ข้ามไปเนื้อหา

เมดิแอสตินัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Mediastinum)
เมดิแอสตินัม
(mediastinum)
Mediastinum. The division between superior and inferior is at the sternal angle.
Mediastinum anatomy
ตัวระบุ
MeSHD008482
TA98A07.1.02.101
TA23333
FMA9826
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

เมดิแอสตินัม[1] (อังกฤษ: mediastinum) หรือ ประจันอก[2] หรือ อวัยวะคั่นระหว่างปอด[2] เป็นกลุ่มของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ภายในทรวงอกล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันร่างแห เมดิแอสตินัมอยู่ตรงกลางของช่องอกประกอบด้วยหัวใจ หลอดเลือดใหญ่ของหัวใจ หลอดอาหาร ท่อลม เส้นประสาทกะบังลม (phrenic nerve) ท่อน้ำเหลืองอก (thoracic duct) ต่อมไทมัส และต่อมน้ำเหลืองในทรวงอก

กายวิภาคศาสตร์

[แก้]

เมดิแอสตินัมอยู่ระหว่างเยื่อหุ้มปอดข้างซ้ายและขวา ใกล้กับแนวกลางลำตัวของหน้าอก เมดิแอสตินัมอยู่ด้านหลังกระดูกสันอก (sternum) และอยู่ด้านหน้ากระดูกสันหลัง ภายในประกอบด้วยอวัยวะภายในช่องอกยกเว้นปอด เมดิแอสตินัมอาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้ดังนี้

  • ส่วนบน เหนือขอบบนของเยื่อหุ้มหัวใจ เรียกว่า เมดิแอสตินัมด้านบน (superior mediastinum) มีขอบเขตบนสุดอยู่ที่ทางเข้าช่องอกส่วนบน ขอบเขตล่างสุดอยู่ที่เส้นสมมติลากจากมุมกระดูกสันอก (sternal angle of Louis) ไปยังหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 4-5 (T4-T5) เรียกระนาบนี้ว่า ระนาบลุดวิกของมุมกระดูกสันอก (Plane of Ludwig at Angle of Louis)
  • ส่วนล่าง ใต้ระดับขอบบนของเยื่อหุ้มหัวใจ แบ่งได้อีกเป็น 3 ส่วน

ขอบเขตของเมดิแอสตินัม เมดิแอสตินัมล้อมรอบด้วยผนังหน้าอกทางด้านหน้า ปอดทางด้านข้าง และกระดูกสันหลังทางด้านหลัง โครงสร้างนี้เชื่อมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพันร่างแห (loose connective tissue) ของคอทางด้านบน และติดกับกะบังลมทางด้านล่าง

บทบาทเกี่ยวกับโรค

[แก้]

เมดิแอสตินัมอักเสบ (mediastinitis) เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อในเมดิแอสตินัม มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเกิดจากการแตกของอวัยวะภายในเมดิแอสตินัม ภาวะนี้เป็นภาวะที่รุนแรงเพราะการติดเชื้อมักดำเนินอย่างรวดเร็ว

ภาวะมีอากาศในเนื้อเยื่อเมดิแอสตินัม (pneumomediastinum) ในบางกรณีหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax), ภาวะช่องท้องมีอากาศ (pneumoperitoneum), และภาวะถุงหุ้มหัวใจมีอากาศ (pneumopericardium) อย่างไรก็ตามภาวะเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีอากาศในเนื้อเยื่อเมดิแอสตินัม ภาวะนี้มักเกิดร่วมกับกลุ่มอาการเบอร์ฮาฟ (Boerhaave's syndrome) หรือหลอดอาหารแตกทะลุเอง (spontaneous esophageal rupture)

โรคอื่นๆ หลายโรคอาจมีอาการนำด้วยเมดิแอสตินัมกว้างขึ้นกว่าปกติ (มักพบในเอกซเรย์ทรวงอก) เช่น หลอดเลือดแดงเอออร์ตาแตกหรือหระดูกสันหลังส่วนอกหักจากอุบัติเหตุ หรือถ้าหากสาเหตุจากการติดเชื้อ เมดิแอสตินัมกว้างเป็นอาการแสดงเด่นของการติดเชื้อแอนแทรกซ์ (anthrax)

นอกจากนี้ เมดิแอสตินัมเป็นบริเวณที่มักพบเนื้องอกหลายชนิดได้บ่อย

อ้างอิง

[แก้]
  1. บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย (อังกฤษ-ไทย) ฉบับปี 2009. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552.
  2. 2.0 2.1 ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544 เรียกดูเมื่อ 11 เมษายน พ.ศ. 2552

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]