เจสส์ กลินน์
เจสส์ กลินน์ | |
---|---|
กลินน์ขณะทำการแสดงที่เซาท์บายเซาท์เวสต์ในปี ค.ศ. 2015 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | เจสซิกา แฮนนาห์ กลินน์ |
เกิด | แฮมป์สเตด ลอนดอน สหราชอาณาจักร | 20 ตุลาคม ค.ศ. 1989
แนวเพลง | |
อาชีพ |
|
เครื่องดนตรี |
|
ช่วงปี | 2012–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | |
เว็บไซต์ | jessglynne |
เจสซิกา แฮนนาห์ กลินน์ (อังกฤษ: Jessica Hannah Glynne; เกิด 20 ตุลาคม ค.ศ. 1989) หรือชื่อในการแสดงว่า เจสส์ กลินน์ (อังกฤษ: Jess Glynne) เป็นนักร้อง และนักแต่งเพลงชาวอังกฤษเชื้อสายยิว เธอเริ่มต้นทำงานดนตรีจากการทำงานในบริษัทบริหารจัดการศิลปิน และได้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินกับสังกัดแบล็กบัตเตอร์เรเคิดส์และแอตแลนติกเรเคิดส์ กลินน์มีชื่อเสียงหลังจากเป็นศิลปินรับเชิญในเพลง "แรเทอร์บี" ของคลีนแบนดิต เพลง "มายเลิฟ" ของรูต 94 และเพลง "นอตเลตทิงโก" ของไทนี เทมพาห์ ซึ่งทั้งสามเพลงขึ้นอับดับ 1 บนชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับเพลงในอัลบั้มชุดแรกของเธอในปี ค.ศ. 2015 ไอครายเวนไอลาฟ ได้แก่ "โฮลด์มายแฮนด์" และ "โดนต์บีโซฮาร์ดออนยัวร์เซลฟ์" ทำให้กลินน์เป็นศิลปินหญิงเดี่ยวชาวอังกฤษคนที่สองหลังจากเชอรีล โคล ที่มีเพลงขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตในสหราชอาณาจักรถึงห้าเพลง ตัวอัลบั้มประสบความสำเร็จอย่างมากในสหราชอาณาจักร เปิดตัวที่อันดับ 1 บนชาร์ตอัลบั้ม นอกจากนี้กลินน์ยังทำงานเขียนเพลงให้กับศิลปินหลายคน
กลินน์ได้รับรางวัลแกรมมี ในสาขาบันทึกเสียงเพลงแดนซ์ยอดเยี่ยมแห่งปี จากผลงานเพลง "แรเทอร์บี" ที่เธอร้องร่วมกับคลีนแบนดิต และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลทั้งในยุโรปและนานาชาติในฐานะศิลปินเดี่ยวกับเพลง "โฮลด์มายแฮนด์" และศิลปินรับเชิญ
ประวัติ
[แก้]1989–2013: ชีวิตช่วงแรกและเริ่มต้นอาชีพนักร้อง
[แก้]เจสซิกา แฮนนาห์ กลินน์ เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1989 ที่โรงพยาบาลรอยัลฟรี ในหมู่บ้านแฮมป์สเตด และเติมโตที่มัสเวลล์ฮิลล์ ลอนดอนเหนือ เป็นบุตรสาวครอบครัวชาวยิว พ่อเป็นผู้แทนซื้อขายที่ดิน และแม่ทำงานในฝ่ายคัดสรรและพัฒนาศิลปิน กลินน์เข้าโรงเรียนอนุบาลที่สุเหร่ายิวในวูดไซด์พาร์ก และโรงเรียนประถมศึกษาที่โรดส์อเวนิว ก่อนจะเข้าโรงเรียนฟอร์ทิสเมียร์ในระดับมัธยมศึกษา[1] ระหว่างนั้นเธอได้ออดิชันหลายเวทีการประกวดรวมทั้งรายการดิเอ็กซ์แฟกเตอร์ ขณะอายุ 15 ปี แต่ไม่ผ่านเข้ารอบเนื่องจากเกิดการโต้แย้งกับโปรดิวเซอร์รายการ[2][3] กลินน์สำเร็จการศึกษาในระดับเอเมื่ออายุ 18 ปี เธอเริ่มทำงานในร้านทำผม ร้านขายเสื้อผ้า และฟิตเนสตามคำแนะนำของพ่อและแม่ และเดินทางท่องเที่ยวกับเพื่อน จนกระทั่งกลินน์ได้งานในบริษัทบริหารจัดการศิลปิน ทำให้เธอได้เรียนรู้การทำงานและตัดสินใจเป็นนักร้อง โดยแต่งเพลงเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตของตัวเอง และทำงานกับโปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลงเป็นระยะเวลาสี่ปี[1][3]
