ปลาพลาตี้
ปลาพลาตี้ | |
---|---|
อวัยวะสืบพันธุ์ของเพศผู้ที่เรียกว่า "โกโนโพเดียม" (Gonopodium) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cyprinodontiformes |
วงศ์: | Poeciliidae |
สกุล: | Xiphophorus |
สปีชีส์: | X. maculatus |
ชื่อทวินาม | |
Xiphophorus maculatus (Günther, 1866) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ปลาพลาตี้ (อังกฤษ: Platy, Southern platy[1]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Xiphophorus maculatus) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) อันดับปลาออกลูกเป็นตัว (Cyprinodontiformes)
ชื่อ "พลาตี้" นั้นมาจาก คำว่า Platypoecilus ซึ่งเดิมเคยใช้เป็นสกุล มีลักษณะลำตัวสั้นป้อม และกว้างกว่าปลาสอดหางดาบ (X. hellerii) ปลาตัวผู้ และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน คือ ปลาตัวผู้ไม่มีส่วนของก้านครีบหางยื่นยาวออกไป เหมือนปลาสอดหางดาบ การสังเกตความแตกต่างระหว่างเพศได้จากโกโนโพเดียม หรืออวัยวะสืบพันธุ์ของปลาตัวผู้ และสีที่สดใสกว่า และขนาดโตกว่าของปลาตัวเมีย มีสีลำตัวค่อนข้างเหลืองจนถึงน้ำตาลอมเขียว หรือเขียวคล้ำอมน้ำเงิน ครีบหลังสั้น มีขนาดเล็ก และมีรูปร่างเกือบกลม ครีบอก ครีบท้อง และครีบหางไม่มีสี แต่ครีบหางอาจมีขอบเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงิน บริเวณโคนหางมีจุดเล็ก ๆ 1-2 จุด ปลาเพศผู้อาจมีแถบจาง ๆ พาดขวางลำตัว 2-5 แถบ
แพร่กระจายพันธุ์อยู่ในประเทศเม็กซิโก และอเมริกากลางประเทศอื่น ๆ อาทิ กัวเตมาลา, ฮอนดูรัส มีพฤติกรรมอาศัยหลบซ่อนตามไม้น้ำ หรือใต้ร่มเงาริมฝั่งในแหล่งน้ำนิ่ง ในน้ำที่อุณหภูมิประมาณ 20-25 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 7.0-7.5 (pH)
ปัจจุบัน ปลาพลาตี้ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ได้มีการเพาะขยายพันธุ์จนมีสีสันตลอดจนลวดลายสวยงามกว่าปลาดั้งเดิมในธรรมชาติมากมาย เช่น สีแดง, สีเขียว, สีส้ม, สีดำ, สีทอง หรือหลายสีในตัวเดียวกัน และครีบยาว เป็นต้น[2]
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Xiphophorus maculatus ที่วิกิสปีชีส์