ข้ามไปเนื้อหา

เต่าเสือดาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Leopard tortoise)
เต่าเสือดาว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordate
ชั้น: Sauropsida
อันดับ: Testudines
อันดับย่อย: Cryptodira
วงศ์: Testudinidae
วงศ์ย่อย: Testudininae
สกุล: Stigmochelys
Gray, 1873
สปีชีส์: S.  pardalis
ชื่อทวินาม
Stigmochelys pardalis[1][2]
(Bell, 1828)
ชนิดย่อย
  • Stigmochelys pardalis babcocki (Loveridge, 1935)
  • Stigmochelys pardalis pardalis (Bell, 1828)
ชื่อพ้อง[4]
  • Testudo pardalis Bell, 1828
  • Testudo biguttata Cuvier, 1829 (nomen nudum)
  • Testudo armata Boie, 1831 (nomen nudum)
  • Testudo bipunctata Gray, 1831
  • Geochelone (Geochelone) pardalis Fitzinger, 1835
  • Megachersine pardalis Hewitt, 1933
  • Testudo pardalis pardalis Loveridge, 1935
  • Geochelone pardalis pardalis Loveridge & Williams, 1957
  • Stigmochelys pardalis Gerlach, 2001
  • Centrochelys pardalis pardalis Vetter, 2002
  • Stigmochelys pardalis pardalis Bour, 2002
  • Psammobates pardalis Le, Raxworthy, McCord & Mertz, 2006
  • Testudo pardalis babcocki Loveridge, 1935
  • Geochelone pardalis babcocki Loveridge & Williams, 1957
  • Geochelone babcocki Pritchard, 1967
  • Geochelone paradalis babcocki Dadd, 1974
  • Geochelone pardalis baboocki Młynarski, 1976 (ex errore)
  • Centrochelys pardalis babcocki Vetter, 2002
  • Stigmochelys pardalis babcocki Bour, 2002
  • Geochelone pardalis babcockii Le, Raxworthy, McCord & Mertz, 2006 (ex errore)
เต่าเสือดาวขนาดใหญ่ในนามิเบีย
ลูกเต่าวัย 1 เดือนบนฝ่ามือ

เต่าเสือดาว (อังกฤษ: Leopard tortoise; ชื่อวิทยาศาสตร์: Stigmochelys pardalis) สัตว์เลื้อยคลานประเภทเต่าชนิดหนึ่ง จัดเป็นเต่าบก (Testudinidae) ชนิดหนึ่ง

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของเต่าเสือดาว มาจากภาษากรีก 2 คำ คือคำว่า Stigma หมายถึง "การกำหนด" หรือ "จุด" และคำว่า Chelone(Χελωνη) หมายถึง "เต่าบก" ขณะที่ชื่อชนิดคำว่า pardus เป็นภาษาลาติน หมายถึง "เสือดาว" โดยหมายถึงลวดลายคล้ายลายเสือดาวบนกระดอง

ลักษณะและพฤติกรรม

[แก้]

เต่าเสือดาว นับเป็นเต่าบกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Stigmochelys[5] นับเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก รองจาก เต่ากาลาปากอส, เต่าอัลดาบร้า และเต่าซูลคาต้า โดยมีขนาดกระดองยาวได้ถึง 23 นิ้ว (54.42 เซนติเมตร) ซึ่งโดยปกติตัวผู้มักจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย กระดองจะมีลายเป็นจุดแต้มสีดำบนผิวกระดองพื้นสีอ่อน จุดแต้มนี้มีทั้งที่มีขนาดใหญ่กระจายอยู่ห่างกันและที่อยู่ใกล้กัน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ

  • Stigmochelys pardalis babcocki (เต่าเสือดาวธรรมดา) เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป กระดองจะมีลักษณะกลมมนและเป็นโดมสูง
  • Stigmochelys pardalis pardalis (เต่าเสือดาวแอฟริกาใต้) เป็นชนิดที่พบได้ในแอฟริกาใต้ มีลักษณะรูปทรงกระดองไม่เป็นโดมเท่าแต่มีความยาวรีกว่า [5]

