วงศ์อึ่งกราย
วงศ์อึ่งกราย | |
---|---|
อึ่งผี หรือ อึ่งกรายหมอสมิธ (Leptobrachium smithi) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไฟลัมย่อย: | Vertebrata |
ชั้น: | Amphibia |
ชั้นย่อย: | Lissamphibia |
อันดับ: | Anura |
อันดับย่อย: | Mesobatrachia |
วงศ์: | Megophryidae Bonaparte, 1850[1] |
สกุล | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ |
วงศ์อึ่งกราย (อังกฤษ: Asian toads) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Megophryidae
มีลักษณะเด่น คืิอ มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของแอมฟิซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิฟเอรัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีชิ้นกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย ผิวหนังลำตัวมีต่อมเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วหลายชนิดของทั้งตัวผู้และตัวเมียยังมีกลุ่มของต่อมบริเวณขาหนีบและซอกขาหน้า
มีขนาดตัวตั้งแต่ 2-12 เซนติเมตร อาศัยอยู่บนพื้นล่างของป่าหรือบริเวณใกล้ลำห้วยหรือลำธาร ส่วนใหญ่มีสีลำตัวกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม วางไข่ในแหล่งน้ำ โดยขณะผสมพันธุ์ตัวผู้จะกอดรัดตัวเมียในตำแหน่งเอว ลูกอ๊อดมีรูปร่างและโครงสร้างของปากแตกต่างกัน บางสกุลมีปากเป็นรูปกรวยและไม่มีจะงอยปาก รวมทั้งไม่มีตุ่มฟัน อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง แต่ขณะที่บางสกุลมีคุณสมบัติแตกต่างจากเหล่านี้สิ้นเชิง และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยว เป็นต้น
แพร่กระจายพันธุ์อยู่เฉพาะทวีปเอเชีย เช่น จีน, ปากีสถาน, อินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, หมู่เกาะฟิลิปปิน และเกาะสุมาตรา ในประเทศไทยพบประมาณ 25 ชนิด[2]
การจำแนก
[แก้]แบ่งออกได้เป็น 10 สกุล
- Borneophrys Delorme, Dubois, Grosjean & Ohler, 2006
- Brachytarsophrys Tian & Hu, 1983
- Leptobrachella Smith, 1925
- Leptobrachium Tschudi, 1838
- Leptolalax Dubois, 1980
- Megophrys Kuhl & van Hasselt, 1822
- Ophryophryne Boulenger, 1903
- Oreolalax Myers & Leviton, 1962
- Scutiger Theobald, 1868
- Xenophrys Günther, 1864 [1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ หน้า 320-321, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ฺ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0