กลินน์ได้ศึกษาและจบหลักสูตรพัฒนาศิลปินที่แอคเซสทูมิวสิก วิทยาลัยดนตรีในลอนดอนตะวันออก สถานที่ที่เธอพบกับจินจิน นักแต่งเพลงชาวอังกฤษ และเบลสบีตส์ โปรดิวเซอร์เพลงชาติเดียวกัน ซึ่งต่อมาทั้งสามคนก็ได้ทำงานเพลงร่วมกัน[2][4][5] จนปี ค.ศ. 2013 หนึ่งในงานเพลงของกลินน์และจินจินได้รับความสนใจจากค่ายเพลงแบล็กบัตเตอร์เรเคิดส์ กลินน์จึงได้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินกับทางค่าย[6] โจ กอสซา ผู้บริหารร่วมของค่ายกล่าวถึงกลินน์ว่า "เสียงของเธอทำให้ผมประหลาดใจ [...] มันมีความพิเศษในตัว และเธอสามารถพูดถึงสิ่งต่าง ๆ ในทุกวันในทางที่ดีเลิศ"[7] และในเดือนสิงหาคม กลินน์ได้เซ็นสัญญากับสังกัตแอตแลนติกเรเคิดส์ เธอจึงออกจากงานบริหารตราสินค้าให้กับบริษัทเครื่องดื่มในเวลานั้น[1]
2013–14: ประสบความสำเร็จ
[แก้]ระหว่างปี ค.ศ. 2013 โปรดิวเซอร์เพลงแนวดีปเฮาส์ รูต 94 ได้ทาบทามให้กลินน์ช่วยเขียนเนื้อเพลงใหม่จากเดโม และร้องเสียงหลักแก่เพลง "มายเลิฟ" ของเขา[8] ซึ่งออกมาครั้งแรกในอัลบั้มรวมเพลง แอนนี แมก พรีเซนตส์ 2013 ของแอนนี แมก ดีเจชาวไอร์แลนด์ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013[9] กลินน์ถูกทาบทามอีกครั้งจาก คลีนแบนดิต วงดนตรีแนวอิเล็กทรอนิกส์ ให้ร้องรับเชิญในเพลง "แรเทอร์บี" หลังจากที่พวกเขาได้ฟังเสียงของเธอในเพลง "มายเลิฟ"[8] แจ็ก แพตเทอร์สัน สมาชิกในวง กล่าวว่า "ความละเอียดอ่อนอันแท้จริงของความรู้สึกอยู่ในเสียงของเธอ [...] คุณสามารถได้ยินความเปราะบางในตัวเธอ แต่ในเวลาเดียวกันมันเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง"[7]
หลังจากเพลง "มายเลิฟ" และ "แรเทอร์บี" ถูกออกมาเป็นซิงเกิล ทั้งสองเพลงเปิดตัวที่อันดับ 1 บนชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร[10][11] โดยเพลง "แรเทอร์บี" ทำยอดขายเร็วที่สุดเป็นอันดับสามและมียอดสตรีมมิงสูงที่สุด ทำให้มียอดขายสูงที่สุดเป็นอันดับสองในสหราชอาณาจักร ประจำปี ค.ศ. 2014 ด้วยยอดขายทั้งหมด 1.29 ล้านหน่วย[12] นอกจากนี้ยังขึ้นอันดับหนึ่งและห้าอันดับแรกบนชาร์ตซิงเกิลในยุโรปและเอเชีย รวมถึงขึ้นอันดับ 10 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100[13] กลินน์ได้รับรางวัลแกรมมีตัวแรกของเธอ ในสาขาบันทึกเสียงเพลงแดนซ์ยอดเยี่ยมแห่งปีจากเพลง "แรเทอร์บี" ร่วมกับคลีนแบนดิต[14] และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบริตอะวอดส์ ในสาขาซิงเกิลบริติชยอดเยี่ยม เช่นเดียวกับเพลง "มายเลิฟ" และรางวัลบีบีซีมิวสิกอวอดส์ ในสาขาเพลงแห่งปี[15][16]
2014–ปัจจุบัน: อัลบั้ม ไอครายเวนไอลาฟ
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 กลินน์ได้อัปโหลดมิวสิกวิดีโอสำหรับเพลง "โฮม" เพลงแรกในฐานะศิลปินเดี่ยวที่ถูกเผยแพร่จากการทำงานร่วมกับจินจินและเบลสบีตส์[2][17] และในเดือนกรกฎาคม "ไรต์เฮียร์" ซิงเกิลแรกของเธอออกจำหน่าย เปิดตัวบนชาร์ตสหราชอาณาจักรและอีกหลายประเทศ[18] ระหว่างกลางปีจนถึงปลายปี ค.