีเครือข่ายใหม่ซึ่งผลิตระบบ PARC Universal Packet system เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท มันจึงได้รับความสนใจน้อยนอกซีร็อกซ์เป็นเวลาหลายปี[17].

หลังจากช่วงต้นปี 1974 เราเตอร์ซีร็อกซ์ตัวแรกเริ่มทำงาน เราเตอร์ IP จริงตัวแรกได้รับการพัฒนาโดยเวอร์จิเนีย Strazisar ที่ BBN ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่ริเริ่มของ DARPA ระหว่างปี 1975-1976. ในตอนท้ายของ 1976, สามเราเตอร์ที่มีพิ้นฐานจาก PDP-11 ให้บริการอินเทอร์เน็ตในต้นแบบการทดลอง[18].

เราเตอร์หลายโพรโทคอลตัวแรกได้ถูกสร้างขึ้นเป็นเอกเทศโดยนักวิจัยที่เอ็มไอทีและ Stanford ในปี 1981; เราเตอร์ Stanford ถูกสร้างโดยวิลเลียม เยเกอร์และเอ็มไอที วันโดย Noel Chiappa. ทั้งคู่ก็ยังขึ้นอยู่กับ PDP-11s[19][20][21][22]

เครือข่ายแทบทั้งหมดในปัจจุบันใช้ TCP / IP แต่เราเตอร์หลายโพรโทคอลยังคงมีการผลิต เราเตอร์อินเทอร์เน็ตสมัยใหม่ที่ทำงานทั้ง IPv4 และ IPv6 เป็นแบบหลายโพรโทคอล แต่เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายกว่าเราเตอร์ที่ประมวลผลโพรโทคอล AppleTalk, DECnet, IP และซีร็อกซ์

ตั้งแต่กลางปี 1970 และในช่วงปี 1980, มินิคอมพิวเตอร์แบบวัตถุประสงค์ทั่วไปทำหน้าที่เป็นเราเตอร์ เราเตอร์ความเร็วสูงสมัยใหม่เป็นคอมพิวเตอร์เชี่ยวชาญสูงกับฮาร์ดแวร์พิเศษที่เพิ่มเพื่อเพิ่มความเร็วทั้งในฟังก์ชันเส้นทางร่วมเช่นการส่งต่อแพ็คเก็ตและฟังก์ชันพิเศษเช่นการเข้ารหัส IPsec

มีการใช้งานอย่างมีนัยสำคัญของเครื่องซอฟแวร์ Linux และ Unix ที่ใช้การเราติ้งเป็นโอเพนซอร์ส สำหรับงานด้านวิจัยและอื่น ๆ ระบบปฏิบัติการของซิสโก้ได้รับการออกแบบอย่างอิสระ ระบบปฏิบัติการของเราเตอร์ที่สำคัญเช่นจากเครือข่ายของ Juniper และเครือข่าย Extreme เป็นซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่มีการแก้ไขอย่างกว้างขวาง

การส่งต่อ

[แก้]

สำหรับฟังก์ชันการส่งต่อแบบ Internet Protocol (IP) บริสุทธิ์ เราเตอร์ถูกออกแบบมาเพื่อลดข้อมูลของสถานะภาพที่เกี่ยวข้องกับแต่ละแพ็คเก็ต วัตถุประสงค์หลักของเราเตอร์คือการเชื่อมต่อหลายเครือข่ายและส่งแพ็คเก็ตไปข้างหน้าปลายทางที่เครือข่ายของตัวเองหรือเครือข่ายอื่น เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ชั้น 3 เพราะว่าการตัดสินใจขั้นต้นในการส่งต่อจะขึ้นอยู่กับข้อมูลแพ็กเก็ต IP ในเลเยอร์ 3 โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ IP ปลายทาง กระบวนการนี้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการเร้าติ้ง เมื่อแต่ละเราเตอร์ได้รับแพ็คเก็ต จะค้นหาในตารางเส้นทางเพื่อจับคู่ที่ดีที่สุดระหว่าง IP address ปลายทางของแพ็คเก็ตกับหนึ่งใน network addresses ในตารางเส้นทาง เมื่อจับคู่ได้แล้ว แพ็คเก็ตจะถูกห่อหุ้ม (encapsulated) ใน เฟรมการเชื่อมโยงข้อมูลชั้น 2 เพื่อส่งไปยังอินเตอร์เฟซขาออกของเราเตอร์ เราเตอร์ไม่ได้มองเข้าไปในเนื้อหาของข้อมูลที่แท้จริงว่าแพ็คเก็ตขนส่งอะไรมา เพียงแต่ตัดสินใจส่งต่อที่ addressesชั้น 3 รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ในส่วนหัว เช่นคุณภาพของบริการ (QoS) เมื่อแพ็คเก็ตถูกส่งต่อไปแล้ว เราเตอร์ไม่เก็บข้อมูลประวัติเกี่ยวกับแพ็คเก็ต แต่เก็บกิจกรรมการส่งรวบรวมเป็นข้อมูลทางสถิติ, ถ้าถูกกำหนดค่าไว้ให้เก็บ

การตัดสินใจในการส่งต่อสามารถทำได้บนชั้นอื่นนอกจากชั้น 3. ฟังก์ชันที่การส่งต่อขึ้นอยู่กับข้อมูลในชั้น 2 เรียกว่าบริดจ์ โดยใช้ layer 2 addresses (เช่น MAC addresses on Ethernet) ในการส่งต่อข้อมูล.

