ข้ามไปเนื้อหา

คัต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Khat)
คัต
Catha edulis
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Celastrales
วงศ์: Celastraceae
สกุล: Catha
สปีชีส์: C.  edulis
ชื่อทวินาม
Catha edulis
(Vahl) Forssk. ex Endl.

คัต หรือ แกต (khat, qat[1]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Catha edulis) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในจงอยแอฟริกาและคาบสมุทรอาหรับ พืชชนิดนี้มีความสำคัญในทางสังคมของบริเวณดังกล่าวมาหลายพันปี[2] ชาวแอฟริกาและชาวเยเมนนิยมนำใบมาเคี้ยว ในใบมีสารที่ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนอย่างอ่อน ทำให้รู้สึกสนุกสนาน

การปลูกและใช้ประโยชน์

[แก้]
การปลูกคัตในเยเมนตะวันตกใกล้อัล ตาวืละห์
ต้นคัตในเยเมน
การเคี้ยวคัตในเยเมน

คัตเป็นพืชที่มีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น คัตและกัตในเยเมน คาตและญาดในโซมาเลีย และชัตในเอธิโอเปีย[2] ในภาษาโอโรโมเรียกว่าญิมา และภาษาลูกันดาเรียกว่ามายิรูงิ คัตถูกใช้เป็นพืชให้สารกระตุ้นในประเทศในแถบจงอยแอฟริกาและคาบสมุทรอาหรับ การเคี้ยวคัตเป็นเช่นเดียวกับการดื่มกาแฟ และใช้ในการติดต่อทางสังคม ในยูกันดา ใช้ปลูกทางภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศ [2] ในเคนยาปลูกที่เขตเมรู แม้ว่าการเคี้ยวคัตยังจำกัดเฉพาะบริเวณแหล่งการปลูกในแถบทะเลแดง[2] แต่ยังพบคัตในบริเวณแอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ โมซัมบิกและเขตร้อน [3]ใบสดและยอดอ่อนใช้เคี้ยว หรือทำให้แห้งและบริโภคเช่นเดียวกับใบชา เพื่อใช้เป็นยากระตุ้นประสาท ใบและลำต้นอ่อนใช้เคี้ยวกับกัมหรือถั่วลิสงทอดเพื่อให้เคี้ยวง่าย ปัจจุบันมีการส่งออกไปยังอังกฤษ เวลส์ โรม อัมสเตอร์ดัม แคนาดา อิสราเอล ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์[4] และสหรัฐอเมริกา ในเยเมน การเคี้ยวคัตถือเป็นเรื่องปกติในการเข้าสังคมของผู้ชาย เ[5] และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางธุรกิจในการสนับสนุนการตัดสินใจ หญิงชาวเยเมนบางส่วนอาจเข้าร่วมการเคี้ยวคัตกับสามีในวันหยุดได้ ในประเทศอื่น นอกเหนือจากพื้นที่ที่มีการบริโภคสูง การเคี้ยวคัตมีในงานเลี้ยงหรืองานสังคมเป็นครั้งคราว เกษตรกรและผู้ใช้แรงงานใช้ลดความเหนื่อยล้าจากการทำงาน คนขับรถและนักเรียนใช้บรรเทาความง่วง

ห่อใบคัต

คัตเป็นที่นิยมในเยเมน การปลูกคัตใช้ทรัพยากรทางการเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศ น้ำราว 40% ของประเทศใช้ในการรดพืชชนิดนี้ [6] ด้วยผลผลิตที่เพิ่มขึ้นราว 10 - 15% ทุกปี ใบคัตหนึ่งถุงต่อวันต้องใช้น้ำราว 500 ลิตรในการผลิต [7] การใช้น้ำสูงมาก ระดับน้ำใต้ดินในซานาอาลดลง ทำให้รัฐบาลต้องอพยพประชาชนในซานาอาไปยังชายฝั่งทะเลแดง [5]

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีการปลูกคัตในเยเมนอย่างกว้างขวางเพราะให้รายได้สูง ในปี พ.ศ. 2544 ประมาณว่ารายได้จากการปลูกคัตคิดเป็น 2.5 ล้านเรียลเยเมนต่อเฮกตาร์ ระหว่าง พ.ศ. 2513 – 2543 พื้นที่ปลูกคัตเพิ่มจาก 8,000 เป็น 103,000 เฮกตาร์[8]

