ราชวงศ์กากตียะ
ราชวงศ์กากตียะ | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1163[1]–1323 | |||||||||||||||||||
แผนที่ของชาวกากตรยะ ประมาณปี ค.ศ. 1150–1300[2] | |||||||||||||||||||
สถานะ | ราชวงศ์ | ||||||||||||||||||
เมืองหลวง | โอรุคัลลุ (วรังคัล) | ||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | เตลูกู สันสกฤต กันนาดา[3][4] | ||||||||||||||||||
ศาสนา | ศาสนาฮินดู (เดิมศาสนาเชน)[5] | ||||||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||||||||
กษัตริย์ | |||||||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||||||
• ผู้นำคนแรก ๆ | ป. 800 | ||||||||||||||||||
• ก่อตั้ง | 1163[1] | ||||||||||||||||||
• สิ้นสุด | 9 พฤศจิกายน 1323 | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | อินเดีย |
ราชวงศ์กากตียะ (IAST: Kākatīya, อักษรเทวนาครี: काकतीय; เตลูกู: కాకతీయులు; กันนาดา: ಕಾಕತೀಯ) เป็นราชวงศ์เตลูกูที่ปกครองส่วนใหญ่ของที่ราบเดกกันตะวันออกในบริเวณที่ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินเดียระหว่างศตวรรษที่ 12-14[6] มีอาณาเขตครอบคลุมที่ปัจจุบันคือส่วนใหญ่ของรัฐเตลังคานาและรัฐอานธรประเทศ ตลอกจนบางส่วนของรัฐกรณาฏกะ, รัฐทมิฬนาฑูตอนเหนือ และรัฐโอฑิศา[7][8] มีราชธานีคือโอรุคัลลุ (Orugallu) หรือชื่อในปัจจุบันคือวรังคัล
ผู้นำกากตียะรุ่นแรก ๆ มีบทบาทเป็นรัฐฟิวดอลภายใต้ราษฏรกูฏและจาลุกยะตะวันตกนานกว่าสองศตวรรษ ก่อนจะได้รับเอกราชในรัชสมัยของปรตาปรุทร ที่หนึ่ง ในปี 1163[9] คณปตีเทวะ (ครองราชย์ 1199–1262) ได้ขยายอาณาเขตของกากตียะครั้งใหญ่ในระหว่างทศวรรษ 1230 ซึ่งรวมดินแดนปากแม่น้ำโกทาวรีและกฤษณะมาอยู่ในปกครองของกากตียะ กษัตริย์คนถัดมา รุทรามเทวี (ครองราชย์ 1262–1289) เป็นราชินีไม่กี่คนในประวัติศาสตร์ เมื่อครั้นมาร์โกโปโลเดินทางเยือนอินเดียในประมาณปี 1289–1293 เขาได้บันทึกถึงการปกครองและธรรมชาติของรุทรามเทวีในเชิงชื่นชมและเชิดชู ในรัชสมัยของเธอยังสามารถรบชนะยาฑวะจากเทวคีรีที่เข้ามารุกรานได้สำเร็จ[9]
ในปี 1303 อะลาอูดดีน ขาลจี จักรพรรดิแห่งรัฐสุลต่านเดลีรุกรานเขตแดนของกากตียะเป็นครั้งแรก แต่ปราชัยให้แก่กากตียะ[a] กระนั้นในปี 1310 การล้อมนครวรังคัลในรัชสมัยปรตาปรุทรที่สองทำให้กากตียะต้องกลายเป็นรัฐส่งบรรณาการแก่เดลี ในปี 1323 อูลุฆ ข่าน เข้ารุกรานกากตียะและชนะ การล่มสลายของกากตียะนำไปสู่ความโกลาหลและการช่วงชิงบัลลังก์จากคนนอกอยู่สักพัก กระทั่งราชวงศ์มุสุนุรีนายกผนวกบรรดาเผ่าและแคว้นเตลูกูเข้าไว้ด้วยกันและยึดคืนนครวรังคัลจากรัฐสุลต่านเดลีได้สำเร็จ[10]
กากตียะได้รวบรวมบรรดาวัฒนธรรมจากที่สูงและที่ราบของดินแดนเตลูกูเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งนำมาสู่ความรู้สึกเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันระหว่างบรรดาชนผู้พูดภาษาเตลูกู ในสมัยกากตียะยังมีการสร้างระบบชลประทานในแถบบที่ราบสูงที่ยังคงมีใช้บางส่วนในปัจจุบัน กากตียะมีความง่ายในการเลื่อนลำดับขั้นทางสังคมอย่างมาก ไพร่คนหนึ่งสามารถสมัครเป็นทหารและไต่เต้าด้วยความสามารถขึ้นเป็นผู้มีชั้นทางสังคม ในเชิงวัฒนธรรม กากตียะมีการพัฒนาสถาปัตยกรรมรูปแบบของตนเองขึ้นจากวัฒนธรรมต่าง ๆ[11] ดังที่ปรากฏในเทวาลัยพันเสาที่หนัมโกณฑะ, รามัปปเทวาลัย, ป้อมวรังคัล, ป้อมโคลกณฑะและ โกฏคุลลุ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sharma (1957, p. 234): "Vennama, the son of Dāma, led his troops in a defeat of the Turks very probably during Ala-ud-din Khalji's first invasion of Telangana in 1303. This success against the Turkish arms took place in the battle of Upparapalli, where Potuganti Maili is said to have put the enemies to flight."
- ↑ Talbot 2001, p. 26.
- ↑ Schwartzberg, Joseph E. (1978). A Historical Atlas of South Asia. Chicago: University of Chicago Press. p. 147, map XIV.3 (b). ISBN 0226742210.
