การประท้วงกรณีแมฮ์ซอ แอมีนี
การประท้วงกรณีแมฮ์ซอ แอมีนี | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การประท้วงกฎหมายบังคับสวมฮิญาบในประเทศอิหร่าน และผลที่ตามมาหลังการเสียชีวิตของแมฮ์ซอ แอมีนี | |||
วันที่ | 16 กันยายน ค.ศ. 2022 – ค.ศ. 2023 | ||
สถานที่ | ประเทศอิหร่าน กับการชุมนุมแสดงความสามัคคีทั่วโลก[1] | ||
สาเหตุ |
| ||
เป้าหมาย |
| ||
วิธีการ | การประท้วง, การเดินขบวน, การจลาจล, การปิดถนน, การตั้งสิ่งกีดขวาง, การนัดหยุดงาน, การนัดหยุดเรียน และการดื้อแพ่งต่อกฎหมายสวมฮิญาบในที่สาธารณะ | ||
ผล |
| ||
คู่ขัดแย้ง | |||
| |||
ผู้นำ | |||
| |||
ความเสียหาย | |||
เสียชีวิต | มากกว่า 319 คน[3][4][5] | ||
บาดเจ็บ | 1160 คน [2] |
การประท้วงกรณีแมฮ์ซอ แอมีนี (เปอร์เซีย: مهسا امینی) เป็นชุดการประท้วงและการก่อความไม่สงบที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศอิหร่านตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2022 หลังการเสียชีวิตของแมฮ์ซอ แอมีนี ระหว่างที่เธอถูกตำรวจคุมขัง กล่าวกันว่าเธอถูกสายตรวจศีลธรรมของอิหร่านทุบตีหลังจากถูกกล่าวหาว่าละเมิดรูปแบบการสวมฮิญาบมาตรฐานตามกฎหมายในที่สาธารณะ[6] การประท้วงเริ่มต้นในเมืองใหญ่อย่างแซกเกซ, แซแนนแดจ, ดีวอนแดร์เร, บอเน และบีจอร์ในจังหวัดเคอร์ดิสถาน ต่อมาจึงได้กระจายไปตามเมืองใหญ่อื่น ๆ ในประเทศอิหร่าน รวมถึงในกรุงเตหะราน รวมทั้งมีการชุมนุมชาวอิหร่านในอาศัยในต่างประเทศเช่น ทวีปยุโรป แคนาดา สหรัฐ และตุรกี[7][8]
ข้อมูลเมื่อ 22 กันยายน ค.ศ. 2022[update] มีผู้ประท้วงอย่างน้อย 31 รายที่เสียชีวิตจากการปราบปรามผู้ชุมนุม ถือเป็นการประท้วงที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงในปี 2019–2020 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1,500 ราย[3]
นอกจากจะพยายามสลายการชุมนุมแล้ว รัฐบาลอิหร่านยังจำกัดการเข้าถึงแอปพลิเคชันอย่างอินสตาแกรมและวอตแซปส์ ไปจนถึงการจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เพื่อให้การจัดการประท้วงเป็นไปอย่างยากลำบาก ถือเป็นการจำกัดอินเทอร์เน็ตครั้งที่หนักที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงในปี 2019 ที่ตัดขาดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์[9]การโจมตีผู้ชุมนุมได้นำไปสู่การที่ผู้ชุมนุมบุกทำลายสถานที่ราชการ, ฐานทัพของรัฐบาล, ศูนย์ศาสนา, เผารถตำรวจ ยังมีการฉีกทำลายป้ายโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านอเมริกา, โปสเตอร์และรูปปั้นของผู้นำสูงสุด แอลี ฆอเมเนอี และอดีตผู้นำสูงสุด รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี โดยการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเตหะรานและมีการชุมนุมนักศึกษาในสถานศึกษาทั่วในประเทศเพื่อต้องการความยุติธรรม ต่อมาตำรวจควบุมฝูงชนได้เอาแก๊สน้ำตา รถควบคุมฝูงชน หนังสติ๊กยิง ทำให้กลุ่มผู้ชุนนุมได้รับบาดเจ็บ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Worldwide protests continue after the death of 22-year-old Mahsa Amini". USA Today. 24 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2022. สืบค้นเมื่อ 25 September 2022.
- ↑ "Hengaw Report No. 7 on the Kurdistan protests, 18 dead and 898 injured". Hengaw (ภาษาKurdish (Arabic script)). สืบค้นเมื่อ 28 September 2022.
- ↑ 3.0 3.1 "Eʿterāżāt dar Irān; Afzāyeš-e Āmār-e Koštešodegān beh biš az 30 Hamzamān bā Eḫtelāl dar Internet" اعتراضات در ایران؛ افزایش آمار کشتهشدگان به بیش از ۳۰ نفر همزمان با اختلال در اینترنت [Protests in Iran; The Number of Those Killed has Increased to over 30 People Simultaneously With Internet Blackout]. Iran Human Rights (ภาษาเปอร์เซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-09-22.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "31 Killed In Iran Crackdown On Anti-Hijab Protesters After Custody Death". NDTV. 22 September 2022.
- ↑ "At least 36 killed as Iran protests over Mahsa Amini's death rage: NGO". Al Arabiya News. 23 September 2022.
- ↑ Strzyżyńska, Weronika (16 September 2022). "Iranian woman dies 'after being beaten by morality police' over hijab law". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.
- ↑ Mahsa Amini: EU concern over woman who died after being stopped by morality police , euronews, 2022
- ↑ Reuters (2022-09-20). "Protests flare across Iran in violent unrest over woman's death". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-23.
- ↑ "Iran restricts access to WhatsApp and Instagram in response to Mahsa Amini protests". 21 September 2022.