พิกเจอร์สแอตแอ็นเอ็กซ์ฮิบิชัน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พิกเจอร์สแอตแอ็นเอ็กซ์ฮิบิชัน หรือ งานนิทรรศการภาพวาด (อังกฤษ: Pictures at an Exhibition; รัสเซีย: Картинки с выставки – Воспоминание о Викторе Гартмане, อักษรโรมัน: Kartínki s výstavki – Vospominániye o Víktore Gártmane, แปลตรงตัว 'Pictures from an Exhibition – A Remembrance of Viktor Hartmann', ฝรั่งเศส: Tableaux d'une exposition) เป็นบทเพลงชุดผลงานเดี่ยวเปียโนที่ประพันธ์โดยโมเดสต์ มูสซอร์กสกีขึ้นในปีค.ศ. 1874 ซึ่งเป็นผลงานที่ทั่วโลกยอมรับว่า เป็นบทเพลงเดี่ยวเปียโนที่มีชื่อเสียงที่สุดในแวดวงเพลงคลาสสิก และเป็นผลงานสำหรับยอดนักเปียโนที่ความสามารถสูง
มูสซอร์กสกีได้ประพันธ์เพลงนี้โดยอาศัยเพลงพื้นเมืองของชาวรัสเซียแฝงไว้มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมากมายในบทเพลง และต่อมา มีคีตกวีแห่งยุคศตวรรษที่ 20 ในนามว่า มัวริส ราเวล คีตกวีชาวฝรั่งเศส ในยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) ได้นำเพลงของมูสซอร์กสกีมาเรียบเรียงตามแนวฉบับอิมเพรสชั่นนิสม์ ราเวลได้ประพันธ์เพลงนี้โดยคงรูปแบบเพลงของมูสซอร์กสกีไว้ให้วงออเคสตร้าบรรเลง จึงได้มีการบันทึกเสียงการแสดงสด ๆ อีกด้วย จึงทำให้ชื่อมูสซอร์กสกีเป็นที่นิยมของทั่วโลกว่า เพลงของเขา ไม่ตกจริง ๆ
ท่อนต่าง ๆ ในเพลงชุดนิทรรศการภาพวาด
[แก้]ผลงานทั้ง 10 ชิ้นในบทเพลงชุดนี้ มูสซอร์กสกีได้รับแรงบันดาลใจจากการไปชมนิทรรศการภาพของศิลปินชื่อดังทั้ง 10 ผลงานภาพวาดของ วิกเตอร์ ฮาร์ทมันน์ มี 5 ชิ้นที่เป็นบทเพลงชื่อว่า "English: Passeggiata - French: Promenade" ซึ่งเป็นท่อนนำและการเดินทางชมภาพอื่น ๆ ที่มูสซอร์กสกีชื่นชอบ และมีลักษณะบทเพลงแตกต่างกันออกไป โดยมีท่อนที่ 2,3 และ 4 เป็นบทเพลง Promenade ซึ่งมูสซอร์กสกีได้ใช้รูปแบบของ วาริเอชั่น ของบทเพลง Promenade โดยอาศัย Promenade ฉบับแม่แบบมาดัดแปลให้ความรู้สึกอารมณ์ต่าง ๆ ในขณะกำลังจะเดินไปชมภาพอื่น ๆ แต่ละบทจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป โดยที่อัตราจังหวะ บันไดเสียง และอารมณ์ของบทเพลงนั้นไม่ซ้ำรูปแบบเดิม จึงทำให้ผลงานของมูสซอร์กสกีมีชื่อเสียงมากขึ้น วลาดิเมียร์ สตาซอฟ ได้เขียนแนวคิดให้กับมูสซอร์กสกีในการชมภาพต่าง ๆ ของเขา ในหลังจากนี้
- ท่อนนำเปิดบทเพลง Promenade (French)
