ข้ามไปเนื้อหา

ระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก McCune–Reischauer)
An overhead sign in rose and white with a big number 8 and the words Chamshil and Amsa in hangul and Latin script.
ป้ายในสถานีรถไฟใต้ดินโซล สาย 8 รูปเขียน Chamshil (잠실역) และ Amsa (암사역) เป็นการถอดเสียงเป็นอักษรโรมันตามระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์แบบเกาหลีใต้ ในระบบกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลี 2000 ชื่อทั้งสองจะถอดเสียงได้เป็น Jamsil และ Amsa

แมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์ (McCune-Reischauer) เป็น 1 ใน 2 ระบบการถอดอักษรเกาหลีเป็นอักษรโรมัน ที่นิยมใช้ในภาษาเกาหลี เริ่มพัฒนาใน พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) และได้รับการยอมรับในวงกว้างในและนอกประเทศเกาหลี โดยในประเทศเกาหลีใต้ได้มีการใช้ระบบที่ดัดแปลงจากระบบนี้จนถึง พ.ศ. 2545 ที่ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบใหม่ ระบบกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลี 2000 ในขณะที่ประเทศเกาหลีเหนือยังคงใช้งานอยู่จนถึงปัจจุบัน[1]

ระบบนี้ได้รับการคิดค้นใน พ.ศ. 2482 โดยจอร์จ เอ็ม. แมกคูน และเอ็ดวิน โอ. ไรซ์ชาวเออร์[2][3] ระบบนี้ไม่ได้มุ่งที่จะปริวรรตอักษรฮันกึล แต่เน้นการถ่ายเสียงทางสัทศาสตร์เป็นหลักโดยมีข้อยกเว้นบางประการ[4]

การถอดอักษร

[แก้]

นี่คือตารางระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเวอร์แบบง่าย

สระ

[แก้]
ฮันกึล
ถอดเป็นอักษรโรมัน a ae ya yae ŏ e* ye o wa wae oe yo u we wi yu ŭ ŭi i
  • เขียนเป็น ë เมื่อตามหลัง และ โดยมีไว้เพื่อแยก (ae) จาก ㅏ에 () และ (oe) กับ ㅗ에 () อักษรประสม ㅏ에 () กับ ㅗ에 () แทบไม่ค่อยได้ใช้ ยกเว้นในกรณีที่คำนามมาก่อนหน้าคำบุพบทเช่น 회사에서 hoesaësŏ (ที่บริษัท) และ 차고에 ch'agoë (ในโรงรถ)
  • นามสกุลเกาหลี 이/리(李) และ 이(異) ถอดรูปเป็น Yi ไม่ใช่ I[5] (เช่น 이순신 ถอดรูปเป็น Yi Sunsin)

พยัญชนะ

[แก้]
ฮันกึล
ถอดเป็นอักษรโรมัน ต้น k kk n t tt r m p pp s ss ch tch ch' k' t' p' h
สะกด k l t t ng t t k t p
  • ทวิอักษรพยัญชนะ (ㄳ, ㄵ, ㄶ, ㄺ, ㄻ, ㄼ, ㄽ, ㄾ, ㄿ, ㅀ, ㅄ) ปรากฏเฉพาะรูปท้าย และถอดรูปด้วยตัวสะกดจริง
พยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป
1
k

n

t

(r)

m

p
2
s

ch

ch'

k'

t'

p'

h
พยัญชนะ
สะกด
k g kk ngn kt ngn ngm kp ks kch kch' kk' kt' kp' kh
n n n'g nn nd nn nm nb ns nj nch' nk' nt' np' nh
t d tk nn tt nn nm tp ss tch tch' tk' tt' tp' th
l r lg ll/nn ld3 ll lm lb ls lj3 lch' lk' lt' lp' rh
m m mg mn md mn mm mb ms mj mch' mk' mt' mp' mh
p b pk mn pt mn mm pp ps pch pch' pk' pt' pp' ph
ng ng ngg ngn ngd ngn ngm ngb ngs ngj ngch' ngk' ngt' ngp' ngh
  1. พยัญชนะต้น ㅇ จะถือว่าไม่มีเสียง จึงดึงเสียงพยัญชนะมาจากตัวสะกดในคำก่อนหน้า
  2. 쉬 ถอดรูปอักษรโรมันเป็น shwi
  3. ในศัพท์จีน-เกาหลี ถอดรูปเป็น lt และ lch ตามลำดับ

ตามปกติแล้ว การตัดสินใจว่าอักษร ㄱ, ㄷ, ㅂ และ ㅈ จะใช้ g หรือ k, b หรือ p, d หรือ t และ j หรือ ch สามารถพิจารณาว่าเป็นเสียงหนักหรือเสียงเบา ถ้าเป็นเสียงหนักใช้ g, b, d หรือ j และถ้าเป็นเสียงเบาใช้ k, p, t หรือ ch ตามลำดับ การพิจารณาสำเนียงเช่นนี้จะสำคัญมากกว่าตารางที่ให้มา

ตัวอย่าง

[แก้]

ตัวอย่างง่าย:

  • 부산 pusan
  • 못하다 mothada
  • 먹다 mŏkta
  • 먹었다 mŏgŏtta
  • 연락 yŏllak
  • 한국말 han'gungmal
  • 먹는군요 mŏngnŭn'gunyo
  • 역량 yŏngnyang
  • 십리 simni
  • 같이 kach'i
  • 않다 ant'a

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Working Paper No. 46" (PDF). UNGEGN. สืบค้นเมื่อ 2018-03-17.
  2. Lee, Sang-il (2003). "On Korean Romanization". The Korean Language in America. via JSTOR. 8: 407–421. JSTOR 42922825.
  3. Tables of the McCune-Reischauer System for the Romanization of Korean. Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland. Korea Branch. 1961. p. 121.
  4. Jae Jung Song (2006). The Korean Language: Structure, Use and Context. Routledge. p. 87. ISBN 9781134335893.
  5. "Archived copy" (PDF). Library of Congress. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-16. สืบค้นเมื่อ 2015-07-02.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) page 13

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]