มาชูปิกชู
แหล่งอนุรักษ์ประวัติศาสตร์มาชูปิกชู * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
มาชูปิกชู | |
พิกัด | 13°09′46.1″S 72°32′43.3″W / 13.162806°S 72.545361°W |
ประเทศ | เปรู |
ภูมิภาค ** | ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน |
ประเภท | มรดกแบบผสม |
เกณฑ์พิจารณา | (i), (iii), (vii), (ix) |
อ้างอิง | 274 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 1983 (คณะกรรมการสมัยที่ 7) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
มาชูปิกชู (สเปน: Machu Picchu), มาจูปิกจู (เกชัว: Machu Pikchu) หรือนิยมเรียกอีกชื่อว่า เมืองสาบสูญแห่งอินคา เป็นซากอารยธรรมโบราณของชาวอินคา ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงในประเทศเปรู ที่ความสูงประมาณ 2,430 เมตร[1][2] อารยธรรมแห่งนี้ได้ถูกคนภายนอกลืมจนกระทั่งมีการค้นพบอีกครั้งโดยนักโบราณคดีที่ชื่อไฮแรม บิงแฮม
มาชูปิกชูเป็นหลักฐานที่สำคัญของจักรวรรดิอินคา ใน ค.ศ. 1983 ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนมาชูปิกชูให้เป็นแหล่งมรดกโลก โดยทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่คนนิยมไปศึกษาประวัติศาสตร์
7 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 มาชูปิกชูได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่[3] แต่หลักฐานจากเอกสารโบราณจำนวนมากชี้ว่า ชื่อของมันคือ "อวยนาปิกชู" (Huayna Picchu) หรือ "ปิกชู" (Picchu) ต่างหาก ผลการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Ñawpa Pacha ของสถาบันอาณาบริเวณศึกษาแถบเทือกเขาแอนดีส (IAS) โดยทีมผู้วิจัยระบุว่าได้สืบค้นข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่นแผนที่ซึ่งระบุชื่อสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงศตวรรษที่ 19 เอกสารจากนักล่าอาณานิคมชาวสเปนในศตวรรษที่ 17 รวมทั้งบันทึกข้อมูลภาคสนามต้นฉบับของไฮรัม บิงแฮม (Hiram Bingham) นักสำรวจชาวอเมริกันผู้ค้นพบมาชูปิกชูเมื่อปี 1911 ด้วย
ประวัติ
[แก้]คาดว่ามาชูปิกชูสร้างขึ้นราว ค.ศ. 1450[5] โดยจักรพรรดิปาชากูตีของชาวอินคา[6] มาชูปิกชู ถูกปล่อยทิ้งไว้นับร้อยปี เพราะชาวสเปนได้เข้ามาล่าอาณานิคม และฆ่าชาวเปรูและชาวอินคา เมืองอินคาเลยถูกปล่อยร้างไว้[5] แต่ไฮแรม บิงแฮม ค้นพบเมืองร้างแห่งนี้เมื่อ ค.ศ. 1911 แล้วแพร่ข่าวไปทั่วโลก
การบูชายันมนุษย์และความลึกลับ
[แก้]มีแหล่งข้อมูลน้อยนักที่กล่าวถึงการบูชายัญมนุษย์ที่มาชูปิกชู แม้ว่าผู้ถูกบูชายัญจะไม่เคยถูกฝังอย่างเป็นพิธีแต่กระดูกของพวกเขาก็ได้ถูกย่อยสลายไปกับธาตุ[7]: 115 อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานว่าผู้ติดตามต้องถูกบูชายัญเพื่อติดตามขุนนางผู้ล่วงลับไปยั้งชีวิตหลังความตาย[7]: 107, 119 การบูชายัญสัตว์ ของเหลวและดินที่แท่นบูชาคอนดอร์จะพบเห็นได้บ่อยกว่ามาก ประเพณีนี้ได้รับการยอมรับจากสมาชิกของศาสนายุคใหม่แอนดีส[8]: 263
ที่ตั้ง
[แก้]มาชูปิกชูตั้งอยู่ห่างจากเมืองกุสโกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 70 กิโลเมตรบนยอดของทิวเขามาชูปิกชู ที่ระดับ 2,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล สถานที่แห่งนี้นับเป็นศูนย์กลางที่มีความสำคัญยิ่งทางโบราณคดีของอเมริกาใต้ และเป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวเกือบทุกคนที่มาเยือนประเทศเปรู