- ในบันไดเสียงบี-แฟล็ต เมเจอร์ โดยมีอัตราจังหวะ 5/4 และเปลี่ยนเป็น 6/4 เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ คำว่า Promenade นี้ เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลเป็นภาษาอังกฤษคือคำว่า Walk แปลว่า "เดิน" สตาซอฟให้ข้อมูลว่า "ซึ่งเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของมูสซอร์กสกี เขาชอบมากจนถอนตัวไม่ขึ้น เขาเกิดมีไอเดียขณะที่เขากำลังชมภาพวาดอยู่นั้น มูสซอร์กสกีได้เกิดความคิดจุดประการไอเดียของเขา ในขณะนั้นเขาก็มีเวลาว่างมาก ๆ สำหรับการแต่งเพลง เขาเริ่มมีความกระวีกระวาด อยากจะชมภาพอื่น ๆ เร็ว ๆ ให้อิ่มใจ และภาพที่กำลังชมอยู่นั้น ๆ ทำให้เขาเกิดแรงดึงดูดความจินตนาการและสนใจอย่างเป็นพิเศษ อาจจะมีช่วงเวลาเศร้า ๆ สำหรับเขา จึงเกิดความคิดอยากแต่งเพลงขึ้นมา จึงบอกกับเพื่อนของมูสซอร์กสกีว่าให้รีบกลับบ้านด่วน" เมื่อมูสซอร์กสกีกลับถึงบ้าน เขารีบคว้าแผ่นกระดาษโน้ตแล้วไปนั่งที่เปียโน แล้วดีดไล่เสียง คิดทำนองและจังหวะไปด้วย ซึ่งมูสซอร์กสกีต้องการให้เพลงมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่มูสซอร์กสกีได้เกิดความคิดอย่างหนึ่งคือ น่าจะเอาเพลงพื้นเมืองของชาว รัสเซีย มาเรียบเรียงเป็นบทเพลงของตัวเอง มูสซอร์กสกีเกิดไอเดียปุ๊บปั๊บทันที นั่งเขียนโน้ตลงกระดาษแผ่นเพลงโดยไม่คำนึงถึงว่าตัวเองจะทำกิจวัตรอะไร มสซอคสกี้ได้แต่งบทเพลงนี้ให้มีลักษณะให้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเล่นแบบฉบับง่าย ๆ แต่เพลงนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงอัตราจังหวะและทำนองอยู่บ้างเล็กน้อย
- ลำดับที่ 1 Gnomus/The Gnome (คนแก่ตัวเล็ก ๆ)
- ในบันไดเสียง บี-แฟล็ต ไมเนอร์ อัตราจังหวะ 3/4 สตาซอฟให้ข้อมูลว่า "เป็นภาพชายแก่ ๆ ตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง กำลังวิ่งอย่างสุดกำลังแต่เกิดหกล้มอย่างงุ่มง่าม ขาก้เกิดพลิกหักงอจนเสียรูป
- Promenade ในรูปแบบ Variation (การเปลี่ยนแปลงรูปแบบ)
- โดยใช้ธีมแบบเดิม แต่เปลี่ยนเป็นบันไดเสียง เอ-แฟล็ต เมเจอร์ ซึ่งถือว่าเป็นท่อนที่นักประพันธ์(ตัวมูสซอร์กสกีเอง)กำลังเดินชมภาพอื่น ๆ อย่างรื่นเริงใจ
- ลำดับที่ 2 Il vecchio castello/The Old Castle (ปราสาทอันเก่าแก่)
- ในบันไดเสียง จี-ชาร์ป ไมเนอร์ อัตราจังหวะ 6/8 สตาซอฟให้ข้อมูลว่า "ภาพนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับปราสาทอันเก่าแก่ในยุคกลาง ๆ เพลงนี้เข้ากับบรรยากาศได้ดี ไพเราะน่าลึกซึ้ง" เป็นชิ้นงานที่โอกาสเกิดความผิดพลาดทางศีลธรรมและวัฒนธรรมในรูปแบบสถาปัตยกรรมของอิตาลี ภาพสีน้ำโดย ฮาร์ทมันน์ กับปราสาทสไตล์ยุคของอิตาลีตอนกลาง
- คั่นด้วยธีม Promenade
- ในบันไดเสียง บี เมเจอร์ ยังคงลักษณะรูปแบบ "Promenade" โดยการเปลี่ยนแปลงบันไดเสียงและการเล่น โดยความยาวของเพลงก็ไม่มากนัก เพียง 8 ห้องเสียงเท่านั้น