ต้นคัตใช้เวลาถึง 8 ปีในการโตเต็มที่ นอกจากแสงสว่างและน้ำแล้ว คัตต้องการการดูแลน้อยมาก พืชชนิดนี้ต้องรดน้ำมากเดือนละครั้งก่อนการเก็บเกี่ยวเพื่อให้แตกยอดที่อ่อนนิ่ม ต้นคัตเก็บเกี่ยวได้ปีละสี่ครั้ง

ชายเคี้ยวใบคัตในซานาอา ประเทศเยเมน เมื่อ พ.ศ. 2552

ผลกระทบต่อสุขภาพ

[แก้]
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตเวช เคมี เภสัชวิทยา นิติเวช ระบาดวิทยา และทางตำรวจได้วิเคราะห์สารเสพติด 20 ชนิด คัตอยู่ในอันดับ 17 ในการทำให้ติด อันดับที่ 20 ในอันตรายต่อร่างกายและสังคม [9]

การบริโภคคัตทำให้เกิดความรู้สึกสบายและตื่นเต้น คล้ายกับกาแฟเข้มข้น [2] ผลของการกินทางปากของแคทิโนนออกฤทธิ์เร็วกว่าผลของเม็ดยาแอมเฟตามีน คือประมาณ 15 นาที เมื่อเทียบกับแอมเฟตามีนที่เป็น 30 นาที คัตสามารถชักนำให้เกิดพฤติกรรมคลั่งไคล้ได้เช่นเดียวกับแอมเฟตามีน [10] การใช้คัตทำให้เกิดอาการท้องผูก เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือด

อาการถอนยาของคัตได้แก่ภาวะซึมเศร้าและหงุดหงิด ฝันร้าย ร่างกายสั่นเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากการใช้คัตเป็นเวลานาน ส่งผลเสียต่อการทำงานของตับ ฟันดำ ความต้องการทางเพศลดลง ไม่มีหลักฐานว่าคัตส่งผลกระทบต่อจิตใจ[11]

ผลกระทบ:[12]: 6–13 

ผลกระทบระยะสั้น:

  • ความตื่นตัว[12]: 6 
  • ความเร้าอารมณ์[12]: 5 
  • ความเชื่อมั่น[12]: 6 
  • อาการท้องผูก[12]: 9 
  • รู้สึกสบาย[2]
  • รู้สึกเป็นมิตร[12]: 7 
  • เพิ่มความดันเลือด[2][12]: 6 
  • เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ[2][12]: 5 
  • นอนไม่หลับ[12]: 7 
  • ระงับความอยากอาหาร[12]: 8 
  • ช่างพูด[12]: 8 
  • ความคิดผิดปกติ[12]: 9 

ผลกระทบระยะยาว:

  • ภาวะซึมเศร้า [12]: 10 
  • เกิดภาพหลอนเป็นครั้งคราว[2][12]: 10 
  • ขาดการยับยั้งชั่งใจ (คล้ายแอลกอฮอล์)[12]: 10 [13]
  • เพิ่มความเสี่ยงของหัวใจวาย[12]: 10 [14]
  • โรคจิต โดยขึ้นกับพันธุกรรม [2][12]: 11 
  • มะเร็งในช่องปาก[15][16]

ผลกระทบเฉียบพลัน:

  • เสียชีวิต[12]: 12 [17]
  • โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (การอุดตันของหลอดเลือดแดง)[note 1][12]: 12 [17]

