ข้ามไปเนื้อหา

คาตากานะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Katakana)
คาตากานะ
ชนิด
ช่วงยุค
ประมาณ พ.ศ. 1343 (ค.ศ. 800)–ปัจจุบัน
ทิศทางแนวตั้งขวาไปซ้าย, ซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาญี่ปุ่น
ภาษาโอกินาวะ
ภาษาไอนุ[1]
ภาษาปาเลา[2]
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบพี่น้อง
ฮิรางานะ, เฮ็นไตงานะ
ISO 15924
ISO 15924Kana (411), ​Katakana
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Katakana
ช่วงยูนิโคด
U+30A0–U+30FF
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

คาตากานะ (ญี่ปุ่น: 片仮名, カタカナ, かたかなโรมาจิkatakana) เป็นตัวอักษรสำหรับแทนเสียงในภาษาญี่ปุ่นประเภทหนึ่ง และสามารถนำไปเขียนแทนเสียงภาษาต่างประเทศได้เช่นกัน คาตากานะได้รับการนำไปเขียนภาษาไอนุซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยอยู่ทางภาคเหนือของเกาะฮกไกโด

การใช้

[แก้]

คาตากานะมีสัญลักษณ์ 48 ตัว ในยุคแรกรู้จักในนาม การเขียนของผู้ชาย คาตากานะใช้กับคำยืมที่ไม่ได้มาจากภาษาจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งการเลียนเสียง ชื่อจากภาษาอื่น การเขียนโทรเลข และการเน้นคำ (แบบเดียวกับการใช้อักษรตัวใหญ่ในภาษาอังกฤษ) ก่อนหน้านั้นคำยืมทั้งหมดเขียนด้วยคันจิ ใช้ในหลายกรณี ได้แก่

  • ใช้เขียนคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ ชื่อชาวต่างประเทศ และชื่อสถานที่ในต่างประเทศซึ่งเป็นวิสามานยนาม เช่น ホテル (โฮเตรุ หรือ Hotel (โรงแรม))
  • ใช้เขียนคำซึ่งเลียนเสียงในธรรมชาติ เช่น ワン ワン (วังวัง เสียงเห่าของสุนัข)
  • ใช้เขียนชื่อญี่ปุ่น (和名) ของสัตว์และแร่ธาตุ เช่น カルシウム (คารูชิอุมุ หรือ แคลเซียม)
  • ใช้ในเอกสารใช้ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (ใช้ร่วมกับตัวอักษรคันจิ)
  • ใช้ในโทรเลข และระบบคอมพิวเตอร์ในช่วงก่อนเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 ซึ่งยังไม่มีการใช้ระบบตัวอักษรหลายไบต์ (เช่น ยูนิโคด)

ที่มา

[แก้]
ที่มาของคาตากานะจากอักษรจีน

ตัวอักษรคาตากานะนั้นสร้างขึ้นในยุคเฮอัง (平安時代) โดยนำมาจากส่วนหนึ่งของตัวคันจิพัฒนามาจาก อักษรจีนที่ใช้โดยพระภิกษุเพื่อแสดงการออกเสียงอักษรจีนที่ถูกต้องเมื่อประมาณ พ.ศ. 1400 ในช่วงแรกมีสัญลักษณ์หลายตัวที่แสดงเสียงเดียวกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป อักษรถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น ราว พ.ศ. 1900 มีสัญลักษณ์ 1 ตัว ต่อ 1 พยางค์เท่านั้น คำว่า คาตากานะ หมายถึงอักษรพยางค์ที่เป็นส่วน (ของคันจิ)

ตารางคาตากานะ

[แก้]
สระและพยัญชนะ yōon
อะ อิ อุ เอะ โอะ ยะ ยุ โยะ
คะ คิ คุ เคะ โคะ キャ เคียะ (คฺยะ) キュ คิว (คฺยุ) キョ เคียว (โคฺยะ)
ซะ ชิ ซุ เซะ โซะ シャ ชะ シュ ชุ ショ โชะ
ทะ ท๎ชิ ท๎สึ เทะ โทะ チャ ท๎ชะ チュ ท๎ชุ チョ โท๎ชะ
นะ นิ นุ เนะ โนะ ニャ เนียะ (นฺยะ) ニュ นิว (นฺยุ) ニョ เนียว (โนฺยะ)
ฮะ ฮิ ฟุ, ฮุ เฮะ โฮะ ヒャ เฮียะ (ฮฺยะ) ヒュ ฮิว (ฮฺยุ) ヒョ เฮียว (โฮฺยะ)
มะ มิ มุ เมะ โมะ ミャ เมียะ (มฺยะ) ミュ มิว (มฺยุ) ミョ เมียว (โมฺยะ)
ยะ ยิ1 ยุ เยะ1 โยะ
ระ ริ รุ เระ โระ リャ เรียะ (รฺยะ) リュ ริว (รฺยุ) リョ เรียว (โรฺยะ)
วะ (ヰ) ウィ วิ วุ1 (ヱ) ウェ เวะ (ヲ) ウォ โวะ
อึง
กะ กิ กุ เกะ โกะ ギャ เกียะ (กฺยะ) ギュ กิว (กฺยุ) ギョ เกียว (โกฺยะ)
ด๎สะ ด๎ชิ ด๎สุ เด๎สะ โด๎สะ ジャ ด๎ชะ ジュ ด๎ชุ ジョ โด๎ชะ
ดะ ด๎ชิ ด๎สึ เดะ โดะ ヂャ ด๎ชะ ヂュ ด๎ชุ ヂョ โด๎ชะ
บะ บิ บุ เบะ โบะ ビャ เบียะ (บฺยะ) ビュ บิว (บฺยุ) ビョ เบียว (โบฺยะ)
พะ พิ พุ เพะ โพะ ピャ เพียะ (พฺยะ) ピュ พิว (พฺยุ) ピョ เพียว (โพฺยะ)
(ヷ) ヴァ va “bwa” บ๎วะ (ヸ) ヴィ vi “bwi” บ๎วิ vu “bwu” บ๎วุ (ヹ) ヴェ ve “bwe” เบ๎วะ (ヺ) ヴォ vo “bwo” โบ๎วะ ヴャ vya “bwya” บ๎วฺฺยะ ヴュ vyu “bwyu” บ๎วฺยุ ヴョ vyo “Bwyo” โบ๎วฺยะ
ジェ เด๎ชะ
シェ เชะ
チェ เท๎ชะ
ティ ทิ トゥ ทุ テュ ทิว (ทฺยุ)
ディ ดิ ドゥ ดุ デュ ดิว (ดฺยุ)
ツァ ท๎สะ ツィ ท๎สิ ツェ เท๎สะ ツォ โท๎สะ
ファ ฟะ フィ ฟิ フェ เฟะ フォ โฟะ フュ ฟิว (ฟฺยุ)
1 ยุคเมจิตอนต้นมีการเสนอให้ใช้คาตากานะ แต่การเสนอก็ตกไป [3]

ยูนิโคด

[แก้]
คะตะกะนะ
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+30Ax
U+30Bx
U+30Cx
U+30Dx
U+30Ex
U+30Fx


คะตะกะนะ ส่วนขยายสัทลักษณ์
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+31Fx


อ้างอิง

[แก้]
  1. ดูที่: หน้านี้ ที่ alanwood.net และ หัวข้อนี้ คุณสมบัติของยูนิโค้ด
  2. Thomas E. McAuley, Language change in East Asia, 2001:90
  3. 「いろは と アイウエオ」 (ญี่ปุ่น)