- ลำดับที่ 3 Tuilerries (Dispute between Children at Play)
- อยู่ในบันไดเสียง บี เมเจอร์, อัตราจังหวะ 4/4 สตาซอฟให้ข้อมูลว่า "ลู่ทางสวนหย่อมของทิวเลอร์รี่ (Tuilerries) มีจำนวนฝูงชนจำนวนมาก และในที่นั่นมีเด็ก ๆ ที่กำลังสนุกสนานกับการเล่นแบบภาษาเด็ก ๆ และมีนางพยาบาลรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นภาพที่แปลกหูแปลกตาเอามาก ๆ" ฮาร์ทมันน์เริ่มวาดตั้งแต่เริ่มแรกโดยให้วาดส่วนฉากหลังเป็นภาพสวนก่อน แล้วจะลงวาดผู้คนที่กำลังชมธรรมชาติ แต่ก็คิดสันนิษฐานได้ว่า ภาพนี้คงอาจจะอยู่ที่หอการแสดงพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มูสซอร์กสกีได้คิดนำทำนองเพลสอดลงไปในอุปนิสัยรักสนุก ซน ๆ ของเด็ก ๆ ที่กำลังเล่นซุกซนอยู่ในสวน
- ลำดับที่ 4 Bydlo (Cattle) (วัวเปลี่ยวในทุ่งหญ้า)
- อยู่ในบันไดเสียง จี-ชาร์ป ไมเนอร์ อัตราจังหวะ 2/4 สตาซอฟให้ข้อมูลว่า "ในเวลานั้น มีชายคนหนึ่งกำลังทำความสะอาดเกวียนที่ขนฟางมาให้วัวผู้ปล่าวเปลี่ยวกิน วาดโดยโอเซน (Ozen)" ท่อนนี้จะให้ความพิเศษอยู่คือ เมื่อเปิดท่อนนี้ จะเริ่มด้วยเบสต่ำสุด ซึ่งเปรียบเสมือนวัวกำลังร้อง แล้วตามด้วยทำนองไหลเอื่อย ๆ ไปเรื่อย ๆ ท่อนนี้จะเป็นลักษณะความเร็วค่อนข้าวช้าเกือบจะถึงลาร์โก (Largo) ท่อนนี้จะให้ความรู้สึกอย่างเดียวคือ ความปล่าวเปลี่ยว
- คั่นด้วยเพลง Promenade
- ในบันไดเสียง ดี ไมเนอร์ โดยอาศัยจากต้นฉบับเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่อันนี้จะให้ความรู้สึกเศร้า และมีอะไรตะคิดตะควงในตอนหลัง ๆ บทเพลง จะเริ่มยิ้มแย้มได้บ้าง
- ลำดับที่ 5 Balletto dei pulcini nei loro gusci (Ballet of the Unhated Chicks) (ระบำบัลเล่ต์ของลูกเจี๊ยบตัวน้อย)
- อยู่ในบันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ อัตราจังหวะ 2/4 สตาซอฟให้ข้อมูลว่า "ซึ่งเป็นรูปแบบการวาดภาพสไตล์น่ารักอีกแขนงหนึ่งของฮาร์ทมันน์ ภาพนี้ ฮาร์ทมันน์ได้วาดขึ้นในขณะที่มีการแสดงระบำบัลเล่ต์เรื่อง Trilby" โดยที่ฮาร์ทันน์เป็นคนวาดาภพฉากหลังประกอบ เจอรัลด์ อับราฮัม เป็นคนจัดรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับบัลเล่ต์เรื่องนี้ "Trilby" หรือ "เรื่องสุขภาพของปีศาจน้อย" บัลเล่ต์เรื่องนี้จัดท่าเต้นรำโดย Petipa ดนตรีประกอบโดย จูเลียส เกอร์เบอร์ และ จัดรูปแบบฉากหลังโดยฮาร์ทมันน์ และออกนำแสดงต่อสาธารณชนเมื่อปี ค.ศ.1871 และในนี้จะมีฉากการหลบหนีของลูกเจี๊ยบอีกด้วย เป็นฉากที่น่าประทับใจอีกฉากหนึ่ง" ท่อนนี้จะอยู่ในรูปแบบ (ABAC)
