ข้ามไปเนื้อหา

ลัวโซเดอเฟอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก L'Oiseau de feu)
ภาพวาดนักเต้น The Firebird โดย Léon Bakst (1866-1924)

ลัวโซเดอเฟอ (ฝรั่งเศส: L'Oiseau de feu, "วิหคไฟ"; รัสเซีย: Жар-птица, Žar-ptica; อังกฤษ: The Firebird) เป็นผลงานบัลเลต์ประกอบดนตรีชิ้นแรกของอิกอร์ สตราวินสกี ออกแสดงครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1910 โดยคณะ Ballets Russes ของเซอร์เก เดียกิเลฟ นำแสดงโดยทามารา คาร์ซาวินา (1885 – 1978) ออกแบบท่าเต้นโดยมิคาอิล ฟอกิน นักออกแบบท่าเต้นชาวรัสเซีย [1] บัลเลต์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากนิทานพื้นบ้านสลาฟเกี่ยวกับนกวิเศษ ที่นำโชคลาภและความโชคร้ายมาสู่ผู้ที่จับมันได้

บัลเลต์เรื่องนี้จัดแสดงรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1910 ที่ปารีส [2] เดิมเดียกิเลฟ ได้ว่าจ้างให้อนาโตลี ลยาดอฟ (1855-1914) และนิโคไล ทเชเรปนิน (1873 - 1945) [3] เป็นผู้แต่งดนตรีสำหรับบัลเลต์เรื่องนี้ตั้งแต่เริ่มโครงการเมื่อ ค.ศ. 1908 [4] แต่ทั้งคู่ได้ขอถอนตัว จึงได้เปลี่ยนให้สตาวินสกีเป็นผู้รับผิดชอบแทน ผลปรากฏว่าบัลเลต์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง สร้างชื่อเสียงให้กับสตาวินสกีและคณะบัลเลต์ จนได้มีผลงานร่วมกันอีกหลายเรื่อง ทั้ง Petrushka (1911), Le sacre du printemps (1913), Le chant du rossignol และ Pulcinella (1920), Renard (1922), Les Noces (1923) และ Apollon musagète (1928) [5]

ดนตรีฉบับดั้งเดิมมีความยาวทั้งสิ้น 45 นาที บรรเลงด้วยวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องลมไม้ชุดใหญ่ ฮาร์พสามชุด และแกรนด์เปียโน ต่อมาสตราวินสกีได้เรียบเรียงใหม่ให้สั้นลง และบรรเลงด้วยวงดนตรีขนาดเล็กสำหรับการแสดงคอนเสิร์ต เป็นสวีต 2 เวอร์ชัน คือ ฉบับปี 1911 และ ปี 1919 ต่อมาในปี 1945 ได้เรียบเรียงฉบับสำหรับแสดงบัลเลต์เต็มรูปแบบ ทั้งสี่เวอร์ชันมีชื่อเรียกดังนี้

  • 1910 Ballet Score (หรือ "Ballet in 2 scenes for orchestra")
  • 1911 Suite (หรือ "Concert suite for orchestra No. 1")
  • 1919 Suite (หรือ "Concert suite for orchestra No. 2")
  • 1945 Suite (หรือ "Ballet suite for orchestra")

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-13. สืบค้นเมื่อ 2010-07-16.
  2. Stephen Walsh: 'Stravinsky, Igor', Grove Music Online ed. L. Macy (accessed 1 April 2008), <http://www.grovemusic.com เก็บถาวร 2008-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>
  3. Taruskin, Richard. 1996. Stravinsky and the Russian Traditions. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-816250-2, pp.574-7
  4. Taruskin, pp576-7
  5. "The History of Diaghilev's Ballets Russes 1909-1929". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-14. สืบค้นเมื่อ 2010-07-16.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ลัวโซเดอเฟอ