นอกเหนือไปจากหน้าที่การตัดสินใจในการส่งต่อแล้ว เราเตอร์ยังต้องบริหารจัดการความแออัดเมื่อแพ็คเกตมาถึงในอัตราที่สูงกว่าที่เราเตอร์สามารถประมวลผลได้ สามนโยบายที่ใช้กันทั่วไปในอินเทอร์เน็ตได้แก่ tail drop, random early detection (RED), and weighted random early detection (WRED) tail drop ธรรมดาที่สุดและดำเนินการง่ายที่สุด; เราเตอร์เพียงแต่ตัดทิ้งแพ็คเก็ตถ้าความยาวของคิวเกินขนาดของบัฟเฟอร์ในเราเตอร์ RED จะดูความเป็นไปได้ทางสถิติเพื่อตัดทิ้งดาต้าแกรมล่วงหน้าเมื่อคิวมากเกินกว่า buffer ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จนกระทั่งถึงจุดสูงสุดที่กำหนดไว้มันจะกลายเป็น tail drop. WRED ต้องใช้น้ำหนักของขนาดคิวเฉลี่ยเพื่อจะกระทำการใดๆเมื่อการจราจรกำลังจะเกินขนาดที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อที่ว่า short bursts จะไม่เรียกการ random drops มาใช้

ฟังก์ชันอื่นที่เราเตอร์จะดำเนินการก็คือการที่จะตัดสินใจว่าแพ็คเก็ตไหนควรจะดำเนินการก่อนเมื่อมีหลายคิว งานนี้จะจัดการผ่าน QoS ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเมื่อ Voice over IP มีการนำมาใช้ เพื่อให้ความล่าช้าระหว่างแพ็กเกตมีไม่เกิน 150ms เพื่อรักษาคุณภาพของการสนทนาเสียง

ยังมีฟังก์ชันอื่นที่เราเตอร์ดำเนินการที่เรียกว่าการเราติ้งตามนโยบาย ที่ซึ่งกฎพิเศษถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้แทนที่กฎที่ได้มาจากตารางเส้นทาง เมื่อทำการตัดสินใจส่งต่อแพ็คเกต

ฟังก์ชันเหล่านี้อาจจะดำเนินการผ่านเส้นทางภายในเดียวกันกับที่แพ็คเกตเดินทางในเราเตอร์ บางส่วนของฟังก์ชันอาจจะดำเนินการผ่าน application-specific integrated circuit (ASIC) เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดย CPU ต้องทำงานหลายรอบ และฟังชั่นอื่น ๆ อาจจะต้องมีการดำเนินการผ่าน CPU เพราะแพ็กเก็ตเหล่านี้ต้องการความสนใจเป็นพิเศษที่ไม่สามารถจัดการได้โดย ASIC

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • Wireless router

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Overview Of Key Routing Protocol Concepts: Architectures, Protocol Types, Algorithms and Metrics". Tcpipguide.com. Retrieved 15 January 2011.
  2. Requirements for IPv4 Routers,RFC 1812, F. Baker, June 1995
  3. Requirements for Separation of IP Control and Forwarding,RFC 3654, H. Khosravi & T. Anderson, November 2003
  4. "Setting uo Netflow on Cisco Routers". MY-Technet.com date unknown. Retrieved 15 January 2011.
  5. "Windows Home Server: Router Setup". Microsoft Technet 14 Aug 2010. Retrieved 15 January 2011.
  6. Oppenheimer, Pr (2004). Top-Down Network Design. Indianapolis: Cisco Press. ISBN 1-58705-152-4.
  7. "Windows Small Business Server 2008: Router Setup". Microsoft Technet Nov 2010. Retrieved 15 january 2011.
  8. Shaw, Michal (2023-01-03). "What is a DDoS attack & How to stop DDoS on router in 2023?". mynetgearrouterlogin.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  9. "Core Network Planning". Microsoft Technet May 28, 2009. Retrieved 15 January 2011.
  10. Terminology for Benchmarking BGP Device Convergence in the Control Plane,RFC 4098, H. Berkowitz et al.,June 2005
  11. "M160 Internet Backbone Router". Juniper Networks Date unknown. Retrieved 15 January 2011.
  12. "Virtual Backbone Routers". IronBridge Networks, Inc. September, 2000. Retrieved 15 January 2011.
  13. BGP/MPLS VPNs,RFC 2547, E. Rosen and Y. Rekhter, April 2004
  14. "Windows Home Server: Router Setup". Microsoft Technet 14 Aug 2010. Retrieved 15 January 2011.
  15. Davies, Shanks, Heart, Barker, Despres, Detwiler, and Riml, "Report of Subgroup 1 on Communication System", INWG Note #1.
  16. Vinton Cerf, Robert Kahn, "A Protocol for Packet Network Intercommunication", IEEE Transactions on Communications, Volume 22, Issue 5, May 1974, pp. 637 - 648.
  17. David Boggs, John Shoch, Edward Taft, Robert Metcalfe, "Pup: An Internetwork Architecture", IEEE Transactions on Communications, Volume 28, Issue 4, April 1980, pp. 612- 624.
  18. Craig Partridge, S. Blumenthal, "Data networking at BBN"; IEEE Annals of the History of Computing, Volume 28, Issue 1; January–March 2006.
  19. Valley of the Nerds: Who Really Invented the Multiprotocol Router, and Why Should We Care?, Public Broadcasting Service, Accessed August 11, 2007.
  20. Router Man, NetworkWorld, Accessed June 22, 2007.
  21. David D. Clark, "M.I.T. Campus Network Implementation", CCNG-2, Campus Computer Network Group, M.I.T., Cambridge, 1982; pp. 26.
  22. Pete Carey, "A Start-Up's True Tale: Often-told story of Cisco's launch leaves out the drama, intrigue", San Jose Mercury News, December 1, 2001.