- ↑ Rao 1993, p. 22.
- ↑ Precolonial India in Practice Society, Region, and Identity in Medieval Andhra. Oxford University Press. 20 September 2001. ISBN 978-0-19-803123-9.
The Kakatiyas first issued inscriptions in Kannada that were very closely modelled on those of their imperial overlords, the Chalukyas of Kalyani
- ↑ Sastry 1978, p. 25.
- ↑ Dr. Mamidi, Harikrishna (2023-10-19). "Rise and fall of Kakatiyas, turning point in Indian history". Telangana Today (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-19. สืบค้นเมื่อ 2023-10-30.
- ↑ Ventakaramanayya 1942, pp. 1–2.
- ↑ For a map of their territory see: Schwartzberg, Joseph E. (1978). A Historical atlas of South Asia. Chicago: University of Chicago Press. p. 147, map XIV.3 (b). ISBN 0226742210.
- ↑ 9.0 9.1 T. V., Mahalingam (1957). Seuna-Kakatiya. p. 150.
- ↑ Talbot 2001, p. 178; Eaton 2005, pp. 26–27; Chattopadhyaya 1998, pp. 57–59
- ↑ Singh, B. Satyanarayana (1999). The Art and Architecture of the Kākatīyas (ภาษาอังกฤษ). Bharatiya Kala Prakashan. pp. 33, 65. ISBN 978-81-86050-34-7.
บรรณานุกรม
[แก้]- Asher, Catherine B.; Talbot, Cynthia, บ.ก. (2006), "The expansion of Turkic power, 1180–1350", India before Europe, Cambridge University Press, ISBN 978-0-52180-904-7
- Chakravarti, Ranabir (1991), "Horse Trade and Piracy at Tana (Thana, Maharashtra, India): Gleanings from Marco Polo", Journal of the Economic and Social History of the Orient, 34 (3): 159–182, doi:10.2307/3632243, JSTOR 3632243
- Chattopadhyaya, B. D. (1998), Representing the Other? Sanskrit Sources and the Muslims, New Delhi: Manohar, ISBN 978-8173042522
- Desai, V. R. M. (1962), "Savings in Ancient Hindu Polity", The Indian Journal of Political Science, 23 (1/4): 268–276, JSTOR 41853935
- Eaton, Richard M. (2005), A Social History of the Deccan: 1300–1761, Cambridge University Press, ISBN 978-0-52125-484-7
- Jackson, Peter (2003), The Delhi Sultanate: A Political and Military History (Reprinted ed.), Cambridge University Press, ISBN 978-0-52154-329-3
- Kalia, Ravi (1994), Bhubaneswar: From a Temple Town to a Capital City, Southern Illinois University Press
- Kulke, Hermann; Rothermund, Dietmar, บ.ก. (2004) [1986], A History of India (4th ed.), Routledge, ISBN 978-0-41532-920-0
- Prasad, G. Durga (1988), History of the Andhras up to 1565 A. D. (PDF), Guntur: P. G. Publishers
- Rao, S. Nagabhushan, บ.ก. (1993). Cultural Heritage of the Kakatiyas: A Medieval Kingdom of South India. Warangal: District Council for Cultural Affairs.
- Rao, P. (1994), History and Culture of Andhra Pradesh, Sterling
- Rao, Velcheru Narayana (2003), "Court, Temple, and Public", ใน Pollock, Sheldon (บ.ก.), Literary Cultures in History: Reconstructions from South Asia, University of California Press
- Rao, Velcheru Narayana; Shulman, David, บ.ก. (2002), Classical Telugu Poetry: An Anthology, University of California Press
- Rao, Velcheru Narayana; Shulman, David (2012), Srinatha: The Poet Who Made Gods and Kings, Oxford University Press
- Rubiés, Joan-Pau (2000), Travel and Ethnology in the Renaissance: South India through European Eyes, 1250–1625, Cambridge University Press
- Sastry, P. V. Parabhrama (1978). N. Ramesan (บ.ก.). The Kākatiyas of Warangal. Hyderabad: Government of Andhra Pradesh. OCLC 252341228.
- N. Venkataramanayya; P. V. P. Sastry (1957). "The Kākatīyas". ใน Sharma, R.S. (บ.ก.). A Comprehensive history of India: A.D. 985–1206. Vol. 4 (Part 1) (1987 reprint ed.). Indian History Congress / People's Publishing House. ISBN 978-81-7007-121-1.
- Sircar, D. C. (1979), Some Epigraphical Records of the Medieval Period from Eastern India, Abhinav Publications, ISBN 978-8-17017-096-9
- Sircar, D. C. (2008) [1968], Studies in Indian Coins (Reprinted ed.), Motilal Banarsidass, ISBN 978-8-12082-973-2
- Subrahmanyam, Sanjay (1998), "Hearing Voices: Vignettes of Early Modernity in South Asia, 1400–1750", Daedalus, 127 (3): 75–104, JSTOR 20027508
- Suryanarayana, Kolluru (1986), History of the Minor Chaḷukya Families in Medieval Andhradesa, B. R. Publishing, ISBN 978-8-17018-330-3
- Talbot, Austin Cynthia (2001), Pre-colonial India in Practice: Society, Region, and Identity in Medieval Andhra, Oxford University Press, ISBN 978-0-19803-123-9
- Ventakaramanayya, N. (1942), The Early Muslim Expansion in South India, University of Madras
- Venkataramanayya, N.; Sarma, M. Somasekhara (1960). "The Kakatiyas of Warangal". ใน Yazdani, Ghulam (บ.ก.). The Early History of the Deccan Parts VII–XI. Vol. VIII: Yādavas of Seuṇadeśa. Oxford University Press. ISBN 9788170691259. OCLC 59001459.