ศ. 2014 กลินน์ทำการแสดงในหลายงานเทศการดนตรีที่สหราชอาณาจักร ได้แก่ แกลสตันบูรี, ซัมเมอร์ซีรีส์ทีตำหนักซัมเมอร์เซต, เบสติวัล, เลิฟบ็อกซ์, วีเฟสติวัล และไวร์เลสส์[3][19][20] และเริ่มแสดงทัวร์ทั่วสหราชอาณาจักรตั้งแต่เดือนตุลาคม เริ่มที่เมืองเชฟฟีลด์และสิ้นสุดที่อิเล็กทริกบริกซ์ตันในลอนดอน[21] เธอยังร่วมเขียนเพลงกับไทนี เทมพาห์, ริตา โอรา, รูดิเมนทัล, ลิตเทิลมิกซ์, อิกกี อะเซเลีย และเอ็มพอยท์โอ[2][22][23] และมีผลงานเพลงที่สองร่วมกับคลีนแบนดิตชื่อว่า "เรียลเลิฟ" ในฐานะศิลปินเจ้าของเพลงร่วม โดยเพลงออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน และเปิดตัวที่อันดับที่ 2 บนชาร์ต[24]
ซิงเกิลที่สองของกลินน์ "โฮลด์มายแฮนด์" ออกมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 เปิดตัวบนชาร์ตอันดับ 1 เป็นเวลาสามสัปดาห์ โดยเป็นเพลงอันดับหนึ่งเพลงแรกในฐานะศิลปินเดี่ยว และเข้าชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 เป็นครั้งที่สอง[25][26][27] ต่อมาในเดือนมิถุนายน เธอได้ร้องรับเชิญอีกครั้งในเพลง "นอตเลตทิงโก" ของแร็ปเปอร์ชาวอังกฤษ ไทนี เทมพาห์ เพลงเปิดตัวที่อันดับ 1 บนชาร์ต[10] กลินน์ได้รับการผ่าตัดติ่งเนื้อออกจากเส้นเสียงของเธอกับแพทย์ผู้เคยให้การรักษากับแซม สมิธ ทำให้เธอต้องยกเลิกหลายการแสดงอย่างกะทันหัน เช่น แกลสตันบูรี ไอสล์ออฟไวท์ และการแสดงร่วมทัวร์ของจอห์น เลเจนด์[7][28][29] ซิงเกิลต่อมา "โดนต์บีโซฮาร์ดออนยัวร์เซลฟ์" ออกมาในเดือนสิงหาคม และทำอันดับ 1 บนชาร์ตได้ กลินน์จึงเป็นศิลปินหญิงเดี่ยวชาวอังกฤษคนที่สองที่มีเพลงขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตสหราชอาณาจักรทั้งหมดห้าเพลงหลังจากเชอรีล โคล[30][31][32] และสัปดาห์ต่อมาเธอออกอัลบั้มเปิดตัวชื่อว่า ไอครายเวนไอลาฟ จากการทำงานร่วมกับจินจินและเบลสบีตส์ และโปรดิวเซอร์หลายคนอย่างนอติบอย น็อกซ์บราวน์ และสตาร์สมิธ[33][34] อัลบั้มเปิดตัวที่อันดับ 1 บนชาร์ตอัลบั้ม ทำยอดขายในสหราชอาณาจักรจำนวนมากจากการรับรองระดับทองคำขาว 3 ครั้งจากองค์กรตัวแทนอุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงอังกฤษ ส่วนบนชาร์ตบิลบอร์ด 200 อัลบั้มเข้าใน 30 อันดับแรก[35][36][37] ทัวร์คอนเสิร์ต เอนท์กอตฟาร์ทูโกทัวร์ ถูกจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมอัลบั้ม[38][39]
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 กลินน์ปรากฏตัวในรายการดิเอ็กซ์แฟกเตอร์ ฤดูกาลที่ 12 ในฐานะกรรการรับเชิญของทีมเชอรีล โคล ช่วงบ้านของผู้ตัดสิน[40] และในเดือนเดียวกันเธอเป็นผู้ดำเนินเรื่องภาพยนตร์สารคดีสั้นโดยนิตยสารไวซ์ เรื่อง เดอะบริตอินเวชัน เกี่ยวกับความรุ่งเรืองของดนตรีแนวอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ (อีดีเอ็ม) และบริติชแดนซ์ในสหรัฐอเมริกา[41] ในเดือนพฤศจิกายน กลินน์ออกเพลง "เทกมีโฮม" เป็นซิงเกิลสำหรับโครงการการกุศลของบีบีซี ชิลเดรนอินนีด ประจำปี ค.ศ. 2015[42] เพลงทำอันดับสูงสุดที่อันดับที่ 6 เป็นเพลงที่แปดของกลินน์ใน 10 อันดับแรกบนชาร์ตสหราชอาณาจักร[10] และในเดือนธันวาคม กลินน์ได้ขึ้นแสดงที่จิงเกิลเบลล์บอล[43]
