ข้ามไปเนื้อหา

ปาณินิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Pāṇini)
ปาณินิ
ตำราไวยากรณ์ของปาณินิในเอกสารตัวเขียนเปลือกไม้เบิร์ชช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากกัศมีร์
ผลงานเด่นอัษฏาธยายี (สันสกฤตแบบแผน)
ยุครุ่งเรือง: ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช;[1][2][3];
รุ่งเรือง: 400–350 ปีก่อนคริสต์ศักราช[4];
ศตวรรษที่ 6–5 ก่อนคริสต์ศักราช[5][6]
แนวทางอนุทวีปอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ[note 1]
ความสนใจหลัก
ไวยากรณ์, ภาษาศาสตร์
นักภาษาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยโบราณ
ปาณินิ.. เป็นนักภาษาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยโบราณ และสมควรได้รับการยกย่อง

— JF Staal, ผู้อ่านเกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาสันสกฤต[8]

ปาณินิ

ปาณินิ (Pāṇini, อักษรเทวนาครี: पाणिनि, ข้อผิดพลาด: {{IPA}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: paːɳɪnɪ) เป็นนักไวยากรณ์ นิรุกติศาสตร์ภาษาสันสกฤต และปราชญ์ที่เคารพในอินเดียโบราณ[7][9][10] โดยระบุปีที่มีชีวิตระหว่างศตวรรษที่ 6[5][6] ถึงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช[1][2][3][4]

นับตั้งแต่นักวิชาการชาวยุโรปค้นพบและตีพิมพ์ผลงานของเขาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปาณินิได้รับการกล่าวถึงเป็น "นักภาษาศาสตร์เชิงพรรณนาคนแรก"[11] และแม้แต่ “บิดาแห่งภาษาศาสตร์[12][13][14]

ไวยากรณ์ของปาณินินับเป็นจุดสิ้นสุดของภาษาสันสกฤตยุคพระเวท นำไปสู่ภาษาสันสกฤตแบบแผน (Classical Sanskrit)[15] และส่งอิทธิพลต่อนักภาษาศาสตร์หลายคน เช่น แฟร์ดีน็อง เดอ โซซูร์และลีโอนาร์ด บลูมฟีลด์[16]

สิ่งสืบทอด

[แก้]

ปาณินิเป็นที่รู้จักจากอัษฏาธยายี ตำราแบบพระสูตรเกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาสันสกฤต[10][7] 3,959 สูตรหรือหลักในด้านภาษาศาสตร์, วากยสัมพันธ์ และอรรถศาสตร์ภายใน "แปดบท" ซึ่งเป็นตำราพื้นฐานของเวทางค์ สาขาวฺยากรณ (Vyākaraṇa) ในสมัยพระเวท[17][18][19] แนวคิดของเขาได้รับอิทธิพลจากนักวิชาการในศาสนาแบบอินเดียอื่น ๆ เช่น ศาสนาพุทธ[20]

ทฤษฎีวิทยาหน่วยคำของปาณินิมีความก้าวหน้ากว่าทฤษฎีของตะวันตกใด ๆ ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20[21]

วันที่และเนื้อหา

[แก้]
บิดาแห่งภาษาศาสตร์
ประวัติภาษาศาสตร์ไม่ได้เริ่มที่เพลโตหรือแอริสตอเติล แต่เริ่มที่ปาณินิ นักไวยากรณ์ชาวอินเดีย

Rens Bod, มหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม[22]

ปาณินิน่าจะอาศัยอยู่ที่ชาลาตุลา ในแคว้นคันธาระโบราณ บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย[a] ในสมัยมหาชนบท[23][4]

ชื่อปาณินิเป็นนามสกุลจากบิดาที่หมายถึงลูกหลานของปาณินะ[24] ชื่อเต็มของเขาในมหาภาษฺย (Mahābhāṣya) ของปตัญชลิ โองการที่ 1.75.13 และ 3.251.12 คือทกฺษิปุตฺร ปาณินิ (Dakṣiputra Pāṇini) โดยส่วนแรกกล่าวแนะว่าแม่ของเขามีชื่อว่าทกฺษิ (Dakṣi)[6]

วันที่

[แก้]

ไม่มีใครทราบอย่างแน่ชัดว่าปาณินิมีชีวิตอยู่ในช่วงใด แม้แต่ศตวรรษที่เขามีชีวิตอยู่ โดยประมาณการว่าปาณินิมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 7[25] หรือ 6[6] ถึงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช[26][1][2][3][4]

ตำนานและคำตอบรับในยุคหลัง

[แก้]

ปาณินิได้รับการกล่าวถึงในชาดกและตำราอินเดียโบราณหลายเล่ม เช่น ปัญจตันตระ กล่าวไว้ว่า ปาณินิถูกสิงโตฆ่า[27][28][29]

