ข้ามไปเนื้อหา

เพ็กกี วิตสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Peggy Annette Whitson)
เพ็กกี แอนเนตต์ วิตสัน
เกิด (1960-02-09) 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1960 (64 ปี)
บีคอนส์ฟิลด์ รัฐไอโอวา สหรัฐอเมริกา
สัญชาติชาวอเมริกัน
ศิษย์เก่าIowa Wesleyan University
มหาวิทยาลัยไรซ์
อาชีพนักชีวเคมี
นักบินอวกาศ
นักวิจัย
อาชีพในอวกาศ
นักบินอวกาศนาซา
อยู่บนอวกาศ
665 วัน 22 ชั่วโมง 22 นาที[1]
การคัดเลือก1996 NASA Group
ปฏิบัติการนอกยาน
10
เวลาปฏิบัติการนอกยาน
60 ชั่วโมง, 21 นาที[2]
ภารกิจSTS-111/STS-113 (Expedition 5), Soyuz TMA-11 (Expedition 16), Soyuz MS-03/MS-04 (Expedition 50/51/52), Ax-2
เครื่องหมายภารกิจ
เกษียณ15 มิถุนายน ปีค.ศ.2018[3]
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาชีวเคมี
วิทยานิพนธ์The lactose repressor-operator DNA interaction: chemical and physical studies of the complex (Modification, Equilibrium, Protein, Stopped-Flow, Kinetics) (1986)

เพ็กกี แอนเนตต์ วิตสัน (อังกฤษ: Peggy Annette Whitson; เกิด 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1960) เป็นนักวิจัยชีวเคมีชาวอเมริกัน อดีตนักบินอวกาศนาซา [4] และอดีตหัวผู้บัญชาการสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS)

ภารกิจอวกาศครั้งแรกของเธอคือใน ค.ศ. 2002 เธออยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นเวลานานในฐานะสมาชิกของExpedition 5 ในภารกิจที่สองของเธอ เธอกลายเป็นผู้บัญชาการหญิงคนแรกของสถานีอวกาศนานาชาติกับ Expedition 16[5][6] ใน ค.ศ. 2017 วิตสันเป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกที่เป็นผู้บัญชาการสถานีอวกาศนานาชาติถึงสองครั้ง และสร้างสถิติการเป็นผู้หญิงคนเดียวที่โคจรในอวกาศเป็นเวลา 289 วันก่อนกลับมาที่โซยุซ เอ็มเอส-04[7][8] ภายหลังคริสตินา โคช จะทำลายสถิติด้วยเวลา 328 วัน[9]

วิตสันครองสถิตินักบินอวกาศหญิงที่อายุมากที่สุดและนักบินอวกาศหญิงที่ออกปฏิบัติภารกิจนอกตัวยานนานที่สุด[10][11] โดยเธอมีเวลารวมในอวกาศนาน 60 ชั่วโมง 21 นาที สูงสุดเป็นอันดับที่ 5 จากเวลารวมทั้งหมด[2] เธออายุ 57 ปีขณะปฏิบัติภารกิจอวกาศครั้งสุดท้าย ซึ่งทำให้เธอกลายเป็นสตรีที่มีอายุมากที่สุดที่เคยขึ้นไปอยู่บนห้วงอวกาศ[12]

วิตสันกลับมาที่โลกเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2017 และมีเวลาสะสมอยู่ในอวกาศทั้งหมด 665 วัน ทำให้เธอเป็นนักบินอวกาศที่มีประสบการณ์มากที่สุดของนาซาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นสถิติที่มากที่สุดของชาวอเมริกันและนักบินอวกาศหญิงทั่วโลก[13][14] เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2018 วิตสันประกาศลาออกจากนาซา โดยมีผลในวันเดียวกัน[15] ต่อมาเธอได้กลายเป็นที่ปรึกษาของ Axiom Space[16]และได้รับเลือกให้เป็นผู้บัญชาการของ Axiom Mission 2 [17]

วิตสันมีรายชื่ออยู่ใน 100 บุคคลทรงอิทธิพลแห่งปี ค.ศ. 2018 จากการจัดอันดับของนิตยสารไทม์[18]

อ้างอิง

[แก้]

 บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ

  1. "Astronaut biography: Peggy Whitson". spacefacts.com. สืบค้นเมื่อ September 5, 2017.
  2. 2.0 2.1 Spacefacts (2017). "Astronauts and Cosmonauts with EVA Experience (sorted by "EVA Time")". Spacefacts. สืบค้นเมื่อ May 13, 2017.
  3. Potter, Sean (June 15, 2018). "Record-Setting NASA Astronaut Peggy Whitson Retires". NASA.
  4. NASA. "Peggy A. Whitson (Ph.D.)". Biographical Data. National Aeronautics and Space Administration. สืบค้นเมื่อ 2007-09-17.
  5. Malik, Tariq (2007). "Space Station Astronauts Prepare for Crew Swap". Space.com. สืบค้นเมื่อ October 9, 2007.
  6. Malik, Tariq (October 4, 2007). "Astronauts Ponder State of Space Exploration". Fox News. สืบค้นเมื่อ October 9, 2007.
  7. "Peggy Whitson Space time". spacefacts.de. สืบค้นเมื่อ June 5, 2017.
  8. "Soyuz MS-04 lands as Peggy Whitson ends record-breaking mission". NASASpaceFlight.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-09-02. สืบค้นเมื่อ 2019-12-07.
  9. "Christina Koch Completes 328-Day Mission in Space – Space Station". blogs.nasa.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-18. สืบค้นเมื่อ 2020-02-12.
  10. Garcia, Mark (March 30, 2017). "Peggy Whitson Breaks Spacewalking Record". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-21. สืบค้นเมื่อ 2022-03-08.
  11. "Whitson Becomes World's Oldest Female Spacewalker, as EVA-38 Replaces Aging Space Station Batteries". January 6, 2017. สืบค้นเมื่อ January 10, 2017.
  12. "Peggy Whitson, Oldest Woman Astronaut, Sets New Spacewalk Record | Travel + Leisure". Travelandleisure.com. 2017-03-30. สืบค้นเมื่อ 2017-09-03.
  13. "'American Space Ninja' Back On Earth After Record-Breaking Flight". NPR. 2017-08-06. สืบค้นเมื่อ 2017-09-03.
  14. "Astronaut Peggy Whitson returns to Earth after record-breaking spaceflight". Fox News Channel. สืบค้นเมื่อ 2017-09-02.
  15. Potter, Sean (June 15, 2018). "Record-Setting NASA Astronaut Peggy Whitson Retires". NASA.
  16. "What would you ask an astronaut, given the chance?". Axiom Space. 8 October 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-08.
  17. Record-holding astronaut Peggy Whitson and mission pilot John Shoffner to lead Axiom Space’s Ax-2 mission to enable new research in space
  18. "Peggy Whitson: The World's 100 Most Influential People". Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-09-22.

ดูเพิ่ม

[แก้]