ต้นปี ค.ศ. 2016 กลินน์ได้จัดทัวร์คอนเสิร์ต ไอครายเวนไอลาฟนทัวร์ เพื่อส่งเสริมอัลบั้มในอเมริกาเหนือและยุโรป[44][45] ระหว่างนั้นกลินน์ออกซิงเกิล "เอนท์กอตฟาร์ทูโก" แต่ไม่ประสบความสำเร็จบนชาร์ต[46][47] กลินน์ถูกเสนอเข้าชิงรางวัลบริตอะวอดส์ 3 สาขาร่วมถึงสาขาซิงเกิลบริติชแห่งปีจากเพลง "โฮลด์มายแฮนด์" และขึ้นแสดงเมดเลย์เพลงในอัลบั้ม ไอครายเวนไอลาฟ ในงาน[48] กลินน์ปฏิเสธเป็นกรรมการในรายการ เดอะวอยซ์ ของสหราชอาณาจักร เพราะเธอไม่ได้มีความสนใจในหน้าที่นั้น[49] ครึ่งปีหลังเป็นต้นมา กลินน์มีการแสดงสดร่วมทัวร์ของรูดิเมนทัลในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ขึ้นแสดงในงานเทศการดนตรีแกลสตันบูรี และจัดทัวร์คอนเสิร์ตชื่อว่า เทกมีโฮมทัวร์ ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์[50][51][52] นอกจากนี้เธอยังร้องรับเชิญในเพลง "คิลเดอะไลตส์" ของดีเจคาสซิดี ประกอบซีรีส์อเมริกันเรื่องไวนิล และเพลง "ไอแคนฟีลอิต" ของดีเจเซิร์จวูด และร้องนำในเพลง "อิฟไอแคนต์แฮฟยู" กับแซเทอร์เดย์ไนต์ฟีเวอร์[53] สตูดิโออัลบั้มใหม่ของกลินน์ ได้ร่วมงานกับโทบี แกด สกริลเลกซ์ และปาร์ตีเน็กซ์ดอร์[54]
งานดนตรี
[แก้]อิทธิพล
[แก้]ในวัยเยาว์กลินน์ได้รับอิทธิพลของดนตรีตอนเธออายุประมาณ 10 ปี หลังจากพ่อของเธอเปิดเพลงจากอัลบั้มของอีวา แคสซิดี ซองเบิร์ด ซึ่งเธอรู้สึกสัมผัสถึงอารมณ์ของเพลงได้[55] เธอจึงหลงรักในดนตรีเป็นอย่างมาก โดยเฉาะเพลงของมารายห์ แครี วิตนีย์ ฮิวสตัน และอารีธา แฟรงคลิน โดยเพลง "ฮีโร" ของแครีนั้น เป็นแรงผลักดันให้เธอร้องเพลงนี้ในการแสดงความสามารถครั้งแรกที่โรงเรียนมัธยมศึกษาของเธอ นอกจากนี้เธอยังชื่นชอบผลงานของทิมบาแลนด์และจัสติน ทิมเบอร์เลกด้วย[1][55][56] กลินน์ตัดสินใจทำงานอาชีพดนตรี เพราะเธอได้รับแรงบันดาลใจหลักมาจากเอมี ไวน์เฮาส์ หลังจากฟังอัลบั้ม แฟรงก์ กลินน์กล่าวว่า "พวกเราเหมือนพี่น้องกัน [มีเชื้อสายยิวเหมือนกัน] ถ้าเธอ [ไวน์เฮาส์] ทำงานดนตรีได้ ฉันก็ทำได้ เธอคือต้นแบบของการทำด้วยตัวเอง"[55] หลังจากกลินน์เป็นศิลปินแล้ว เธอก็ได้รับแรงผลักดันในการเริ่มเขียนเพลงจากอิทธิพลจากอัลบั้ม เดอะมิสเซดูเคชันออฟลอรีนฮิลล์ ของลอรีน ฮิลล์[8] กลินน์ยังยกย่องแฟรงก์ โอเชียน เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจหลักในการทำงาน โดยเธอให้เหตุผลว่าโอเชียนมีแนวทางการทำเพลงให้ออกมามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว[55] โดยเพลงของโอเชียนเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจร่วมกับเพลงของพรินซ์และเมวิส สเตเปิลส์ ระหว่างกลินน์ทำอัลบั้ม ไอครายเวนไอลาฟ[56]
กลินน์กล่าวถึงแซม คุก, เดสทินีส์ไชลด์, มารายห์ แครี, วิตนีย์ ฮิวสตัน, อารีธา แฟรงคลิน และเอตตา เจมส์ ว่าเป็นแรงบันดาลใจในรูปแบบการร้องเพลงของเธอ เช่นเดียวกับ เคนดริก ลามาร์, เจย์-ซี, แฟรงก์ โอเชียน และเอ็มมิเน็ม ในรูปแบบการแร็ป[2] กลินน์ยังมีศิลปินคนอื่น ๆ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่เธอ ได้แก่ บียอนเซ่ แมรี เจ. ไบลจ์ และอินเดีย อารี[57][58][59]
แนวดนตรีและรูปแบบเพลง