เคมีและเภสัชวิทยา

[แก้]
โครงสร้างของแคทิโนน

ฤทธิ์การกระตุ้นของคัตเดิมเชื่อว่าเป็นผลมาจากสารที่เรียก กาติน (katin) แคทีน (cathine) ซึ่งเป็นสารประกอบฟีเนทิลเอมีนที่แยกได้จากพืช นอกจากนั้น สารสกัดจากใบสดของพืชยังมีสารประกอบอื่นๆ ที่ออกฤทธิ์ได้มากกว่าแคทีน ใน พ.ศ. 2518 ได้แยกอัลคาลอยด์ที่เรียกแคทิโนน ซึ่งไม่ได้คงตัวมากและสลายตัวกลายเป็นแคทีนและนอร์ฟีดรีน สารเคมีเหล่านี้อยู่ในกลุ่มฟีนิลโพรพาโนลามีน ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของฟีเนทิลลามีน ซึ่งใกล้เคียงกับแอมเฟตามีนและแคทีโคเอมีน อีพิเนฟพริน และนอร์อีพิเนฟพริน [11] ที่จริงแล้ว แคทิโนนและแคทีนมีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายกันแอมเฟตามีน[18] บางครั้งคัตจะสับสนกับเมทแคทิโนน หรือที่เรียกว่าแคต ซึ่งเป็นสารที่มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายกับแคทิโนน แต่ฤทธิ์ในการเสพติดของเมทแคทิโนนจะแรงกว่าการใช้คัต [19]

เมื่อใบคัตแห้ง แคทิโนนสลายตัวไปภายใน 48 ชั่วโมง เหลือเพียงแคทีน การขนส่งคัตที่เก็บเกี่ยวแล้วด้วยการห่อใบและกิ่งก้านในถุงพลาสติกหรือการห่อด้วยใบตองช่วยรักษาความชื้นและทำให้แคทิโนนคงเหลืออยู่ และยังมีการพรมน้ำหรือแช่เย็นระหว่างขนส่งด้วย

การควบคุม

[แก้]

ใน พ.ศ. 2508 คณะผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการผลิตยาเสพติดขององค์การอนามัยโลกได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับคัต การเสพติดพืชชนิดนี้เป็นปัญหาในแต่ละบริเวณ และควรมีการควบคุม [20] ต่อมา ใน พ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้จัดให้เป็นพืชเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตใจในระดับอ่อนถึงปานกลาง (น้อยกว่ายาสูบและแอลกอฮอล์)[21] แม้ว่าองค์การอนามัยโลกไม่ได้พิจารณาว่าคัตเป็นยาเสพติดระดับรุนแรง[2] แต่ก็เป็นพืชที่ผลกฎหมายในบางประเทศ ในขณะที่บางประเทศสามารถผลิตและขายได้อย่างถูกกฎหมาย [22]

แอฟริกา

[แก้]

เอธิโอเปีย

[แก้]

คัตถูกกฎหมายในเอธิโอเปีย[23]

โซมาเลีย

[แก้]

คัตถูกกฎหมายในโซมาเลีย[23]

จิบูตี

[แก้]

คัตถูกกฎหมายในจิบูตี[24]

เคนยา

[แก้]

คัตถูกกฎหมายในเคนยา แต่สารออกฤทธิ์สองชนิดคือคาทิโนนและแคทีนเป็นสารเสพติดประเภทซี [25]

แอฟริกาใต้

[แก้]

ในแอฟริกาใต้ คัตถือเป็นพืชอนุรักษ์[26]

ยูกันดา

[แก้]

คัตหรือมิราอาถูกกฎหมายในยูกันดา แต่มีความพยายามจะคว่ำบาตร[27]

เอเชีย

[แก้]

จีน

[แก้]

คัตผิดกฎหมายในจีน[28]

อินโดนีเซีย

[แก้]

คัตถูกกฎหมายในอินโดนีเซีย[ต้องการอ้างอิง]

มาเลเซีย

[แก้]

คัตผิดกฎหมายในมาเลเซีย[ต้องการอ้างอิง]

ฟิลิปปินส์

[แก้]

คัตผิดกฎหมายในฟิลิปปินส์ [ต้องการอ้างอิง]

ซาอุดิอาระเบีย

[แก้]

คัตผิดกฎหมายในซาอุดิอาระเบีย[29]

ไทย

[แก้]

คัตถูกกฎหมายในไทย แต่สารออกฤทธิ์สองชนิดคือคาทิโนนและแคทีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 1 และประเภท 2 ตามลำดับ [30][ต้องการอ้างอิง]

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

[แก้]

คัตผิดกฎหมายในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[ต้องการอ้างอิง]

ยุโรป

[แก้]

เดนมาร์ก

[แก้]

คัตผิดกฎหมายในเดนมาร์กตั้งแต่ พ.ศ. 2536 [31]

ฟินแลนด์

[แก้]

