ข้ามไปเนื้อหา

ตะพาบฮหว่านเกี๊ยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Rafetus leloii)

ตะพาบฮหว่านเกี๊ยม
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: เต่า
อันดับย่อย: อันดับย่อยเต่า
วงศ์: วงศ์ตะพาบ
สกุล: ตะพาบไบคอลโลไซต์

Đức, 2000
สปีชีส์: Rafetus leloii
ชื่อทวินาม
Rafetus leloii
Đức, 2000
ชื่อพ้อง[1][2]
  • Rafetus vietnamensis (Lê Trần Bình 2010)
  • Rafetus leloii Hà Đình Đức, 2000

ตะพาบฮหว่านเกี๊ยม (อังกฤษ: Hoàn Kiếm turtle; เวียดนาม: Rùa Hồ Gươm, Cụ Rùa; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rafetus leloii) ตะพาบขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง พบอาศัยอยู่ในทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยมหรือทะเลสาบคืนดาบ ใจกลางกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นชนิดที่แยกออกต่างหากหรือเป็นชื่อพ้องของตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (R. swinhoei) ที่จัดอยู่ในสกุลเดียวกัน[3]

โดยตะพาบฮหว่านเกี๊ยมซึ่งพบในทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยมนั้น ทางนักวิทยาศาสตร์ชาวเวียดนาม ห่า ดิ่ญ ดึ๊ก และเล เจิ่น บิ่ญ ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ ยืนยันว่าเป็นคนละชนิดกันกับตะพาบยักษ์แยงซีเกียง โดยชี้ให้เห็นความแตกต่างทางพันธุกรรมเช่นเดียวกับความแตกต่างในลักษณะทางสัณฐานวิทยา แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีคณะนักวิทยาศาสตร์ชาวตะวันตกที่ได้ศึกษาในเรื่องนี้ในปี ค.ศ. 2003 และ ค.ศ. 2011 ที่ระบุว่าความแตกต่างกันของตะพาบทั้ง 2 ชนิดนั้น อาจเป็นเพราะอายุและลำดับพันธุกรรมที่ใช้ไม่เคยถูกส่งไปศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริงในธนาคารยีน และวิจารณ์ว่าการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า vietnamensis ของเล เจิ่น บิ่ญ นั้นไม่ถูกต้องตามหลักของรหัสสากลของศัพท์ทางด้านสัตววิทยาอีกด้วย[4] อีกทั้งตัวอย่างของตะพาบดังกล่าวก็หาได้ยากมาก เนื่องจากเป็นตะพาบที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดแล้ว โดยตัวอย่างที่มีชีวิตที่พบได้ในปัจจุบัน ทราบแต่เพียงว่ามีอยู่แค่ 3 ตัวเท่านั้น คือ ในทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยม 1 ตัว และอีก 2 ตัวเป็นตะพาบที่เลี้ยงในสวนสัตว์ประเทศจีนเท่านั้น[5]

โดยชื่อวิทยาศาสตร์ leloii นั้น ห่า ดิ่ญ ดึ๊ก ตั้งขึ้นเป็นเกียรติแด่จักรพรรดิเล เหล่ย วีรบุรุษในตำนานการสร้างชนชาติเวียดนาม ว่า ในช่วงศตวรรษที่ 15 พระองค์ได้ใช้ดาบศักดิ์สิทธิ์ในการต่อสู้ขับไล่ชาวหมิงที่มารุกราน ต่อมาพระองค์ได้ประทับเรือล่องในทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยม ได้มีตะพาบยักษ์หรือเต่ายักษ์ตัวหนึ่งโผล่ขึ้นมา บอกให้พระองค์ส่งดาบนั้นกลับคืนแด่จ้าวมังกร ดาบเล่มนั้นก็ได้พุ่งออกจากฝักดาบเข้าไปในปากของตะพาบก่อนที่จะหายกลับลงไปสู่ใต้ผิวน้ำ ทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยมจึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ทะเลสาบคืนดาบ"[6]

ในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 2016 ตะพาบฮหว่านเกี๊ยมที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยมได้ตายลง โดยมีผู้พบซาก คาดว่ามีอายุราว 80-100 ปี และมีน้ำหนัก 200 กิโลกรัม หลังการตายมีความเชื่อกันว่าอาจเป็นลางร้ายเกิดแก่ประเทศเวียดนาม[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lê Trần Bình và ctv., 2010, So sánh hình thái và phân tích ADN mẫu rùa lớn mai mềm nước ngọt của Việt Nam gần với rùa hồ Hoàn Kiếm (vừa mới chết sáng nay)o(Comparative morphological and DNA analysis of specimens of giant freshwater soft-shelled turtle in Vietnam related to Hoan Kiem turtle), Tạp chí Công nghệ Sinh học, 8(3A):949-954, song ngữ Anh-Việt.
  2. "Rafetus vietnamensis LE et al., 2010 trên The Reptile Database". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 2, 2013. สืบค้นเมื่อ April 3, 2012.
  3. Farkas, B and Webb, R.G. (2003). "Rafetus leloii Hà Dinh Dúc, 2000—an invalid species of softshell turtle from Hoan Kiem Lake, Hanoi, Vietnam (Reptilia, Testudines, Trionychidae)." Zoologische Abhandlungen. Dresden. 53. pp. 107–112.
  4. Farkas, Balázs; Minh Duc Le; Truong Quang Nguyen (2011). "Rafetus vietnamensis Le, Le, Tran, Phan, Phan, Tran, Pham, Nguyen, Nong, Phan, Dinh, Truong and Ha, 2010 – another invalid name for an invalid species of softshell turtle (Reptilia: Testudines: Trionychidae)". Russian Journal of Herpetology. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2012.
  5. หน้า 108-109, กริวดาว... เสียดาย! สูญพันธุ์ตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด. "V.I.P." โดย กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 1 ฉบับที่ 11: พฤษภาคม 2011
  6. "นักวิจัยตะลึงตะพาบยักษ์เวียดนามยังอยู่". ผู้จัดการออนไลน์. 17 เมษายน 2008.
  7. "ตะพาบน้ำยักษ์ ขวัญใจชาวเวียดนามตายแล้ว เชื่อเป็นลางบอกเหตุร้าย". iam-news. 19 มกราคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]