โจนาธาน ไอฟ์
โจนี ไอฟ์ | |
---|---|
เกิด | โจนาธาน พอล ไอฟ์ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 ลอนดอน สหราชอาณาจักร |
พลเมือง | สหราชอาณาจักร สหรัฐ |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยสารพัดช่างนิวคาสเซิล |
อาชีพ | นักออกแบบเชิงอุตสาหกรรม |
คู่สมรส | เฮเทอร์ เพ็ก (สมรส 1987) |
บุตร | 2 คน |
เซอร์ โจนาธาน พอล ไอฟ์ (อังกฤษ: Sir Jonathan Paul Ive) หรือ โจนี ไอฟ์ (Jony Ive)[2] (เกิด 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967) เป็นอดีตประธานฝ่ายการออกแบบของบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ และเป็นผู้ร่วมออกแบบหลายผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล ได้แก่ ไอแมค ไอพอด ไอโฟน และไอแพด
ไอฟ์เกิดที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่ออายุได้ 12 ปี ครอบครัวเขาย้ายไปอยู่ที่เมืองสแตฟฟอร์ด ไอฟ์เรียนด้านการออกแบบที่วิทยาลัยสารพัดช่างนิวคาสเซิล (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยนอร์ทัมเบรีย)[3] หลังจากนั้นเขาทำงานที่บริษัทแทงเจอรีน วิสาหกิจเริ่มต้นเกี่ยวกับงานออกแบบในลอนดอน[4] ก่อนจะร่วมงานกับแอปเปิลช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ไอฟ์มีส่วนในการออกแบบพาวเวอร์บุ๊กและแมคอินทอช เขากลายเป็นบุคคลสองสัญชาติ (บริติช-อเมริกัน) เมื่อได้รับสัญชาติอเมริกันในปี ค.ศ. 2012[5] ในปี ค.ศ. 2017 ไอฟ์ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีราชวิทยาลัยศิลปะ[6] ต่อมาในปี ค.ศ. 2019 เขาประกาศลาออกจากแอปเปิลเพื่อไปก่อตั้งบริษัทตัวเองชื่อ LoveFrom ร่วมกับนักออกแบบเชิงอุตสาหกรรมมาร์ก นิวสัน[7][8]
จากความสำเร็จในด้านการออกแบบ ไอฟ์ได้รับรางวัลและเกียรติยศจำนวนมาก เช่น Royal Designers for Industry (RDI) จากราชสมาคมศิลปะ[9] ภาคีสมาชิกกิตติมศักดิ์แห่งราชวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ (HonFREng)[10] และเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติชชั้น KBE[11]
ด้านชีวิตส่วนตัว ไอฟ์สมรสแล้วกับเฮเทอร์ เพ็ก มีบุตรด้วยกัน 2 คน[12] เขาไม่ค่อยเปิดเผยตัวต่อสาธารณชนมากนัก และมักยกผลงานการออกแบบให้เป็นของทีมงาน
ในปี ค.ศ. 2023 ไอฟ์เป็นผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Times, The Sunday (2019-05-12). "Rich List 2019: profiles 602-650, featuring Sting and Sir Rod Stewart" (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
- ↑ http://www.apple.com/macbookpro/
- ↑ "Sir Jonathan Ive". Northumbria University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-23. สืบค้นเมื่อ January 16, 2021.
- ↑ "Jony Ive, Apple designer who started career at tangerine, sets up studio". 2019-07-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-07-20.
- ↑ Parker, Ian (23 February 2015). "The Shape of Things to Come". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ 10 September 2016.
In 2012, He was knighted in Buckingham Palace; by then, he and his wife had become U.S. citizens, although they did not relinquish their British passports.
- ↑ "Sir Jony Ive KBE Appointed Chancellor of the Royal College of Art". Royal College of Art. May 25, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-24. สืบค้นเมื่อ January 16, 2021.
- ↑ "iPhone designer Ive to leave Apple". BBC News. 27 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-27. สืบค้นเมื่อ 27 June 2019.
- ↑ "Jony Ive, iPhone designer, announces Apple departure | Financial Times". 2019-07-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-07-20.
- ↑ "RSA Current Royal Designers for Industry". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-02. สืบค้นเมื่อ 15 January 2017.
- ↑ "List of Fellows of the ROYAL Academy of Engineering". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-08. สืบค้นเมื่อ 2021-01-16.
- ↑ "Apple creative guru and Walton High School alumni knighted for services to design". Staffordshire Newsletter. Stafford. 30 พฤษภาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012.
- ↑ Sullivan, Robert (1 October 2014). "A Rare Look at Design Genius Jony Ive: The Man Behind the Apple Watch". Vogue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 November 2018.
- ↑ Coughlan, Sean (2023-02-10). "King Charles coronation logo created by iPhone designer". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-02-11.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โจนาธาน ไอฟ์
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ โจนาธาน ไอฟ์