- Scherzino (ลักษณะตลก ขี้เล่น และมีทำนองรวดเร็ว)
- Trio (เพลงจำพวกประกอบรูปแบบทริโอ)
- Scherzino (repeat No.1) (ไปเริ่มจากหมายเลข 1 ใหม่ โดยอาจจะใช้โคดาหรือหางเสียง
- Coda (มาที่หางเสียง เป็นการจบบทเพลง)
- ลำดับที่ 6 Samuel Goldenberg und Schumuyle (Yiddish)
- ในบันไดเสียง บี-แฟล็ต ไมเนอร์ อัตราจังหวะ 4/4 สตาซอฟให้ข้อมูลว่า "ในท่อนนี้ จะให้ความรู้สึกของบุคลิกทั้ง 2 คน ถึงแม้ว่าจะเป็นชาวยิวก็จริง ทั้งแตกต่างกันเรื่องความรวยความจน คนนึงอยู่ด้วยความสบาย อิ่มท้องทุกวัน อีกคนต้องลำบากยากแค้น อดมื้อกินมื้อ มูสซอร์กสกีได้แยกภาพนี้เป็นสองฉาก ความรันทดของชาวยิวผู้หิวโหยทำให้มูสซอร์กสกีช้ำใจ ความสุขสบายของชาวยิวอีกคนที่ทำให้มูสซอร์กสกีชื่นใจ ทำให้ความรู้สึกของมูสซอร์กสกีเป็นคนสองคนในคน ๆ เดียวกัน" ภาพนี้ ฮาร์ทมันน์ได้แยกความสามารถทางจำแนกภาพ ทำให้ความรู้สึกห่วงใยชาวยิวผู้หิวโหยกับความรังเกียจชาวยิวอันสุขสบาย
- คั่นธีมด้วย promenade
- ในบันไดเสียง บี-แฟล็ต เมเจอร์ ท่อนนี้ ราเวลได้ตัดตอนเล้ก ๆ น้อย ๆ ไปประกอบจัดรูปแบบวงออเคสตร้า
- ลำดับที่ 7 Limoges le marche (The market at Limoges [The Great News])
- ในบันไดเสียง อี-แฟล็ต เมเจอร์ อัตราจังหวะ 4/4 สตาซอฟให้ข้อมูลว่า "หญิงฝรั่งเศสกำลังต่อเถียงกับแม่ค้าอย่างรุนแรงเรื่องต่อรองราคาสินค้าในตลาด Limoges เป็นเมืองที่อยู่ใจกลางประเทศฝรั่งเศส เรื่องนี้กระจายไปทั่วเรื่องต่อรองราคา ลูกค้าจะต้องการราคาที่ถูก ๆ แต่แม่ค้าไม่ยอมจะเอาราคาสูง ๆ ไว้จะได้กำไร ถกเถียงกันไปกันมา" เป็นข่าวที่กำลังดัง จนชาวฝรั่งเศสเลื่องลือไปทั่วไป
- ลำดับที่ 8 Catacombae (The Catacombs)
- ส่วนแรกลักษณะช้า Largo ในบันไดเสียง บี ไมเนอร์ อัตราจังหวะ 3/4 และช้าปานกลาง Andante ในบันไดเสียง บี ไมเนอร์ เช่นกัน อัตราจังหวะ 6/4 สตาซอฟให้ข้อมูลว่า "ฮาร์ทมันน์ได้เป็นตัวแทนการพิจารณาภาพวาดอันลึกลับของถ้ำที่ฝังคนตาย โดยใช้แสงไฟส่วนใหญ่ในการวาด" ส่วนแรก จะเริ่มด้วยเสียงดังสนั่นหวั่นไหว เหมือนคนกำลังเดินไปยังที่ลึกลับ รู้สึกสัมผัสกับความลึกลับและความมืดอันแปลกประหลาด ได้บรรยายบรรยากาศอันน่ากลัวของดนตรีออกมา บรรยากาศในตอนนั้นเต็มไปด้วยเสียงหลอนดหยหวนของภูติผีปีศาจ มูสซอร์กสกีได้นำตัดส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ จาก Promenade แต่อยู่ในบันไดเสียง บี ไมเนอร์
มีเดีย
[แก้]Pictures at an Exhibition for orchestra (by Maurice Ravel)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ฟังผลงาน Pictures at an Exhibition ที่ มิวโซเพน