สกุลพุนทิกรุส
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก Puntigrus)
สกุลพุนทิกรุส | |
---|---|
ปลาเสือสุมาตรา, Puntigrus tetrazona | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ |
อันดับ: | ปลาตะเพียน |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะเพียน |
วงศ์ย่อย: | ปลาบาร์บ |
สกุล: | สกุลพุนทิกรุส Kottelat, 2013 |
ชนิดต้นแบบ | |
Barbus partipentazona Fowler, 1934 |
สกุลพุนทิกรุส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
โดยใช้ชื่อสกุลว่า Puntigrus เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [1]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]คำว่า Puntigrus มาจากพยางค์แรกของสกุล Puntius และคำว่า tigrus (มาจากภาษาละตินคำว่า tigris หมายถึง เสือโคร่ง)[1]
ลักษณะ
[แก้]มีลักษณะเด่นที่แถบตามขวางลำตัว 4 แถบ ลำตัวป้อมสั้น ก้านครีบแข็งที่ครีบหลังมีขอบเป็นซี่จักร ริมฝีปากบาง[2]
การจำแนก
[แก้]ปัจจุบัรมีชนิดที่ได้รับการยอมรับในสกุลนี้ 5 ชนิด ดังนี้:[1]
- Puntigrus anchisporus (Vaillant, 1902)
- Puntigrus navjotsodhii (H. H. Tan, 2012)[3]
- Puntigrus partipentazona (Fowler, 1934) (ปลาเสือข้างลาย)
- Puntigrus pulcher (Rendahl (de), 1922)
- Puntigrus tetrazona (Bleeker, 1855) (ปลาเสือสุมาตรา)
สถานะ
[แก้]ณ ค.ศ. 2020 ทาง IUCN จัดให้ปลาทั้ง 5 ชนิดในสกุล Puntigrus อยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Kottelat, M. (2013): The Fishes of the Inland Waters of Southeast Asia: A Catalogue and Core Bibliography of the Fishes Known to Occur in Freshwaters, Mangroves and Estuaries. เก็บถาวร 2015-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27, pp. 147 & 483
- ↑ หน้า 70, ตะเพียน Update, "คุยเฟื่องเรื่องปลาไทย" โดย อ.ชัยวุฒิ กรุดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. นิตยสาร The FISH MAX ปีที่ 4 ฉบับที่ 55: กุมภาพันธ์ 2014
- ↑ Tan, H.H. (2012): Systomus navjotsodhii, a new cyprinid fish from Central Kalimantan, Borneo. เก็บถาวร 2013-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Raffles Bulletin of Zoology, Supplement No. 25: 285–289.
- ↑ "IUCN".