เทพลิขิต
เทพลิขิต หรือ โองการของพระเจ้า (อังกฤษ: Manifest Destiny) เป็นความเชื่อทางวัฒนธรรมในสหรัฐช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ว่าผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอเมริกันได้รับการกำหนดให้ขยายไปทั่วอเมริกาเหนือ[3][4][5]
หลักการพื้นฐานสำหรับแนวคิดนี้มีสามประการ คือ:[6][7]
- คุณธรรมพิเศษของชาวอเมริกันและสถาบันของตน
- ภารกิจของสหรัฐในการไถ่และสร้างตะวันตกในแบบกสิกรรมทางตะวันออกใหม่
- การทำหน้าที่สำคัญนี้ให้สำเร็จเป็นสิ่งที่โชคชะตาต้านทานได้ยาก
นักประวัติศาสตร์ได้เน้นย้ำว่า "เทพลิขิต" ถูกโต้แย้งเสมอ โดยมีหลายคนรับรองความคิดนี้ แต่สมาชิกพรรควิกส่วนใหญ่ และชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงหลายคน (เช่น อับราฮัม ลินคอล์นกับยูลิสซีส เอส. แกรนต์) ปฏิเสธแนวคิดนี้[8][9][10]
จอห์น โอซัลลิแวน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ โดยทั่วไปถือเป็นผู้คิดค้นวลีนี้ใน ค.ศ. 1845 เพื่ออธิบายสาระสำคัญของความคิดนี้[11] นักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าวลีนี้ปรากฏเป็นครั้งแรกในบทบรรณาธิการ "การผนวก" ที่ไม่ได้ลงนาม ผลิตโดย Jane Cazneau นักข่าวและผู้สนับสนุนการผนวกดินแดน[12][13]
การเสริมสร้างรากฐานปรัชญา
[แก้]ผู้บุกเบิกอเมริกันจำนวนมากมีสำนึกที่แข็งแกร่งว่า เสรีภาพของชาติและอุดมคตินั้นมีความสำคัญมาก และจำเป็นที่จะต้องนำไปเผยแพร่ในดินแดนใหม่โดยการขยายขอบเขตของชาติและพรมแดนของประเทศให้กว้างขวางออกไปจนสุดขอบฟ้า สองศตวรรษก่อนหน้านั้น จอห์น วินโทรพ ข้าหลวงแห่งอาณานิคมอ่าวแมซซาชูเสตต์ ได้อ้างเหตุผลสนับสนุนแนวคิดนี้ว่า อาณานิคมของเขานั้นจะเป็นเสมือน เมืองบนยอดเขา ที่แสดงให้ดินแดนส่วนที่เหลือของโลกได้เห็นว่า สังคมเสรีในวิถีของพระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นอย่างไร คนจำนวนหนึ่งได้ออกมาเสนอแนวคิดเพิ่มเติมว่าการแพร่ขยายหลักการนี้ออกไป เนื่องเพราะมันเป็นโชคชะตาที่กำหนดไว้และหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้น สหรัฐอเมริกาควรจะขยายอาณาเขตออกไปให้ครอบคลุมทั่วทั้งทวีปอเมริกาเหนือ ขบวนการอเมริกันหนุ่ม (The Young America movement) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแฟรงกลิน เพียรซ ได้เคลื่อนไหวส่งเสริมทรรศนะดังกล่าวนี้อย่างคึกคักยิ่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mountjoy, Shane (2009). Manifest Destiny: Westward Expansion. Infobase Publishing. p. 19. ISBN 978-1438119830.
- ↑ "John Gast, American Progress, 1872". Picturing U.S. History. City University of New York. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 15, 2014. เก็บถาวร มิถุนายน 15, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Merk 1963, pp. 215–216
- ↑ Randazzo, Michele E.; Hitt, John R. (2019). LexisNexis Practice Guide: Massachusetts Administrative Law and Practice (6 ed.). LexisNexis. p. 29. ISBN 978-1522182887.
- ↑ Byrnes, Mark Eaton (2001). James K. Polk: A Biographical Companion (illustrated ed.). ABC-CLIO. p. 128. ISBN 978-1576070567.
- ↑ Weeks, W.E. (2002). John Quincy Adams and American Global Empire. University Press of Kentucky. pp. 183–184. ISBN 978-0-8131-9058-7.
- ↑ Miller, Robert J. (2006). Native America, Discovered And Conquered: Thomas Jefferson, Lewis & Clark, And Manifest Destiny. Greenwood. p. 120. ISBN 978-0275990114.
- ↑ Greenberg, Amy S. (2013). A Wicked War: Polk, Clay, Lincoln, and the 1846 U.S. Invasion of Mexico. Vintage Books. p. 51. ISBN 978-0307475992.
- ↑ Simpson, Brooks (2014). Ulysses S. Grant: Triumph Over Adversity, 1822–1865. Voyageur Press. p. 30. ISBN 978-0760346969.
- ↑ Joy, Mark (2014). American Expansionism, 1783–1860: A Manifest Destiny?. Routledge. pp. 62, 70. ISBN 978-1317878452.
- ↑ "29. Manifest Destiny". American History. USHistory.org.
- ↑ "Who Coined the Phrase Manifest Destiny?". Jane Cazneau Omeka Net. Jane Cazneau Omeka website. Retrieved October 25, 2020
- ↑ Hudson, Linda S. (2001). Mistress of Manifest Destiny: A Biography of Jane McManus Storm Cazneau, 1807–1878. Texas State Historical Association. ISBN 0-87611-179-7.