คัตเป็นยาเสพติดผิดกฎหมายในฟินแลนด์ [32] การใช้และขายถือว่าผิดกฎหมาย ผู้ขับขี่รถที่ตรวจพบเมทาบอไลท์ของคัตในระบบใดระบบหนึ่งของร่างกายมีความผิด

โรมาเนีย

[แก้]

คัตผิดกฎหมายในโรมาเนีย [ต้องการอ้างอิง]

สวีเดน

[แก้]

ยาเสพติดชนิดนี้ถูกห้ามใช้ในสวีเดนตั้งแต่ พ.ศ. 2532 [31]

ฝรั่งเศส

[แก้]

คัตถูกห้ามใช้เป็นสารกระตุ้นในฝรั่งเศส [11]

โอเชียเนีย

[แก้]

นิวซีแลนด์

[แก้]

ในนิวซีแลนด์ คัตจัดเป็นยาเสพติดระดับซี ในระดับเดียวกับกัญชาและcodeine.[33]

อเมริกาใต้

[แก้]

ในอเมริกาใต้ ไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับคัต

การวิจัย

[แก้]

ใน พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยมินนิโซตาได้จัดโปรแกรมวิจัยเรื่องคัต ซึ่งเป็นโปรแกรมการวิจัยและการฝึกอบรมเชิงบูรณาการ [34] เน้นที่ผลกระทบต่อพฤติกรรมทางประสาทและสุขภาพของคัต นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. มุสตาฟา อัลอับซี โดยได้ทุนสนับสนุนจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสถาบันยาเสพติดแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา [35] โปรแกรมวิจัยเรื่องคัตนี้ดำเนินการที่ชาร์มเอลชิก อียิปต์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 [36] โดยร่วมมือกับองค์กรวิจัยสมองนานาชาติและหน่วยงานท้องถิ่น

หมายเหตุ

[แก้]
  1. either from impaired insight into symptoms by the khat chewer, delay to care, or poorly understood pathophysiological mechanisms

