การเดินทางของจักรพรรดิ
การเดินทางของจักรพรรดิ | |
---|---|
กำกับ | Luc Jacquet |
เขียนบท | Luc Jacquet Michel Fessler |
อำนวยการสร้าง | Yves Darondeau Christophe Lioud Emmanuel Priou ผู้ร่วมสร้าง: Jean-Christophe Bar Executive Producer: Ilann Girard |
ผู้บรรยาย | Charles Berling Romane Bohringer Jules Sitruk อมิตาภ พัจจัน มอร์แกน ฟรีแมน |
กำกับภาพ | Laurent Chalet Jérôme Maison |
ตัดต่อ | Sabine Emiliani |
ดนตรีประกอบ | Emilie Simon Alex Wurman (US version) |
บริษัทผู้สร้าง | Bonne Pioche APC Buena Vista International Film Production France Wild Bunch Canal+ L'Institut Polare Français Paul-Émile Victor National Geographic Films |
ผู้จัดจำหน่าย | Warner Independent Pictures (สหรัฐ) Lionsgate (แคนาดา) Maple Pictures (theatrical Quebec (แคนาดาตะวันออก)) Alliance Films (theatrical Toronto (แคนาดาตะวันตก) |
วันฉาย | ฝรั่งเศส: 26 มกราคม 2005 แคนาดา: 20 พฤษภาคม 2005 สหรัฐ: 24 มิถุนายน 2005 (จำกัด) 22 กรกฎาคม 2005 (โดยทั่วไป) สหราชอาณาจักร: 9 ธันวาคม 2005 ออสเตรเลีย: 19 ตุลาคม 2006 |
ความยาว | 85 นาที 84 นาที (เวอร์ชันสหรัฐ) |
ประเทศ | แม่แบบ:FilmFrance |
ภาษา | ฝรั่งเศส (ต้นฉบับ) |
ทุนสร้าง | $77,413,017 |
การเดินทางของจักรพรรดิ (ฝรั่งเศส: La Marche de l'empereur; อังกฤษ: March of the Penguins) เป็นภาพยนตร์สารคดีฝรั่งเศสเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาที่สร้างในปี ค.ศ. 2005 ที่กำกับและร่วมเขียนโดยลูค ฌาคเคต์ และสร้างร่วมกับ Bonne Pioche และสมาคมเนชันแนลจีโอกราฟิก เนื้อหาของภาพยนตร์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวัฏจักรของการผสมพันธุ์ของเพนกวินจักรพรรดิของทวีปแอนตาร์กติกา ในฤดูใบไม้ร่วงเพนกวินที่มีอายุในช่วงที่เหมาะแก่การผสมพันธุ์ (ห้าปีหรือแก่กว่า) ก็จะทิ้งทะเลเพื่อเดินทางไปทำการผสมพันธุ์ยังถิ่นฐานธรรมชาติที่ลึกเข้าไปในแผ่นดินทวีปแอนตาร์กติกาที่เป็นบริเวณที่ทำการเดินทางมาตั้งแต่ในสมัยบรรพบุรุษ เมื่อไปถึงเพนกวินก็จะหาคู่ ถ้าสำเร็จก็จะมีลูกนกเพนกวิน การที่ลูกนกจะอยู่รอดได้ในสภาวะอากาศอันทารุณ ทั้งพ่อและแม่ก็จะต้องเดินทางระหว่างมหาสมุทรและบริเวณผสมพันธุ์หลายเที่ยวเพื่อนำอาหารกลับมาเลี้ยงลูก[1]
การเดินทางของจักรพรรดิได้รับรางวัลออสการ์ ในปี ค.ศ. 2005 ในฐานะที่เป็นภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม[2]
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส แต่งและขับร้องโดยเอมิลี ไซมอน นักดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ชาวฝรั่งเศส ส่วนฉบับที่ฉายในสหรัฐอเมริกา ได้เปลี่ยนเป็นดนตรีประกอบ (ไม่มีเพลงร้อง) แต่งโดยอเล็กซ์ วูร์แมน นักแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ชาวอเมริกัน
ภาพยนตร์ต้นฉบับใช้เสียงนักแสดงพากย์เหมือนกับเสียงเพนวินพูดคุยกัน โดยภาพยนตร์ฉบับที่ฉายในฮังการีและเยอรมนีก็พากย์ในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน ส่วนฉบับที่ฉายในสหรัฐอเมริกา ได้เปลี่ยนวิธีพากย์เป็นการบรรยายในแบบสารคดี ใช้เสียงภาษาอังกฤษของมอร์แกน ฟรีแมน, ฉบับที่ฉายในประเทศอินเดีย ใช้เสียงภาษาฮินดีและภาษาอังกฤษของอมิตาภ พัจจัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "La Marche de l'empereur, un film de Luc Jacquet". Official Site. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ 2008-03-19. (ฝรั่งเศส)
- ↑ "NY Times: March of the Penguins". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.