นอกจากนี้แล้ว เต่าเสือดาวที่พบในแอฟริกาใต้มีลักษณะเฉพาะอีกประการหนึ่ง นั่นคือ ผิวหนังจะมีการตกกระ โดยมีจุดดำเล็ก ๆ กระจายตามผิวหนัง กระนี้เห็นได้ชัดในลูกเต่าที่เพิ่งฟักจากไข่และเต่าวัยอ่อนก่อนจะค่อย ๆ เลือนหายไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ลูกเต่าที่เพิ่งฟักจากไข่จะมีลวดลายจำเพาะบนกระดอง เป็นลายจุด 2 จุดซึ่งจะอยู่บนแผ่นกระดองแต่ละแผ่น (หรืออาจกินพื้นที่มากกว่าหนึ่งแผ่น) เหมือนจุดแฝด จุดแฝดดังกล่าวจะค่อย ๆ เลือนหายไปเมื่อเต่าโตขึ้นเช่นกัน แต่จำนวนจุดคู่บนแผ่นกระดองของเต่าแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน เต่าบางตัวอาจจะมีมากแต่บางตัวก็อาจจะไม่มีเลย แม้กระทั่งเต่าที่ฟักออกมาจากครอกเดียวกันบางตัวก็มีลายจุดบนกระดองในขณะที่บางตัวไม่มี

เต่าเสือดาว เป็นเต่าที่กินพืชเป็นอาหาร โดยมีหญ้าและผักใบเขียวเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้แล้วยังสามารถกินลูกแพร์หนาม ตลอดจนลำต้นและผลของต้นพืชอวบน้ำได้ด้วย โดยมีพฤติกรรมหาของกินตลอดทั้งวัน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 12-15 ปี

พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่แห้งแล้งของทวีปแอฟริกา ตั้งแต่แอฟริกาใต้สะฮาราลงมาในหลายประเทศ เต่าเสือดาวที่พบในแอฟริกาใต้ พบได้ในจังหวัดเคป และบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐออเรนจ์ฟรี โดยมีรายงานว่าพบมีการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ระหว่างชนิดย่อยทั้ง 2 ชนิดกันด้วย[1]

ในที่เลี้ยง

[แก้]

เต่าเสือดาว นับเป็นเต่าบกอีกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์แปลกหรือสัตว์ต่างถิ่น ในที่เลี้ยงเต่าสามารถเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้เพียง 6 ปี พฤติกรรมในการผสมพันธุ์จะเริ่มจากเต่าตัวผู้จะเป็นฝ่ายเปล่งเสียงคำรามออกทางจมูก หลังผสมพันธุ์ตัวเมียจะวางไข่ซึ่งมีจำนวนระหว่าง 5-18 ฟอง โดยการขุดรูฝังไว้ใต้ทราย เต่าเสือดาวแอฟริกาใต้ ขยายพันธุ์ในสถานที่เลี้ยงได้ยากกว่าเต่าเสือดาวธรรมดา

ไม่บ่อยนักที่ไข่เต่าเสือดาวจะฟักเป็นตัวในตู้ฟัก โดยส่วนใหญ่การเพาะขยายพันธุ์ที่ประสบความสำเร็จมักเกิดขึ้นเมื่อไข่เต่าถูกฝังทิ้งไว้ในพื้นดิน ภายใต้อากาศซึ่งใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของเต่าเสือดาว แต่อย่างไรก็ดีมีผู้เพาะพันธุ์เพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่สามารถเพาะขยายพันธุ์เต่าเสือดาวได้ในสถานที่เลี้ยง[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Turtles of the World: Annotated Checklist of Taxonomy and Synonymy, December 2010
  2. Fritz, U. (2007-07-03). "When genes meet nomenclature: Tortoise phylogeny and the shifting generic concepts of Testudo and Geochelone". Zoology. Elsevier. 110 (4): 298–307. doi:10.1016/j.zool.2007.02.003. PMID 17611092. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Baker
  4. Fritz Uwe (2007). "Checklist of Chelonians of the World" (PDF). Vertebrate Zoology. 57 (2): 294–295. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-17. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  5. 5.0 5.1 Branch, Bill (2008). Tortoises, Terrapins & Turtles of Africa. South Africa: Struik Publishers. p. 128. ISBN 1-77007-463-5.
  6. Kindersley, Dorling (2001,2005). Animal. New York City: DK Publishing. ISBN 0-7894-7764-5.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Stigmochelys pardalis ที่วิกิสปีชีส์