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dickens, Charles (1856) [Digitized February 19, 2010]. "The Orsons of East Africa". Household Words: A Weekly Journal, Volume 14. Bradbury & Evans. p. 176. สืบค้นเมื่อ 9 January 2014. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Free eBook)
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 Al-Mugahed, Leen (2008). "Khat Chewing in Yemen: Turning over a New Leaf: Khat Chewing Is on the Rise in Yemen, Raising Concerns about the Health and Social Consequences". Bulletin of the World Health Organization. 86 (10): 741–2. doi:10.2471/BLT.08.011008. PMC 2649518. PMID 18949206. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 9 January 2014.
  3. "Catha edulis". Plantzafrica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-22. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
  4. Simon, O'Rourke (13 December 2006). "Concerns over African methamphetamine-like drug in Hamilton". The New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 12 October 2011.
  5. 5.0 5.1 Kirby, Alex (7 April 2007). "Yemen's khat habit soaks up water". BBC News. สืบค้นเมื่อ 26 January 2014.
  6. Marshall, Tim (15 January 2010). "Sky News report on Yemen's Qat". Sky News. สืบค้นเมื่อ 4 April 2010.
  7. Filkins, Dexter (11 April 2011). "After the Uprising". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ 5 April 2011.
  8. The Encyclopedia of Yemen (ภาษาอาหรับ) (2nd ed.). Alafif Cultural Foundation. 2003. pp. 2309–2314. {{cite encyclopedia}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  9. Nutt, D; King, LA; Saulsbury, W; Blakemore, C (24 March 2007). "Development of a rational scale to assess the harm of drugs of potential misuse". Lancet (London, England). 369 (9566): 1047–53. PMID 17382831.
  10. 10.0 10.1 Peter, Kalix. (1983), "The Pharmacology of Khat and of the Khat Alkaloid Cathinone", ใน Randrianame, M.; Szendrei, K.; Tongue, A. (บ.ก.), The Health and Socioeconomic Aspects of Khat Use, Lausanne, Switzerland: Intl. Council on Drug and Addictions, pp. 140–143
  11. 11.0 11.1 11.2 Drugs.com (1 January 2007). "Complete Khat Info".
  12. 12.00 12.01 12.02 12.03 12.04 12.05 12.06 12.07 12.08 12.09 12.10 12.11 12.12 12.13 12.14 12.15 12.16 12.17 12.18 12.19 Al Zarouni, Yousif (2015). The Effects of Khat (Catha Edulis) (First ed.). London: Yousif Al Zarouni. ISBN 978-1-326-24867-3.
  13. "Long-term effects of chronic khat use: impaired inhibitory control". Frontiers in cognition. 12 January 2011. สืบค้นเมื่อ 17 January 2011.
  14. Al-Motarreb, A. L.; Broadley, K. J. (October–December 2003). "Coronary and aortic vasoconstriction by cathinone, the active constituent of khat". Autonomic & Autacoid Pharmacology. 23 (5–6): 319–26. doi:10.1111/j.1474-8673.2004.00303.x.
  15. "Khat - DrugInfo Clearinghouse". Druginfo.adf.org.au. 20 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-29. สืบค้นเมื่อ 28 July 2010.
  16. Hassan, Nageeb; Gunaid, Abdullah; Murray-Lyon, Iain. "British-Yemeni Society: The impact of khat-chewing on health: a re-evaluation". Al-bab.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-07. สืบค้นเมื่อ 28 July 2010.
  17. 17.0 17.1 Mateen, F. J.; Cascino, G. D. (November 2010). "Khat Chewing: A smokeless gun?". Mayo Clinic Proceedings. 85 (11): 971–3. doi:10.4065/mcp.2010.0658. PMC 2966359. PMID 21037041.
  18. Cox, G. (2003). "Adverse effects of khat: a review". Advances in Psychiatric Treatment. 9 (6): 456–63. doi:10.1192/apt.9.6.456.
  19. "DF - Khat". Drugfree.org. สืบค้นเมื่อ 26 January 2014.
  20. "World Health Organization Expert Committee on Dependence-producing Drugs: Fourteenth Report". United Nations Office of Drugs and Crime. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2003.
  21. Nutt, D.; King, L.A.; Saulsbury, C.; Blakemore, Colin (March 2007). "Development of a rational scale to assess the harm of drugs of potential misuse". Lancet. 369 (9566): 1047–53. doi:10.1016/S0140-6736(07)60464-4. PMID 17382831. S2CID 5903121.
  22. see Law Library of Congress (May 2015) Legal status of khat in selected jurisdictions
  23. 23.0 23.1 Manghi, Rita Annoni; Broers, Barbara; Khan, Riaz; Benguettat, Djamel; Khazaal, Yasser; Zullino, Daniele Fabio (2009). "Haight-Ashbury Free Medical Clinic". Journal of Psychoactive Drugs. 41 (1): 1–10. doi:10.1080/02791072.2009.10400669. PMID 19455904. S2CID 30637165.
  24. Thomson Gale (Firm), Countries of the World and Their Leaders Yearbook 2007, Volume 1, (Thomson Gale: 2006), p.545.
  25. "SAPTA - Khat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2012.
  26. "Protected Trees" (PDF). Department of Water Affairs and Forestry, Republic of South Africa. 3 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 July 2010.
  27. Barasa, Lucas (19 October 2015). "Miraa farmers seek Uhuru's help to open Uganda, Tanzania markets for stimulant" (PDF). Newspaper. The Daily nation. p. 24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-24. สืบค้นเมื่อ 23 December 2015.
  28. "Visitors Please Do Not Carry Khat into China". May 4, 2014.
  29. "Khat (catha edulis)". Ekhat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ 29 June 2013.
  30. http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=3185[ลิงก์เสีย]
  31. 31.0 31.1 "Khat:Social harms and legislation" (PDF). สืบค้นเมื่อ 26 March 2015.
  32. "Khat use on the increase in Finland". HELSINGIN SANOMAT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 23 May 2011.
  33. "Misuse of Drugs Act 1975 No 116". legislation.govt.nz. July 2014. สืบค้นเมื่อ 17 March 2015.
  34. "al'Absi Launches the Khat Research Program" (Press release). Med.umn.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2009. สืบค้นเมื่อ 4 April 2010.
  35. "KRP". Khatresearch.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-13. สืบค้นเมื่อ 4 April 2010.
  36. "KRP Symposium". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2010.
  • จารุพันธ์ ทองแถม. พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555