[แก้]แนวเพลงของกลินน์เป็นแนวเฮาส์ ผสมกับแนวคลาสสิกและการร้องแบบโซลเป็นแนว "เฮาส์เปี่ยมพลัง" (powerhouse) อย่างในเพลง "มายเลิฟ" และ "แรเทอร์บี" ต่างจากอัลบั้ม ไอครายเวนไอลาฟ ที่ผสมแนวอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ อาร์แอนด์บี และกอสเปล ซึ่งแอนดี กิลล์ จากหนังสือพิมพ์ดิอินดีเพ็นเดนต์ นับถือ "กระบวนการสร้างและแนวเพลง" (regards both methods and themes)[60] แต่เฮเซล คิลส์ จากนิตยสารสปิน ให้ความเห็นว่า "เป็นผลงานที่ไม่ใช่แนวของเธอ" (songs that aren’t even hers)[61] เนื้อหาในอัลบั้มเกี่ยวกับการคิดบวกกับตัวเอง และเปลี่ยนจากความเสียใจให้เป็นความหวัง ตรงตามจุดประสงค์ของกลินน์ที่ต้องการให้อัลบั้มแสดงออกมาในเชิงบวก[62] มอรา จอห์นสัน จากหนังสือพิมพ์เดอะบอสตันโกลบ กล่าวว่า "เสียงร้องแสดงถึงความน่าเกรงขาม" (formidable pipes) ถึงแม้ว่า "เนื้อเพลงแสดงถึงความปวดร้าว" ก็ตาม (a lyric with vulnerability)[63] องค์ประกอบส่วนใหญ่ในอัลบั้มประกอบไปด้วยโน๊ตที่เล่นวนไปมา แทมโบรีน เสียงปรมมือ และเสียงพื้นหลังที่ร้องระหว่าง "โอ้" และ "อาเมน"[61]
กลินน์มีช่วงเสียงร้องต่ำแบบคอนทราลโต หลายนักวิจารณ์มีความเห็นตรงกันว่าเสียงของเธอนั้นมีทั้งความหนักแน่น ทรงพลัง และอ่อนโยน[62][63][64] นิตยสารโรลลิงสโตน ระบุว่า เสียงของกลินน์สามารถแสดงได้ "ทุกช่วงอารมณ์" (emotional gamut)[62] เสียงร้องของเธอจึงถูกเปรียบเทียบกับเอมี ไวน์เฮาส์และเทย์เลอร์ เดย์น[5][7] นิตยสารบิลบอร์ดให้คำวิจารณ์เชิงบวกสำหรับการแสดงสดในไอครายเวนไอลาฟทัวร์ โดยเปรียบเป็น "ยาวิเศษแสนไพเราะเหมาะแก่แก้วหู" (a downright delightful eardrum elixir) และชื่นชมทั้งเทคนิคเสียงแหบและหนักแน่น[65]
ผลงานเพลง
[แก้]- ไอครายเวนไอลาฟ (2015)
ผลงานวีดิทัศน์
[แก้]ปี | ชื่อรายการ | เครือข่าย | รายละเอียดเพิ่มเติม |
---|---|---|---|
2015 | ดิเอ็กซ์แฟกเตอร์ | ไอทีวี | กรรมการรับเชิญ ฤดูกาลที่ 12 ตอนบ้านของผู้ตัดสิน |
2016 | เดอะเดนจิเนียร์ส | ซีบีบีซี | แขกรับเชิญ ฤดูกาลที่ 2 ตอนที่ 3 |
ทัวร์
[แก้]- เอนท์กอตฟาร์ทูโกทัวร์ (2015)
- ไอครายเวนไอลาฟทัวร์ (2016)
- เทกมีโฮมทัวร์ (2016)
รางวัลและการเสนอชื่อเข้าชิง
[แก้]ปี | รางวัล | สาขา | ผู้รับ | ผลรางวัล | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
2014 | บีบีซีมิวสิกอะวอดส์ | เพลงแห่งปี | "แรเทอร์บี" | เสนอชื่อเข้าชิง | [66] |
2015 | |||||
รางวัลแกรมมี | บันทึกเสียงเพลงแดนซ์ยอดเยี่ยมแห่งปี | ชนะ | [14] | ||
บริตอะวอดส์ | ซิงเกิลบริติชแห่งปี | เสนอชื่อเข้าชิง | [67] | ||
"มายเลิฟ" | |||||
วิดีโอของศิลปินบริติชแห่งปี | เสนอชื่อเข้าชิง | ||||
บิลบอร์ดมิวสิกอะวอดส์ | เพลงแดนซ์/อิเล็กทรอนิกส์ยอดนิยม | "แรเทอร์บี" | เสนอชื่อเข้าชิง | [68] | |
โมโบอะวอดส์ | ศิลปินหญิงยอดเยี่ยม | เจสส์ กลินน์ | เสนอชื่อเข้าชิง | [69] | |
เพลงยอดเยี่ยม | "นอตเลตทิงโก" | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
เอ็มทีวียุโรปมิวสิกอะวอดส์ | ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม | เจสส์ กลินน์ | เสนอชื่อเข้าชิง | [70] | |
ศิลปินประสบความสำเร็จยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||||
ศิลปินบริติชและไอริชยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||||
เอ็มทีวีเจแปนมิวสิกอะวอดส์ | วิดีโอของศิลปินนานาชาติหน้าใหม่ยอดเยี่ยม | "โฮลด์มายแฮนด์" | เสนอชื่อเข้าชิง | [71] | |
บีบีซีมิวสิกอะวอดส์ | เพลงแห่งปี | เสนอชื่อเข้าชิง | [72] | ||
2016 | |||||
บริตอะวอดส์ | ซิงเกิลบริติชแห่งปี | เสนอชื่อเข้าชิง | [73] | ||
ศิลปินประสบความสำเร็จยอดเยี่ยม | เจสส์ กลินน์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
ศิลปินบริติชหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||||
ไอเวอร์โนเวลโลอะวอดส์ | เพลงยอดเยี่ยม | "โฮลด์มายแฮนด์" | เสนอชื่อเข้าชิง | [74] | |
ซิลเวอร์เคลฟอะวอดส์ | ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม | เจสส์ กลินน์ | ชนะ | [75] | |
ดิเอแอนด์อาร์มิวสิกอะวอดส์ | ศิลปินประสบความสำเร็จยอดเยี่ยม | ชนะ | [76] | ||
เอ็มทีวียุโรปมิวสิกอะวอดส์ | ศิลปินที่แสดงสดบนเวทีระดับโลกยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | [77] | ||
เอสเคปลอนดอนมิวสิกอะวอดส์ | รางวัลแวนการ์ด | ชนะ | [78] | ||
เพลงอีดีเอ็มยอดเยี่ยม | "โฮลด์มายแฮนด์" | ชนะ | |||
บีบีซีมิวสิกอะวอดส์ | ศิลปินแห่งปี | เจสส์ กลินน์ | เสนอชื่อเข้าชิง | [79] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Lester, Paul (24 กรกฎาคม 2014). "Jess Glynne: The chart-topper who lives with her mum". The Jewish Chronicle Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 2016-02-26.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Smyth, David (23 กันยายน 2014). "Interview: Mobo shortlisted singer Jess Glynne on being pop's brightest newcomer". EveningStandard.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Stroude, Will (24 กรกฎาคม 2014). "Jess Glynne: 'I could throw water at people to plug my album'". Attitude Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-28. สืบค้นเมื่อ 2016-02-26.
- ↑ Haycock, Annalisa (5 มีนาคม 2014). "Music Students Ride Road To Success". Guestlist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-18. สืบค้นเมื่อ 2016-03-01.
- ↑ 5.0 5.1 Mclean, Craig (14 พฤษภาคม 2015). "Jess Glynne: 'I don't know what I want now — to be with a guy, with a girl, be with anyone'". EveningStandard.
- ↑ Hampp, Andrew (17 เมษายน 2015). "Ryn Weaver, Kiesza & Jess Glynne Share Their Journeys to Coachella: Exclusive". Billboard.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 Rubin, Courtney (11 พฤศจิกายน 2015). "Jess Glynne Finds Her Voice After Overcoming 'Traumatic, Terrifying' Throat Surgery". Billboard.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Hannah, Andrew (31 กรกฎาคม 2014). "The 405 meets Jess Glynne". The 405. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-30. สืบค้นเมื่อ 2016-03-16.
