ข้ามไปเนื้อหา

งูสิงธรรมดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ptyas korros)

งูสิงธรรมดา
งูสิงธรรมดาที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: งู
Serpentes
วงศ์: วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง
สกุล: งูสิง

(Schlegel, 1837)
สปีชีส์: Ptyas korros
ชื่อทวินาม
Ptyas korros
(Schlegel, 1837)
ชื่อพ้อง

งูสิงธรรมดา หรือ งูสิงตาโต หรือ งูสิงบ้าน หรือ งูเห่าตะลาน (อังกฤษ: Indo-Chinese rat snake; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ptyas korros) เป็นงูสิงชนิดหนึ่งที่ไม่มีพิษ จัดอยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubridae)

มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1,400 มิลลิเมตร และหางยาว 445 มิลลิเมตร หัวยาวและส่วนของหัวกว้างกว่าลำคอเล็กน้อย ส่วนปลายของหัวมน ตาใหญ่มาก ลำตัวกลมและยาว หางยาวและส่วนปลายหางเรียว ผิวหนังลำตัวมีเกล็ดปกคลุม เกล็ดบนหัวเป็นแผ่นกว้าง เกล็ดบนหลังทางส่วนต้นของลำตัวมีขนาดใหญ่และพื้นผิวเรียบ เกล็ดท้องขยายกว้าง เกล็ดใต้หางเป็นแถวคู่ เกล็ดรอบลำตัวในตำแหน่งกึ่งกลางตัวจำนวน 15 เกล็ด เกล็ดท้องจำนวน 170 เกล็ด และเกล็ดใต้หางจำนวน 125 เกล็ด ลำตัวมีด้านบนของหัวและบนหลังครึ่งทางด้านหน้าของลำตัวสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเขียว ส่วนครึ่งทางด้านท้ายของลำตัวสีน้ำตาล เกล็ดปกคลุมลำตัวและหางมีขอบแผ่นเกล็ดสีจางหรือสีขาว ซึ่งสีขาวของขอบแผ่นเกล็ดได้ขยายกว้างขึ้นตามลำดับไปทางด้านท้ายลำตัวและหาง ทำให้ด้านท้ายของลำตัว โดยเฉพาะหาง เป็นสีขาวที่มีโครงข่ายร่างแหสีดำ คาง ใต้คอ และด้านท้องสีขาวอมน้ำตาล ด้านใต้หางสีขาว งูวัยอ่อนมีจุดเล็กสีขาวเรียงตัวเป็นแถวพาดขวาง (ไม่เป็นระเบียบ) เป็นระยะอยู่ทางส่วนต้นของลำตัว

พบกระจายพันธุ์ในทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และอนุทวีปอินเดีย เป็นงูที่กินหนูเป็นอาหารหลักกินงูเป็นรอง ออกหากินในเวลากลางวันบนพื้นดิน แต่ขึ้นต้นไม้ได้ดีและรวดเร็ว ว่ายน้ำได้ ประกอบกับมีพฤติกรรมการขู่และชูหัวพร้อมส่งเสียงขู่ฟ่อคล้ายงูเห่า ซึ่งเป็นงูที่มีพิษร้ายแรง จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า งูเห่าตะลาน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Ptyas korros". IUCN Red List of Threatened Species.
  2. Boulenger, G.A. 1893. Catalogue of the Snakes in the British Museum (Natural History). Volume I., Containing the Families...Colubridæ Aglyphæ, part. Trustees of the British Museum (Natural History). (Taylor and Francis, Printers). London. xiii + 448 pp. + Plates I.- XXVIII. (Zamenis korros, pp. 384-385.)
  3. The Reptile Database. www.reptile-database.org.
  4. "งูสิงบ้าน งูเห่าตะลาน" (PDF). tistr.or.th. สืบค้นเมื่อ July 26, 2016.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Ahsan, M. Farid, and Shayla Parvin. 2001. The first record of Ptyas korros (Colubridae) from Bangladesh. Asiatic Herpetological Research 9: 23–24.
  • Jan, G., and F. Sordelli. 1867. Iconographie générale des Ophidiens: Vingt-quatrième livraison. Baillière. Paris. Index + Plates I.- VI. (Coryphodon korros, Plate IV., Figure 2.)
  • Lazell, J.D. 1998. Morphology and the status of the snake genus Ptyas. Herpetological Review 29 (3): 134.
  • Schlegel, H. 1837. Essai sur la physionomie des serpens. Partie Général xxviii + 251 pp. + Partie Descriptive 606 + xvi pp. Schonekat. Amsterdam.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]