ข้ามไปเนื้อหา

คลิปสปริงเงอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Klipspringer)
คลิปสปริงเงอร์
ตัวผู้
ตัวเมีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
วงศ์ย่อย: Antilopinae
เผ่า: Neotragini
สกุล: Oreotragus
Smith, 1834
สปีชีส์: O.  oreotragus
ชื่อทวินาม
Oreotragus oreotragus
(Zimmermann, 1783)
ชนิดย่อย
ดูในเนื้อหา
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[2]
ชื่อพ้อง
  • O. cunenensis Zukowsky, 1924
  • O. hyatti Hinton, 1921
  • O. klippspringer (Daudin, 1802)
  • O. saltator (Boddaert, 1785)
  • O. saltatricoides Neumann, 1902
  • O. saltatrixoides (Temminck, 1853)
  • O. steinhardti Zukowsky, 1924
  • O. typicus Smith, 1834

คลิปสปริงเงอร์ (อังกฤษ: Klipspringer; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oreotragus oreotragus) เป็นแอนทิโลปขนาดเล็ก ในกลุ่มแอนทิโลปแคระ หรือแอนทิโลปเล็ก

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คลิปสปริงเงอร์จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Oreotragus โดยได้รับการอนุกรมวิธานครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1783 โดยเอเบอร์ฮาร์ด เอากุสท์ วิลเฮล์ม ฟอน ซิมเมอร์มันน์ นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน[2] ชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า "กลิปสปริงเงอร์" (klipspringer) มาจากการประสมกันของคำในภาษาแอฟริคานส์ว่า klip ("หิน") กับ springer ("ผู้กระโดด", "ผู้ผาดโผน") รวมความแล้วแปลว่า "นักกระโดดหน้าผา"[3] และมีอีกชื่อหนึ่งคือ "กลิปโบก" (klipbok)[4]

และอาจเรียกชื่อสามัญในภาษาไทยได้ว่า "กวางผา" แต่เป็นสัตว์ต่างประเภทกับกวางผาที่พบในทวีปเอเชีย แม้จะอยู่ในวงศ์เดียวกันก็ตาม [5]

ลักษณะและพฤติกรรม

[แก้]

ตัวผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 10 กิโลกรัม ตัวเมีย 13 กิโลกรัม ความสูง 50–55 เซนติเมตร จากกีบเท้าถึงไหล่ ความยาวลำตัว 80 เซนติเมตร–1 เมตร ความยาวหาง 8 เซนติเมตร อายุโดยเฉลี่ย 10–12 ปี มีเขาเฉพาะตัวผู้เท่านั้น ขนาดความยาว 20–25 เซนติเมตร มีความเรียวแหลม ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย ไม่มีเขา มีขนสีต่าง ๆ ออกไป เช่น เหลือง, น้ำตาลแดง, เทา แตกต่างออกไปตามภูมิประเทศเพื่ออำพรางตัว โดยมีจุดอ่อนคือสีขาว[6]

คลิปสปริงเงอร์ เป็นแอนทิโลปที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก สามารถกระโดดไปมาตามโขดหินได้อย่างคล่องแคล่ว เนื่องจากกีบเท้ามีลักษณะพิเศษทำให้เกาะติดบนพื้นหินได้อย่างมั่นคง ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่เป็นคู่ เมื่อมีลูกจะซ่อนลูกไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อความปลอดภัย โดยเป็นสัตว์ที่มีความสามารถกระโดดได้สูงมากเป็นพิเศษ โดยกระโดดได้สูงคิดเป็น 15 เท่าของความสูงของตัว หรือประมาณ 7 เมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับมนุษย์แล้วจะเท่ากับว่ากระโดดจากไหล่ของเทพีเสรีภาพข้ามคบเพลิงซึ่งเป็นจุดสูงสุดได้เลย[3]

อาศัยอยู่ตามภูมิประเทศที่เป็นโขดหินหรือภูเขาหินที่มีต้นไม้ขึ้นประปราย อาศัยอยู่ได้ทั้งในพื้นที่แห้งแล้งและพื้นที่ชุ่มชื้น อาหารหลักได้แก่ ใบไม้อ่อน ๆ, รากไม้, ดอกไม้, ผลไม้ และหญ้าที่ขึ้นใหม่ในช่วงฤดูฝน เป็นสัตว์ที่จะไม่ดื่มน้ำโดยตรง แต่จะอาศัยความชื้นจากพืชพรรณต่าง ๆ ที่กินขึ้นไปแทนหล่อเลี้ยงร่างกาย ทำให้สามารถอดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ [5]

เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน โดยเฉพาะในช่วงกลางดึกและจะกระฉับกระเฉงมากเป็นพิเศษในคืนเดือนหงายหรือคืนวันเพ็ญ จะเริ่มหลับนอนพักผ่อนเมื่อใกล้สาง ในเวลากลางวันมักนอนอาบแดดเพื่ออบอุ่นร่างกาย[7]

จากการศึกษาทางด้านวงศ์วานวิวัฒนาการ พบว่าคลิปสปริงเงอร์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเคิร์กดิก-ดิก (Madoqua kirkii) และซูนี (Neotragus moschatus) ซึ่งเป็นแอนทิโลปขนาดเล็กเหมือนกัน โดยวิวัฒนาการมาแล้วเกือบ 14 ล้านปี โดยมีลำดับตามตางรางดังนี้: [8]

Tragelaphus

ซูนี (Neotragus moschatus)

คลิปสปริงเงอร์ (Oreotragus oreotragus)

การกระจายพันธุ์และความหลากหลาย

[แก้]

พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเอธิโอเปีย, เคนยา, แทนซาเนีย, นามิเบีย และแอฟริกาใต้ และสูญพันธุ์ไปแล้วที่บุรุนดี[1] โดยจำแนกออกได้เป็น 11 ชนิดย่อย ดังนี้:[9]

  • O. o. aceratos Noack, 1899 : คลิปสปริงเงอร์แทนซาเนียใต้ หรือโนอากคลิปสปริงเงอร์ พบกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาใต้ ระหว่างแม่น้ำรูฟิจิ และแซมเบซี
  • O. o. aureus Heller, 1913 : คลิปสปริงเงอร์สีทอง พบในเคนยา
  • O. o. centralis Hinton, 1921 : คลิปสปริงเงอร์แซมเบีย พบในภูมิภาคแอฟริกากลางและแอฟริกาใต้
  • O. o. oreotragus (Zimmermann, 1783) : เคปคลิปสปริงเงอร์ พบในแหลมกูดโฮป, แอฟริกาใต้
  • O. o. porteousi Lydekker, 1911 : พบในแอฟริกากลาง
  • O. o. saltatrixoides (Temminck, 1853) : คลิปสปริงเงอร์เอธิโอเปีย พบในที่ราบสูงเอธิโอเปีย
  • O. o. schillingsi Neumann, 1902 : คลิปสปริงเงอร์มาไซ พบในแอฟริกาตะวันออก
  • O. o. somalicus Neumann, 1902 : คลิปสปริงเงอร์โซมาลี พบในตอนเหนือของโซมาเลีย
  • O. o. stevensoni Roberts, 1946 คลิปสปริงเงอร์สตีเวนสัน พบในตะวันตกของซิมบับเว
  • O. o. transvaalensis Roberts, 1917 : คลิปสปริงเงอร์ทรานส์เวล พบในที่ราบสูงแอฟริกาใต้และดราเกนสเบอร์ก
  • O. o. tyleri Hinton, 1921 : คลิปสปริงเงอร์แองโกลัน พบในนามิเบีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 IUCN SSC Antelope Specialist Group (2008). "Oreotragus oreotragus". IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2008: e.T15485A4650367. สืบค้นเมื่อ 2 June 2016.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 Grubb, P. (2005). "Order Artiodactyla". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 686. ISBN 978-0-8018-8221-0.
  3. 3.0 3.1 "The Most Extreme". tv.com. July 7, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-26. สืบค้นเมื่อ July 3, 2016.
  4. "Klipspringer". MerriamWebsterDictionary. สืบค้นเมื่อ 7 April 2016.
  5. 5.0 5.1 ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 240 หน้า. หน้า 38. ISBN 978-616-90508-0-3
  6. Liebenberg, L. (1990). A Field Guide to the Animal Tracks of Southern Africa (Illustrated, reprint ed.). Cape Town, South Africa: D. Philip. pp. 273–4. ISBN 978-0-86486-132-0.
  7. Kingdon, J. (2015). The Kingdon Field Guide to African Mammals (2nd ed.). London, UK: Bloomsbury Publishing. pp. 588–9. ISBN 978-1-4729-2531-2.
  8. Johnston, A.R; Anthony, N.M (2012). "A multi-locus species phylogeny of African forest duikers in the subfamily Cephalophinae: evidence for a recent radiation in the Pleistocene". BioMed Central Evolutionary Biology. 12 (120). doi:10.1186/1471-2148-12-120.
  9. Groves, C.; Grubb, P. (2011). Ungulate Taxonomy. Baltimore, US: Johns Hopkins University Press. pp. 275–9. ISBN 978-1-4214-0093-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Oreotragus oreotragus ที่วิกิสปีชีส์