- ↑ "Annie Mac Presents 2013 by Annie Mac". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2016.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "Jess Glynne Chart Archive". The Official UK Charts Company. Officialcharts.com. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Route 94 scores first UK number one with 'My Love'". The Independent. 9 มีนาคม 2014.
- ↑ Copsey, Rob (31 ธันวาคม 2014). "The Official Top 100 Biggest Songs of 2014 revealed". Officialcharts.com.
- ↑ "Clean Bandit – Chart history". Billboard.
- ↑ 14.0 14.1 "Clean Bandit And Jess Glynne Win Best Dance Recording". The Recording Academy. Grammy.org. 8 กุมภาพันธ์ 2015. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "BRIT Awards 2015: Best British Single Nominations List". Capital. 15 มกราคม 2015.
- ↑ Harp, Justin (11 ธันวาคม 2014). "BBC Music Awards 2014: Winners in full". Digital Spy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-25. สืบค้นเมื่อ 2016-03-19.
- ↑ "Jess Glynne – Home". YouTube. 12 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ "Archive Single Chart: 2014-07-19". Official UK Charts Company. Officialchart.com.
- ↑ Sigman, Elinor (1 กรกฎาคม 2014). "Profile: Jess Glynne – Interview – Wonderland Magazine". Wonderland Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 2016-03-19.
- ↑ Feltscheer, Mitch. "Interview: Jess Glynne". Vmusic.com.au.
- ↑ "Jess Glynne Concert Setlists". setlist.fm.
- ↑ Copsey, Robert (26 กุมภาพันธ์ 2014). "M.O debut new single 'For A Minute' – listen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2016-03-20.
- ↑ Cabooter, James (26 มีนาคม 2015). "The Reet stuff: Jess Glynne is a hit for Ora".
- ↑ "Star-Studded Band Aid 30 Top UK Singles Chart". 23 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ "Jess Glynne scores UK number one". 29 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2016.
- ↑ Myers, Justin (12 เมษายน 2015). "Jess Glynne holds off Nick Jonas to claim third week at Number 1".
- ↑ Trust, Gary (23 กันยายน 2015). "The Weeknd No. 1, Selena Gomez Top 10 on Billboard Artist 100". Billboard. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2016.
- ↑ Jess Glynne (15 มิถุนายน 2015). "Jess Glynne to have vocal surgery after pulling out of Isle of Wight Festival – BBC Newsbeat". BBC.
- ↑ Wyatt, Daisy (16 มิถุนายน 2015). "Glastonbury 2015: Jess Glynne forced to cancel performance due to vocal surgery – Features – Music". The Independent.
- ↑ Copsey, Rob (21 สิงหาคม 2015). "Jess Glynne enters the Official Chart history books". Officialcharts.com.
- ↑ Copsey, Rob (29 มิถุนายน 2015). "Jess Glynne announces new single Don't Be So Hard On Yourself".
- ↑ Sexton, Paul (21 สิงหาคม 2015). "Jess Glynne Matches Cheryl Cole's Record on U.K. Singles Chart". Billboard.
- ↑ "Jess Glynne enlists Starsmith, Talay Riley for debut album". Hamada Mania Music Blog. 10 กรกฎาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-18. สืบค้นเมื่อ 2016-03-21.
- ↑ "Get To Know: Jess Glynne". HUNGER TV. 3 กรกฎาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-15. สืบค้นเมื่อ 2016-03-21.
- ↑ "Jess Glynne tops UK album chart with debut". BBC News. bbc.co.uk. 28 สิงหาคม 2015.
- ↑ "British album certifications – Jess Glynne – I Cry When I Laugh". British Phonographic Industry. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-11. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016. ใส่คำว่า I Cry When I Laugh ในช่องค้นหา Keywords ต่อไปเลือก Title ในช่อง Search by และเลือก Album ในช่อง Format สุดท้ายเลือก All ในช่อง By Award และคลิก Search
{{cite web}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ "Billboard 200 The Week of October 3, 2015". Billboard]]. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ Cliff, Aimee (22 พฤษภาคม 2015). "Jess Glynne Proves She's Here To Stay On "Ain't Got Far To Go"". Warner Music Germany. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2016.
- ↑ "ตารางคอนเสิร์ต เอนท์กอตฟาร์ทูโกทัวร์ บนอินสตาแกรมของเจสส์ กลินน์". สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016.
