ข้ามไปเนื้อหา

รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Parahippocampal cortex)
รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส
ก้านสมองของมนุษย์มองจากฐาน (รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส คือ #7, ขวามือตรงกลาง)
รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสอยู่ด้านล่างตรงกลาง
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินgyrus parahippocampalis
MeSHD020534
นิวโรเนมส์164
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_807
TA98A14.1.09.234
TA25515
FMA61918
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์
รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสมีสีเหลืองตรงกลางด้านขวา

รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส (อังกฤษ: parahippocampal gyrus) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รอยนูนฮิปโปแคมปัส (อังกฤษ: hippocampal gyrus[1] เป็นเขตเนื้อเทา ในคอร์เทกซ์เปลือกสมอง (cerebral cortex) ที่อยู่รอบๆ ฮิปโปแคมปัส เขตในสมองนี้มีความสำคัญในการเข้ารหัสความจำ (memory encoding) และการค้นคืนความจำ (memory retrieval)

สมองเขตนี้เกี่ยวข้องกับบางกรณีของคนไข้ที่มีภาวะฮิปโปแคมปัสแข็ง (hippocampal sclerosis)[2]

ในคนไข้โรคจิตเภท (schizophrenia) เขตสมองนี้ในซีกสมองทั้งสองข้างมีขนาดไม่เท่ากัน[3]

ขอบเขตและส่วนย่อย

[แก้]

ศัพท์ว่า คอร์เทกซ์รอบฮิปโปแคมปัส (parahippocampal cortex) หมายถึงเขตที่ครอบคลุมทั้ง รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสด้านหลัง[4] และส่วนกลางของรอยนูนรูปกระสวย (fusiform gyrus)

บทบาทหน้าที่

[แก้]

การรู้จำสถานที่

[แก้]

เขตสถานที่รอบฮิปโปแคมปัส (อังกฤษ: parahippocampal place area, ตัวย่อ PPA) เป็นเขตย่อยในคอร์เทกซ์รอบฮิปโปแคมปัสที่มีบทบาทสำคัญในการเข้ารหัสและรู้จำสถานที่ (เปรียบเทียบกับการเข้ารหัสและรู้จำใบหน้าหรือวัตถุอื่นๆ) งานวิจัยด้วย fMRI แสดงว่า เขตสถานที่มีระดับการทำงานสูงเมื่อมนุษย์ผู้รับการทดลองดูภาพเกี่ยวข้องกับภูมิลักษณ์ (ลักษณะของภูมิประเทศ) เช่นภาพทิวทัศน์ของภูมิประเทศ ภาพทิวทัศน์ของเมือง หรือว่าภาพของห้องต่างๆ เขตสถานที่นี้ถูกพรรณนาโดยรัสเซลล์ เอ็ปสไตน์ (ปัจจุบันอยู่ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย) และแนนซี แคนวิชเชอร์ (ปัจจุบันอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์) ในปี ค.ศ. 1998[5] สนับสนุนโดยงานวิจัยที่คล้ายๆ กันของเจ็ฟฟรีย์ แอ็กกวายร์[6][7] และอลูมิต อิไช[8]

คนไข้ที่มีความเสียหายใน PPA (เช่นเนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง) มักมีอาการที่ไม่สามารถรู้จำภูมิลักษณ์ แม้ว่าจะสามารถรู้จำวัตถุต่างๆ ในภูมิลักษณ์นั้นได้ (เป็นต้นว่าบุคคล เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆ) PPA มักถูกพิจารณาว่าเป็นเขตคู่กันกับเขตใบหน้าในรอยนูนรูปกระสวย (อังกฤษ: fusiform face area, ตัวย่อ FFA) ซึ่งเป็นเขตสมองที่อยู่ใกล้ๆ กันที่ตอบสนองอย่างมีกำลังเมื่อเห็นหน้า และเป็นเขตสมองที่เชื่อว่ามีความสำคัญต่องการรู้จำใบหน้า

การเข้าใจสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับสังคม

[แก้]

งานวิจัยอื่นจากที่กล่าวมาแล้วเพิ่มความเป็นไปได้ว่า รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสทางสมองซีกขวามีหน้าที่ยิ่งไปกว่าการรู้จำภูมิลักษณ์ การทดลองที่ทำโดยกลุ่มนักวิจัยในรัฐแคลิฟอร์เนีย นำโดยแคเทอริน แรงกิน แสดงว่า รอยนูนอาจจะมีบทบาทสำคัญในการระบุสถานการณ์รวมๆทางสังคม (social context) ด้วย รวมทั้งการสื่อสารนอกเหนือคำพูด (ปรลักษณ์ภาษา) เมื่อมีการพูดคุยกัน[9] ตัวอย่างเช่น งานวิจัยของแรงกินเสนอว่า รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสทางสมองซีกขวา ทำให้สามารถจับคำพูดประชดเหน็บแหนม (sarcasm) ได้

รูปอื่นๆ

[แก้]

อ้างอิงและหมายเหตุ

[แก้]
  1. Reuter P.: Der Grobe Reuter Springer Universalworterbuch Medizin, Pharmakologie Und Zahnmedizin: Englisch-deutsch (Band 2), Birkh?user, 2005, ISBN 3-540-25102-2, p. 648 here online
  2. Ferreira NF, de Oliveira V, Amaral L, Mendon?a R, Lima SS (September 2003). "Analysis of parahippocampal gyrus in 115 patients with hippocampal sclerosis". Arq Neuropsiquiatr. 61 (3B): 707–11. PMID 14595469.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. McDonald B, Highley JR, Walker MA; และคณะ (January 2000). "Anomalous asymmetry of fusiform and parahippocampal gyrus gray matter in schizophrenia: A postmortem study". Am J Psychiatry. 157 (1): 40–7. PMID 10618011. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. เป็นส่วนด้านหลังของรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส ที่อาจจะมีความเสื่อมในโรคอัลไซเมอร์
  5. "A cortical representation of the local visual environment : Abstract : Nature". สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.
  6. "The Parahippocampus Subserves Topographical Learning in Man -- Aguirre et al. 6 (6): 823 -- Cerebral Cortex". สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.
  7. "Neuron - An Area within Human Ventral Cortex Sensitive to "Building" Stimuli". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-13. สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.
  8. "Distributed representation of objects in the human ventral visual pathway — PNAS". สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.
  9. Hurley, Dan (2008-06-03). "Katherine P. Rankin, a Neuropsychologist, Studies Sarcasm - NYTimes.com". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.

แหล่งข้อมูลอื่นๆ

[แก้]

[[หมวดหมู่::ซีรีบรัม]] [[หมวดหมู่::ประสาทกายวิภาคศาสตร์]] [[หมวดหมู่::รอยนูน]]