เนโอมี พาร์กเกอร์ เฟรลีย์
เนโอมี พาร์กเกอร์ เฟรลีย์ | |
---|---|
เกิด | เนโอมี เฟิร์น พาร์กเกอร์ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1921 ทัลซา รัฐโอคลาโฮมา สหรัฐ |
เสียชีวิต | 20 มกราคม ค.ศ. 2018 ลองวิว รัฐวอชิงตัน สหรัฐ | (96 ปี)
อาชีพ | คนงานสงความ พนักงานเสิร์ฟ |
มีชื่อเสียงจาก | "โรซีคนตอกหมุด" บนโปสเตอร์วีแคนดูอิต! |
คู่สมรส | Joseph Blankenship (หย่า) John Muhlig (เสียชีวิต ค.ศ. 1971) Charles Fraley (สมรส 1979; เสียชีวิต 1998)[1] |
เนโอมี พาร์กเกอร์ เฟรลีย์ (อังกฤษ: Naomi Parker Fraley; 26 สิงหาคม ค.ศ. 1921 – 20 มกราคม ค.ศ. 2018) เป็นคนงานสงครามชาวอเมริกัน และเป็นแรงบันดาลใจของภาพ "วีแคนดูอิต!" ("เราทำได้!") โปสเตอร์ที่โด่งดัง[2] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เธอทำงานโรงงานประกอบเครื่องบินของฐานนาวิกโยธินแอลามีดา และถูกถ่ายภาพขณะใช้เครื่องจักรและรูปถ่ายนี้เองที่กลายเป็นแรงบันดาลใจนำไปวาดโปสเตอร์ดังกล่าว ก่อนหน้านี้เป็นที่เข้าใจกันว่าหญิงสาวในภาพคือ เจรัลดีน ดอยล์ ภายหลังศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเซตันฮอลล์ ได้ออกมาแก้ความเข้าใจผิดนั้น
หลังสงคราม เธอทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟในพาล์มสปริงส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย และแต่งงานสามครั้ง เธอเสียชีวิตใน ค.ศ. 2018 อายุได้ 96 ปี โดยมีบุตรชายและบุตรบุญธรรมอีกหกคนยังมีชีวิตอยู่ในขณะนั้น[3]
ชีวิตในวัยเด็ก
[แก้]เนโอมี เฟิร์น พาร์กเกอร์ เกิดที่เมืองทัลซา รัฐโอคลาโฮมา ในปี ค.ศ. 1921 เป็นลูกคนที่สามในแปดคนของโจเซฟ พาร์กเกอร์ และเอสเตอร์ เลส์[1][4] พ่อของเธอเป็นวิศวกรเหมืองแร่ ส่วนแม่ของเธอเป็นแม่บ้าน ครอบครัวย้ายจากนิวยอร์กไปแคลิฟอร์เนีย[5] เธออาศัยอยู่ในแอลามีดา ในช่วงเวลาที่มีการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์[5] เธอและน้องสาวของเธอ เอดาจึงไปทำงานที่ฐานนาวิกโยธิน ซึ่งพวกเขาได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ประกอบเครื่องบิน[1]
เราทำได้!
[แก้]ใน ค.ศ. 1942 ภาพของพาร์กเกอร์ได้รับการบันทึกที่โรงงานขณะกำลังใช้เครื่องกลึง และปรากฏในสื่อท้องถิ่นรวมถึง พิตส์เบิร์กเพรสส์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1942[6] ปีต่อมาโปสเตอร์ "วีแคนดูอิต!" ของเจ โฮวอร์ด มิลเลอร์ก็ได้ปรากฏขึ้นในแคมเปญรณรงค์ขวัญกำลังใจคนงาน[5] มิลเลอร์คงเห็นภาพของพาร์กเกอร์ในหนังสือพิมพ์ และใช้เธอเป็นต้นแบบในการวาดโปสเตอร์[1]
การเสียชีวิต
[แก้]เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2018 เธอเสียชีวิตในลองวิว รัฐวอชิงตัน เมื่ออายุ 96 ปี[1] เดือนต่อมา ชีวิตของเธอได้รับการเฉลิมฉลองในรายการมรณกรรมของ BBC Radio 4 Last Word[7]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Fox, Margalit (2018). "Naomi Parker Fraley, the Real Rosie the Riveter, Dies at 96". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ January 23, 2018.
- ↑ Gunter, Joel (2018). "Mystery real-life Rosie the Riveter dies". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ January 23, 2018.
- ↑ Kopf, Adam Pasick, Dan. "The riveting story of wartime propaganda that became a feminist icon". Quartz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2022-03-07.
- ↑ "Naomi Parker Fraley, the real-life Rosie the Riveter, dies at 96". Today. January 29, 2018. สืบค้นเมื่อ January 23, 2018.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Naomi Parker Fraley, wartime machinist linked to Rosie the Riveter, dies at 96". The Washington Post. January 23, 2018. สืบค้นเมื่อ January 23, 2018.
- ↑ "Everyone Was Wrong About the Real 'Rosie the Riveter' for Decades. Here's How the Mystery Was Solved". January 23, 2018. สืบค้นเมื่อ January 23, 2018.
- ↑ "John Mahoney, Hannah Hauxwell, Professor Kenneth Richard Seddon OBE, Sir John Cotterell, Naomi Parker Fraley". BBC.
{{cite episode}}
:|series=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)