ข้ามไปเนื้อหา

ลอนดอนมิเธรียม

พิกัด: 51°30′45″N 00°05′26.16″W / 51.51250°N 0.0906000°W / 51.51250; -0.0906000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก London Mithraeum)
วิหารมิทรัส ลอนดอน
ภายในวิหาร เมื่อปี 2017 ตั้งอยู่ภายในบลูมเบิร์กสเปส
ลอนดอนมิเธรียมตั้งอยู่ในซิทีออฟลอนดอน
ลอนดอนมิเธรียม
ที่ตั้งภายในนครหลวงลอนดอน
ลอนดอนมิเธรียมตั้งอยู่ในซิทีออฟลอนดอนเมื่อปี ค.ศ. 1300
ลอนดอนมิเธรียม
ที่ตั้งเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองเก่า
ที่ตั้ง12 วอลบรูค ลอนดอน EC4
พิกัด51°30′45″N 00°05′26.16″W / 51.51250°N 0.0906000°W / 51.51250; -0.0906000
ประเภทวิหารโรมัน
ความเป็นมา
สมัยโรมันอิมพีเรียล
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
เว็บไซต์London Mithraeum

ลอนดอนมิเธรียม (อังกฤษ: London Mithraeum) หรือ วิหารมิทรัสที่วอลบรูค (อังกฤษ: Temple of Mithras, Walbrook) เป็นมิเธรียม (คือวิหารโรมันของเทพเจ้าโรมันปริศนา มิทรัส (Mithras)) ยุคโรมันที่ขุดค้นพบบนถนนวอลบรูค ซิทีออฟลอนดอน ระหว่างการก่อสร้างอาคารหนึ่งในปี 1954 โบราณสถานทั้งหมดถูกขุดย้ายไปตั้งไว้ที่อื่นเพื่อหลีกทางให้กับการก่อสร้างอาคารใหม่บนพื้นที่

พื้นที่นี้ขุดค้นโดย ดับเบิลยู เอฟ กริมส์ ผู้อำนวยการมิวเซียมออฟลอนดอน และนักโบราณคดี ออเดรย์ วิลเลียมส์ ในปี 1954[1] วิหารนี้คาดการณ์ว่าสร้างขึ้นในกลางคริสต์ศตวรรษที่สาม[a] เพื่อบูชามิทรัสหรืออาจมีบูชาเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ที่ทหารโรมันบูาร่วมด้วย จากนั้นในช่วงต้นศตวรรษที่สี่ได้เปลี่ยนไปบูชาบัคคัสเป็นหลักแทน ในบรรดาโบราณวัตถุที่ขุดค้นขึ้นมาพบบันทึกที่มีระบุชื่อของลอนดอนที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งมาจากปี AD 62 และ AD 70[2] ในชื่อลอนโดเนียม

หลังการขุดค้น ได้มีการย้ายโบราณสถานทั้งหมดไปประกอบใหม่ในปี 1962 ในระดับถนน ห่างไปราว 100 เมตร การก่อสร้างโบราณสถานส่วนนี้ใหม่ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าไม่ถูกต้องและขัดต่อหลักการอนุรักษ์[3][4]

ภายหลังการเปลี่ยนการใช้งานที่ดินไปจนกระทั่งบริษัทบลูมเบิร์กตัดสินใจสร้างสำนักงานภาคพื้นยุโรปขึ้นในปี 2010, จึงได้มีแนวคิดในการฟื้นฟูวิหารมิทรัสขึ้นมาใหม่[5] โดยอาศัยเอกสารหลักฐานเก่าและวัสดุเทียบเท่ามาทดแทนในการประกอบวิหารขึ้นมาใหม่[6] ในปัจจุบันเป็นนิทรรศการใน้ดินของอาคารซึ่งปัจจุบันชื่อบลูมเบิร์กสเปส

อ้างอิง

[แก้]
  1. It was dated to the mid-second century in Maarten J. Vermaseren, "The New Mithraic Temple in London" Numen 2.1/2 (January 1955), pp. 139-145.
  1. W. F. Grimes, in The Illustrated London News, 2, 9, and 16 October 1954.
  2. Bryan 2017, p. 23.
  3. Kennedy, Maev (19 January 2012). "Temple of Mithras comes home". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 11 April 2013.
  4. Bryan 2017, p. 91.
  5. Bloomberg 2017, p. 21.
  6. Bloomberg 2017, p. 15.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Bryan, Jessica; Cubitt, Rachel S.; Hill, Julian; Holder, Nick; Jackson, Sophie; Watson, Sadie (2017). Wright, Susan M. (บ.ก.). Archaeology at Bloomberg (pdf). London: MOLA.
  • Bloomberg (2017). London Mithraeum Bloomberg SPACE guide (Booklet). London: Bloomberg L.P.

แหล่งข้อมูล

[แก้]
  • R. G. Collingwood and R. P. Wright, 1965. The Roman Inscriptions of Britain (Oxford University Press), nos 3, 4.
  • W. F. Grimes, 1968. Excavation of Roman and Mediaeval London (London: Routledge & Kegan Paul).
  • Ralph Merrifield, 1965. The Roman City of London (London: Benn).
  • John D. Shepherd, 1998. The Temple of Mithras, London: excavations by W. F. Grimes and A. Williams at the Walbrook (London: English Heritage).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]