ภาพของปาณินิถูกบรรจุลงในตราไปรษณียากรอินเดียราคา 5 รูปี ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004[30][31][32][33]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ปัจจุบันคือประเทศปากีสถาน
  1. George Cardonna รายงานว่า ตามธรรมเนียมเชื่อว่าปาณินิมาจากชาลาตุลา (Salatura) ในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย[4] น่าจะอยู่ในแคว้นคันธาระโบราณ[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Vergiani 2017, p. 243, n.4.
  2. 2.0 2.1 2.2 Bronkhorst 2016, p. 171.
  3. 3.0 3.1 3.2 Houben 2009, p. 6.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Cardona 1997, p. 268.
  5. 5.0 5.1 Staal 1996, p. 39.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Scharfe 1977, p. 88.
  7. 7.0 7.1 7.2 Staal 1965.
  8. Staal 1972, p. xi.
  9. Lidova 1994, p. 108-112.
  10. 10.0 10.1 Lochtefeld 2002a, p. 64–65, 140, 402.
  11. Francois, A; Ponsonnet, M (27 กันยายน 2013). "Descriptive Linguistics". ใน R. Jon McGee; Richard L. Warms (บ.ก.). Theory in Social and Cultural Anthropology: An Encyclopedia. Los Angeles: Sage Publications. p. 184. ISBN 978-1-4129-9963-2.
  12. Bod 2013, p. 14-19.
  13. Patañjali; Ballantyne, James Robert; Kaiyaṭa; Nāgeśabhaṭṭa (1855). Mahābhāṣya …. Mirzapore. OCLC 47644586.
  14. Pāṇini; Boehtlingk, Otto von (1886). Panini's Grammatik, herausgegeben, übersetzt, erläutert… von O. Böhtlingk. Sansk. and Germ (ภาษาอังกฤษ). Leipzig. OCLC 562865694.
  15. Kawaguchi, Yuji; Minegishi, Makoto; Viereck, Wolfgang (2011). Corpus-based Analysis and Diachronic Linguistics. John Benjamins Publishing Company. pp. 223–224. ISBN 978-90-272-7215-7.
  16. Robins, Robert Henry (1997). A short history of linguistics (4th ed.). London: Longman. ISBN 0-582-24994-5. OCLC 35178602.
  17. Johnson, W. J. (2009), A Dictionary of Hinduism, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-861025-0, article on Vyakarana
  18. Coward 1990, p. 105.
  19. Mitchell, Lisa (2009). Language, Emotion, and Politics in South India. Indiana University Press. p. 108. ISBN 978-0-253-35301-6.
  20. Scharfe 1977, p. 152–154.
  21. Staal, Frits (1988). Universals: studies in Indian logic and linguistics. University of Chicago Press. p. 47. ISBN 978-0-226-76999-8.
  22. Bod 2013, p. 14–18.
  23. Avari, Burjor (2007). India: The Ancient Past: A History of the Indian Sub-Continent from c. 7000 BC to AD 1200 (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 156. ISBN 978-1-134-25161-2.
  24. Pāṇini; Katre, Sumitra Mangesh (1989). Aṣṭādhyāyī of Pāṇini. Motilal Banarsidass. p. xx. ISBN 978-81-208-0521-7.
  25. Bod 2013, p. 14.
  26. Bronkhorst 2019.
  27. Cardona, George (1976). Pāṇini: a survey of research. The verse reads siṃho vyākaraṇasya kartur aharat prāṇān priyān pāṇineḥ "a lion took the dear life of Panini, author of the grammatical treatise". The context is a list of scholars killed by animals, siṃho vyākaraṇasya kartur aharat prāṇān priyān pāṇineḥ / mīmāṃsākṛtam unmamātha sahasā hastī muniṃ jaiminim // chandojnānanidhim jaghāna makaro velātaṭe piṅgalam / ajñānāvṛtacetasām atiruṣāṃ ko'rthas tiraścām guṇaiḥ // Translation: "A lion killed Pāṇini; an elephant madly crushed the sage Jaimini, Mimamsa's author; Pingala, treasury of knowledge of poetic meter, was killed by a crocodile at the water's edge. What do senseless beasts, overcome with fury, care for intellectual virtues?" (Pañcatantra II.28, sometimes ascribed to Vallabhadeva)
  28. Bhattacharyya, D. C. (1928). "Date of the Subhasitavali". Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland. 60 (1): 135–137. doi:10.1017/S0035869X00059773. JSTOR 25221320.
  29. Winternitz, Moriz (1963). History of Indian Literature. Motilal Banarsidass. p. 462. ISBN 978-81-208-0056-4.; Nakamura, Hajime (1983). A History of Early Vedānta Philosophy. Motilal Banarsidass. p. 400. ISBN 978-81-208-0651-1.
  30. "Stamps 2004". Indian Department of Posts, Ministry of Communications & Information Technology. 23 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-18. สืบค้นเมื่อ 3 June 2015.
  31. "Panini". istampgallery.com. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2018.
  32. "Hinduism Today Magazine". hinduismtoday.com (ภาษาอังกฤษ). Himalayan Academy. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2018.
  33. "India Postage Stamp on Panini issued on 01 Aug 2004". getpincodes.com. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2018.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
ผลงาน
  • Pāṇini. Ashtādhyāyī. Book 4. แปลโดย Chandra Vasu. Benares, 1896. (ในภาษาสันสกฤตและอังกฤษ)
  • Pāṇini. Ashtādhyāyī. Book 6–8. แปลโดย Chandra Vasu. Benares, 1897. (ในภาษาสันสกฤตและอังกฤษ)
ปาณินิ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Pāṇini