ข้ามไปเนื้อหา

กรากุฟ

พิกัด: 50°03′41″N 19°56′14″E / 50.06139°N 19.93722°E / 50.06139; 19.93722
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Kraków)
กรากุฟ
นครหลวงกรากุฟ
ธงของกรากุฟ
ธง

ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
กราโกวีอาอูปส์แกแลแบร์ริมา
(Cracovia urbs celeberrima)
กรากุฟตั้งอยู่ในประเทศโปแลนด์
กรากุฟ
กรากุฟ
ที่ตั้งของกรากุฟในประเทศโปแลนด์
กรากุฟตั้งอยู่ในจังหวัดมาวอปอลสกา
กรากุฟ
กรากุฟ
กรากุฟ (จังหวัดมาวอปอลสกา)
พิกัด: 50°03′41″N 19°56′14″E / 50.06139°N 19.93722°E / 50.06139; 19.93722
ประเทศโปแลนด์
จังหวัดมาวอปอลสกา
สิทธิ์ของนคร5 มิถุนายน ค.ศ. 1257[2]
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนครยัตแซก ไมครอฟสกี (I)
พื้นที่
 • ตัวเมือง326.8 ตร.กม. (126.2 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,023.21 ตร.กม. (395.06 ตร.ไมล์)
ความสูงจุดสูงสุด383 เมตร (1,257 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด187 เมตร (614 ฟุต)
ประชากร
 (30 มิถุนายน ค.ศ. 2021)
 • ตัวเมืองเพิ่มขึ้นเป็นกลาง 780,796 (อันดับที่ 2)[1] คน
 • ความหนาแน่น2,359 คน/ตร.กม. (6,110 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,725,894 คน
เดมะนิมชาวกรากุฟ
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
รหัสไปรษณีย์30-024 ถึง 31–963
รหัสพื้นที่+48 12
เว็บไซต์www.krakow.pl
ศูนย์กลางประวัติศาสตร์กรากุฟ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ย่านเมืองเก่ากรากุฟ
พิกัด50°3′41″N 19°56′14″E / 50.06139°N 19.93722°E / 50.06139; 19.93722
ประเทศ โปแลนด์
ภูมิภาค **ยุโรปและอเมริกาเหนือ
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iv)
อ้างอิง29
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1978 (คณะกรรมการสมัยที่ 2)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

กรากุฟ (โปแลนด์: Kraków, ออกเสียง: [ˈkrakuf] ( ฟังเสียง)) หรือ คราเคา (อังกฤษ: Krakow หรือ Cracow, ออกเสียง: /ˈkrækaʊ, ˈkrɑːkaʊ/) เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองและเก่าแก่ที่สุดในโปแลนด์และเป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมของนักท่องเที่ยว[3][4]เขตเมืองเก่าได้รับการบรรจุอยู่ในรายชื่อแหล่งมรดกโลก[5] เมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวิสตูลาในจังหวัดมาวอปอลสกา (เลสเซอร์โปแลนด์) เมืองมีที่มาตั้งแต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 7[6] กรากุฟเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางชั้นนำอย่างมีแบบแผนของสถาบันการศึกษาโปแลนด์ วัฒนธรรมและชีวิตศิลปะ และยังเป็นหนึ่งเมืองศูนย์กลางสำคัญด้านธุรกิจของโปแลนด์ เป็นเมืองหลวงของโปแลนด์ระหว่างปี ค.ศ. 1038 ถึง ค.ศ. 1596 เป็นเมืองหลวงของแกรนด์ดัชชีกรากุฟระหว่างปี ค.ศ. 1846 ถึง ค.ศ. 1918 และเมืองหลวงของจังหวัดกรากุฟระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงปี ค.ศ. 1999 และปัจจุบันเป็นเมืองหลักของจังหวัดมาวอปอลสกา

เมืองเริ่มเติบโตขึ้นมาตั้งแต่ยุคหิน มีการตั้งรกรากถิ่นฐานในเมืองที่มีความสำคัญที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโปแลนด์นี้ เริ่มต้นในหมู่บ้านในเนินเขาวาแวล และมีการบันทึกว่าเป็นศูนย์กลางการค้าอย่างคึกคักของชาวสลาฟในยุโรปใน ค.ศ. 965[7] หลังจากสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 และในคริสต์ศตวรรษที่ 20 กรากุฟก็เป็นที่ยอมรับอีกครั้งในฐานะศูนย์กลางการศึกษาหลักแห่งชาติและด้านศิลปะ ที่มีมหาวิทยาลัยเกิดใหม่และงานด้านวัฒนธรรมมากมาย

หลังจากที่นาซีเยอรมนีรุกรานโปแลนด์ จนเป็นฉนวนสงครามโลกครั้งที่สอง กรากุฟกลายเป็นเมืองหลวงของเขตยึดครองเขตปกครองสามัญภายใต้เยอรมนี ชาวยิวในเมืองถูกย้ายออกไปอยู่ในเขตกำแพงที่เรียกว่า กรากุฟเกตโต จากนั้นถูกส่งไปค่ายมรณะอย่างเช่นเอาช์วิทซ์และกรากุฟ-ปวาชุฟ

ในปี ค.ศ. 1978 ในปีที่ยูเนสโกยกย่องให้กรากุฟอยู่ในรายชื่อมรดกโลก การอล วอยตือวา บาทหลวงแห่งเมืองกรากุฟขึ้นเป็นพระประมุขแห่งศาสนจักรนิกายโรมันคาทอลิกเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ถือเป็นพระสันตะปาปาคนแรกที่ไม่ใช่ชาวอิตาลีในรอบ 455 ปี และถือเป็นพระสันตะปาปาชาวสลาฟคนแรก[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Local Data Bank". Statistics Poland. สืบค้นเมื่อ 16 October 2021. Data for territorial unit 1261000.
  2. Sikora, Jakub (4 June 2018). "5 czerwca 1257 roku Kraków otrzymał prawa miejskie » Historykon.pl".
  3. euromonitor.com เก็บถาวร 2010-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Top 150 City Destinations, Caroline Bremner, 11 October 2007. Retrieved 29 May 2009
  4. staypoland.com Krakow TOURISM. Retrieved 29 May 2009
  5. Properties inscribed on the World Heritage list, Poland. Ratification of the convention: June 29, 1976. UNESCO World Heritage Centre. Last updated: July 6, 2009
  6. The Municipality Of Kraków Press Office, 1996–2007, in participation with ACK Cyfronet of the AGH University of Science and Technology, ""Our City. History of Krakow, archaeological findings"". สืบค้นเมื่อ 2007-09-11.
  7. "History". Krakow Info. สืบค้นเมื่อ 2009-06-05.
  8. "The judge: William P. Clark, Ronald ... - Google Books". books.google.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2009-07-19.

หมายเหตุ

[แก้]
  • Bieniarzówna Janina, Małecki Jan M., Mitkowski Józef (red.) Dzieje Krakowa, Wyd. Literackie, Kraków 1979; ISBN 83-08-00115-7 (całość)
  • Agatstein–Dormontowa D., Żydzi w Krakowie, w okresie okupacji niemieckiej., [w:] „Rocznik Krakowski”, t. XXXI, Kraków 1958
  • Podhorizer–Sandel E., O zagładzie Żydów w dystrykcie krakowskim, [w:] „Biuletyn ŻIH”, 1959, nr 30, s. 87–109