ข้ามไปเนื้อหา

มะยมทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Phyllanthus mirabilis)
มะยมหิน (ขี้เหล็กฤษี)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Phyllanthaceae
เผ่า: Phyllantheae
เผ่าย่อย: Flueggeinae
สกุล: Glochidion
สปีชีส์: P.  mirabilis
ชื่อทวินาม
Glochidion mirabilis
Müll.Arg.
ชื่อพ้อง

Phyllanthodendron mirabilis Hemsley

มะยมหิน ชื่อวิทยาศาสตร์: Glochidion mirabilis เป็นพืชในวงศ์ Phyllanthaceae โคนต้นพองออกเป็นหัว ใบคล้ายมะยม มีใบอ่อนสีแดงและสีเขียว มีหลายคนสับสนว่าตกลงมะยมเงินกับมะยมทองเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ คำตอบคือชนิดเดียวกัน สีใบอ่อนไม่ได้แยกความแตกต่างอะไรของชนิด บางต้นยอดสีแดง บางต้นยอดสีเขียว ยอดอ่อนสีแดงเรียกมะยมทอง ยอดอ่อนสีเขียวเรียกมะยมเงิน แล้วถามว่าใช้แยกชนิดได้หรือไม่ ในเมื่อสียอดต่างกัน ตอบว่าไม่ได้ สียอดไม่ใช่ลักษณะความต่างที่สำคัญแม้แต่น้อยเลยทางพฤกษศาสตร์ ไม่มีความเสถียร บางครั้งในที่เดียวกัน จากต้นแม่เดียวกันลูกก็มีทั้งยอดแดงและยอดเขียว ยิ่งไปกว่านั้นคือในต้นเดียวกัน บางครั้งออกยอดมาก็แดง บางครั้งก็เขียว สียอดอ่อนสีแดงเป็นแค่วิวัฒนาการที่มาหลอกแมลงว่าเป็นใบแก่ ไม่ใช่ยอดอ่อน ซึ่งบางครั้งแร่ธาตุสารอาหารเปลี่ยนสียอดอ่อนก็เปลี่ยน และสุดท้ายเมื่อใบแก่ก็จะเป็นสีเขียวทั้งหมด

แหล่งกระจายพันธุ์

[แก้]

มะยมหินชนิดนี้กระจายตัวทั่วภูมิภาคประเทศไทย มีตั้งแต่เหนือจรดใต้ มีในพม่า ลาว กัมพูชา จนถึงมาเลเซีย ชนิดเดียวกันทั้งหมด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

ลักษณะใบย่อย เมื่อยังเล็กใบจะเป็นทรงรีปลายมน เมื่อต้นใหญ่ใบจะเปลี่ยนรูปเป็นใบรีปลายแหลม มีคู่ใบเยอะ ออกดอกแทงเป็นช่อดอกเหมือนน้ำพุที่ปลายยอด ช่อสูงแตกแขนงมีใบประกอบช่อดอกเป็นใบเล็กๆ ออกดอกตามก้านช่อ ติดเมล็ดขนาดเล็ก ไม่มีเนื้อหุ้มมากพอให้กินได้ มะยมหินมีลำต้นเป็นโขดอวบอ้วนไว้สะสมน้ำและอาหารเพราะอาศัยอยู่บนเขาหินปูนเกาะตามก้อนหินและทุกปีต้องเผชิญกับช่วงแห้งแล้ง จึงสะสมน้ำและอาหารไว้ใช้ในยามฤดูแล้ง โดยจะทิ้งใบทั้งหมดและหยุดกิจกรรมทุกอย่างพักตัวรอจนกว่าจะถึงฤดูฝนครั้งหน้า เพื่อจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง

อ้างอิง

[แก้]
  • เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ร้อยพรรณพฤกษา:ผลไม้. กทม. เศรษฐศิลป์. 2554 หน้า 50