ข้ามไปเนื้อหา

ตะพาบหับพม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Lissemys scutata)
ตะพาบหับพม่า
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 2.3)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Testudines
อันดับย่อย: Cryptodira
วงศ์: Trionychidae
สกุล: Lissemys
สปีชีส์: L.  scutata
ชื่อทวินาม
Lissemys scutata
(Peters, 1868)
ชื่อพ้อง[2]
  • Emyda scutata Peters, 1868
  • Emyda fuscomaculata Gray, 1873
  • Emyda granosa scutata Annandale, 1912
  • Lissemys punctata scutata Smith, 1931
  • Trionyx punctatus scutatus Mertens, Müller & Rust, 1934
  • Lissemys scutata Webb, 1982

ตะพาบหับพม่า (อังกฤษ: Burmese flap-shell turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissemys scutata

ลักษณะ

[แก้]

มีรูปร่างกลม กระดองโค้งนูนสูงกว่าตะพาบน้ำอื่น ๆ ลักษณะพิเศษของตะพาบหับคือ ด้านท้อง มีแผ่นหนังปิดขาทั้ง 4 ขา ซึ่งสามารถพับปิดได้สนิทเหมือนเต่าในสกุล Cuora หรือ เต่าหับ ซึ่งลักษณะตรงนี้นับว่าแตกต่างไปจากตะพาบชนิดอื่น ๆ กระดองสีเทาหรือสีชมพู ใต้ท้องสีขาว เมื่อยังเล็กอยู่กระดองจะมีจุดสีเหลืองกระจายอยู่ทั่ว กระดองสีเข้ม ใต้ท้องสีแดงเข้ม มีขีดสีดำระหว่างตาและหางตาไปทางด้านหลังทั้ง 2 ข้าง[3]

แหล่งอาศัย

[แก้]

เป็นตะพาบที่หายาก พบเฉพาะในลุ่มน้ำสาละวิน บริเวณชายแดนไทย-พม่า เท่านั้น และอาจมีพบในมณฑลยูนาน ประเทศจีน ด้วย จัดเป็นตะพาบขนาดเล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย ขนาดโตเต็มที่ไม่เกินฝ่ามือ เมื่อโตขึ้นมามีอุปนิสัยไม่ดุ ซึ่งต่างไปจากตะพาบชนิดอื่น ๆ

สถานภาพ

[แก้]

เป็นตะพาบชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากถูกจับไปเป็นสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันกรมประมงพยายามศึกษาเพื่อเพาะขยายพันธุ์อยู่ โดยพบว่าไข่ของตะพาบหับพม่าใช้เวลาฟักนานกว่าเต่าหรือตะพาบพื้นเมืองหลายชนิดมาก และอัตราการฟักก็ไม่แน่นอน[4]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. Fritz Uwe (2007). "Checklist of Chelonians of the World" (PDF). Vertebrate Zoology. 57 (2): 316. ISSN 18640-5755. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-17. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. Ernst, C. H. and R. W. Barbour. (1989). Turtles of the world. Wahington, D.C., Smithsonian Institution Press. 313 pp.
  4. "การเพาะพันธุ์ตะพาบหับ Lissemys scutata เพื่อการอนุรักษ์และคืนสู่ธรรมชาติ" (PDF). กรมประมง. สืบค้นเมื่อ 1 June 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Lissemys scutata ที่วิกิสปีชีส์