ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก LGBTIQ)
กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
สัญชาติทุกสัญชาติ

แอลจีบีที (อังกฤษ: LGBT) เป็นอักษรย่อที่มาจากคำว่า เลสเบียน (อังกฤษ: Lesbian), เกย์ (อังกฤษ: Gay), ไบเซ็กชวล (อังกฤษ: Bisexual) และ ทรานส์เจนเดอร์ (อังกฤษ: Transgender) ปรากฏการใช้มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 และเป็นการดัดแปลงมาจากอักษรย่อ แอลจีบี ( LGB) ที่ซึ่งนำมาใช้ทดแทนคำว่า เกย์ เพื่อสื่อถึงชุมชนแอลจีบีทีในมุมกว้างขึ้น เริ่มตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980[1] ทั้งอักษรย่อ แอลจีบีที และรูปแบบอื่น ๆ ใช้เป็นคำกว้าง ๆ เพื่อสื่อถึงเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศของบุคคล[2] ในภาษาไทยอาจเรียกว่ากลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ[3]

แอลจีบีทีอาจหมายถึงบุคคลที่ไม่ได้รักต่างเพศ หรือไม่เป็นเพศซิส มากกว่าที่จะหมายถึงเฉพาะกลุ่มเลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล และทรานส์เจนเดอร์ โดยเฉพาะ[4] เพื่อให้เป็นการครอบคลุมกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายมากขึ้น จึงนิยมใช้อักษรย่อ แอลจีบีทีคิว (อังกฤษ: LGBTQ) ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมกว่า โดยการเพิ่มอักษร คิว (Q) เพื่อสื่อถึงบุคคลที่นิยามตนเองว่าเป็นเควียร์ (อังกฤษ: Queer) หรือ เควชชันนิง (อังกฤษ: Questioning; ยังไม่ชัดเจน)[5] บางทีมีการเพิ่มกลุ่มอินเตอร์เซ็กซ์ (อังกฤษ: Intersex) เข้าไป เป็นอักษรย่อ แอลจีบีทีไอ (อังกฤษ: LGBTI)[6][7] และบางครั้งพบนำทั้งสองรูปแบบมารวมกันเป็น แอลจีบีทีไอคิว (อังกฤษ: LGBTIQ)[8] นอกจากนี้ยังปรากฏอักษรย่อในรูป แอลจีบีที+ (อังกฤษ: LGBT+) เพื่อรวมสเปกตรัมของเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศอันหลากหลายของมนุษย์ทั้งหมด[9] รูปแบบอื่น ๆ ที่พบไม่บ่อย เช่น แอลจีบีทีคิวไอเอ+ (อังกฤษ: LGBTQIA)[10] โดยอักษร เอ (A) มาจาก "อะเซ็กชวล" (อังกฤษ: Asexual), "อะโรแมนติก" (อังกฤษ: Aromantic) หรือ "อะเจนเดอร์" (อังกฤษ: Agender) ส่วนตัวย่อรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งในบางรูปแบบมีความยาวมากกว่าสองเท่าของ แอลจีบีที ก่อให้การวิพากษ์วิจารณ์ขึ้น[11][12][13] และการตีความว่าตัวย่อนี้เป็นการหมายถึงชุมชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นเฉพาะก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่[14]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Acronyms, Initialisms & Abbreviations Dictionary, Volume 1, Part 1. Gale Research Co., 1985, ISBN 978-0-8103-0683-7. Factsheet five, Issues 32–36, Mike Gunderloy, 1989
  2. Parent, Mike C.; DeBlaere, Cirleen; Moradi, Bonnie (June 2013). "Approaches to Research on Intersectionality: Perspectives on Gender, LGBT, and Racial/Ethnic Identities". Sex Roles. 68 (11–12): 639–645. doi:10.1007/s11199-013-0283-2. S2CID 144285021.
  3. ธเนศว์ กาญธีรานนท์, ถึงเวลาที่รัฐธรรมนูญไทย จะเพิ่มพื้นที่ให้แก่กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ The Handbook of Lesb
  5. "Civilities, What does the acronym LGBTQ stand for?". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ February 19, 2018.
  6. William L. Maurice, Marjorie A. Bowman, Sexual medicine in primary care, Mosby Year Book, 1999, ISBN 978-0-8151-2797-0
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Challenging Lesbian Nor
  8. Siddharta, Amanda (April 28, 2019). "Trans Women March for Their Rights in Conservative Indonesia". VOA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ April 28, 2019.
  9. Vikhrov, Natalie (April 26, 2019). "Armenia's LGBT+ community still waits for change one year after revolution". Thomson Reuters Foundation. สืบค้นเมื่อ April 28, 2019.
  10. "LGBTQIA+ Terminology - Gender and Sexuality Student Services - UIS". www.uis.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
  11. "The new rainbow pride flag is a design disaster—but a triumph for LGBTQ inclusiveness". Quartz. 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
  12. "Coming to terms with terms". www.oakpark.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-06-25.
  13. Oli (2019-12-04). "The challenge of generosity". Oliver Arditi (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-25.
  14. Finnegan, Dana G.; McNally, Emily B. (2002). Counseling Lesbian, Gay, Bisexual, and Transgender Substance Abusers: Dual Identities. Haworth Press. ISBN 978-1-56023-925-3.