จากยอดเขา ณ หน้าผามาชูปิกชู เป็นหน้าผาที่มีลักษณะดิ่งชันสูงถึง 600 เมตรจากฐานที่เป็นแม่น้ำคือ แม่น้ำอารูบัมบา ที่ตั้งของตัวเมืองนับเป็นความลับทางการทหารก็เนื่องจากการเป็นหน้าผาสูงชันที่มีอันตรายที่เป็นปราการป้องกันธรรมชาติอันยอดเยี่ยมนั่นเอง
ใน ค.ศ. 2017 มีผู้คนประมาณ 1,411,279 คน ไปท่องเที่ยวที่มาชูปิกชู[9] และยูเนสโกได้ส่งข้อความสารแสดงถึงความเสียหายจากนักท่องเที่ยวที่ไปเป็นจำนวนมาก แต่ทางผู้มีอำนาจของทางเปรูบอกว่าเรื่องนั้นไม่ใช่ปัญหา แต่ถึงอย่างไรการคัดค้านนั้นทำให้มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ที่ไปเที่ยวชมและจำกัดจำนวนผู้เข้าชม และได้มีการเสนอให้ติดตั้งรถกระเช้า[10] แต่ข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธอยู่ตลอดและดูไม่มีทางจะเป็นไปได้ทุกที[11]
ทัศนียภาพ
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "UNESCO advisory body evaluation" (PDF).
- ↑ UNESCO World Heritage Centre.
- ↑ "Home | Creating Global Memory". New7Wonders of the World (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-10-25.
- ↑ "Home | Creating Global Memory". New7Wonders of the World (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-10-25.
- ↑ 5.0 5.1 Burger, Richard L.; Salazar, Lucy C. (2004). Machu Picchu: Unveiling the Mystery of the Incas (ภาษาอังกฤษ). Yale University Press. ISBN 0300097638.
- ↑ "Historic Sanctuary of Machu Picchu". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
- ↑ 7.0 7.1 Gaither, Catherine; Jonathan Kent; Victor Sanchez; Teresa Tham (June 2008). "Mortuary Practices and Human Sacrifice in the Middle Chao Valley of Peru: Their Interpretation in the Context of Andean Mortuary Patterning". Latin American Antiquity. 19 (2): 107, 115, 119.
- ↑ Hill, Michael (2010). "Myth, Globalization, and Mestizaje in New Age Andean Religion: The Intic Churincuna (Children of the Sun) of Urubamba, Peru". Ethnohistory. 57 (2): 263, 273–275. doi:10.1215/00141801-2009-063.
- ↑ "Cusco: Llegada de visitantes al Santuario Histórico de Machu Picchu". MINCETUR. December 2017. สืบค้นเมื่อ 22 March 2018.
- ↑ "Bridge stirs the waters in Machu Picchu". BBC News Online. 2007-02-01. สืบค้นเมื่อ 2016-06-07.
- ↑ Global Sacred Lands: Machu Picchu Sacredland.org, Sacred Land Film Project.
บรรณานุกรม
[แก้]- Bingham, Hiram. 1979 [1930]. Machu Picchu a Citadel of the Incas. Hacker Art Books, New York.
- Burger, Richard and Lucy Salazar (eds.). 2004. Machu Picchu: Unveiling the Mystery of the Incas. Yale University Press, New Haven.
- Frost, Peter. 1995. Machu Picchu Historical Sanctuary. Nueves Imágines, Lima.
- Reinhard, Johan. 2002. Machu Picchu: The Sacred Center. Lima: Instituto Machu Picchu (2nd ed.).
- Wright, Kenneth and Alfredo Valencia. 2000. Machu Picchu: A Civil Engineering Marvel. ASCE Press, Reston.
- 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก 12 ก.ค. 50 - 18:48 เก็บถาวร 2007-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นิติภูมิ นวรัตน์ นสพ. ไทยรัฐ