- ↑ Daly, Emma (30 กันยายน 2015). "X Factor Judges' Houses Jess Glynne to join Cheryl Fernandez-Versini in Rome". Radiotimes.com.
- ↑ "Watch Our Brand New Documentary 'The Brit Invasion' Right Now". ไวซ์. Thump. 14 กันยายน 2015.
- ↑ "Jess Glynne sings Children in Need single". BBC. 3 พฤศจิกายน 2015.
- ↑ "Coldplay, Jason Derulo, Jess Glynne, Charlie Puth und weitere live beim "Jingle Bell Ball"" (ภาษาเยอรมัน). Warner Music Germany. 9 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2016.
- ↑ Foster, Allen (15 มกราคม 2016). "Interview: Jess Glynne's 'I Cry When I Laugh' North American Tour". AXS. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2016.
- ↑ "ตารางคอนเสิร์ต ไอครายเวนไอลาฟนทัวร์ ในสหราชอาณาจักรและยุโรป บนอินสตาแกรมของเจสส์ กลินน์". สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016.
- ↑ Corner, Lewis (11 มกราคม 2016). "Jess Glynne will release 'Ain't Got Far to Go' as her next single". Digital Spy.
- ↑ "Archive Single Chart: 2014-03-04". Official UK Charts Company. Officialchart.com.
- ↑ Katz, Jessie (24 กุมภาพันธ์ 2016). "Jess Glynne Performs Medley of Her Biggest Songs at 2016 Brit Awards". Billboard. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2016.
- ↑ "Jess Glynne rejects The Voice judging role". Belfast Telegraph. 7 มิถุนายน 2016.
- ↑ "Returning This May For Their Biggest Australian & New Zealand Tour To Date!". Frontier. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016.
- ↑ Corner, Lewis (24 มิถุนายน 2016). "Jess Glynne lights up Glastonbury for her Pyramid Stage debut after having to cancel last year". Digital Spy. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2016.
- ↑ Levine, Nick (13 มิถุนายน 2016). "Jess Glynne announces first UK and Ireland arena tour". NME. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2016.
- ↑ "Audien Remixes DJ Cassidy's 'Kill the Lights,' Feat. Alex Newell, Jess Glynne & Nile Rodgers: Exclusive Premiere". Billboard. 14 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2016.
- ↑ Corner, Lewis (11 ตุลาคม 2016). "Jess Glynne is working with some huge producers for her next album, including Skrillex". Digital Spy. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2016.
- ↑ 55.0 55.1 55.2 55.3 Langford, Georgina (4 เมษายน 2014). "Meet Jess Glynne, The Girl Who's Going To Soundtrack Your Summer". MTV. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2016.
- ↑ 56.0 56.1 Moss, Liv (11 สิงหาคม 2015). "Jess Glynne interview: "Amy Winehouse gave me the confidence to do this"". The Official UK Charts Company. Officialcharts.com.
- ↑ Hamad, Marwa (21 เมษายน 2015). "Jess Glynne comes out of the shadows". Gulf News.
- ↑ Vyas, Sofia (21 เมษายน 2015). "The star of Clean Bandit's hit 'Rather Be' and Route 94's 'My Love'". Time Out Dubai.
- ↑ Gracie, Bianca (27 มีนาคม 2015). "Jess Glynne Talks Breaking Out As A Solo Star, Her Forthcoming Debut LP & Dolly Parton: Idolator Interview". Idolator. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-27. สืบค้นเมื่อ 2016-03-25.
- ↑ Gill, Andy (7 สิงหาคม 2015). "Jess Glynne, I Cry When I Laugh - Album review". The Independent. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2016.
- ↑ 61.0 61.1 Cills, Hazel (21 กันยายน 2015). "Review: Jess Glynne Needs More Church in Her Wild on 'I Cry When I Laugh'". Spin. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2016.
- ↑ 62.0 62.1 62.2 "10 New Artists You Need to Know: October 2015". Rolling Stone. 28 ตุลาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-23. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2016.
- ↑ 63.0 63.1 Johnston, Maura (10 กันยายน 2015). "Jess Glynne, 'I Cry When I Laugh'". The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2016.
- ↑ Clarke, Betty (5 พฤศจิกายน 2015). "Jess Glynne review – power and tenderness as the dance-pop diva returns home". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016.
- ↑ Sullivan, Lindsey (21 มกราคม 2016). "Jess Glynne Finds Happy While Webster Hall Loses Control: Live Review". Billboard. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016.
- ↑ "BBC Music Awards 'Song of the Year' shortlist announced". BBC. 10 ธันวาคม 2014.
- ↑ "BRIT Awards 2015 Winners List - Full List Of This Year's Awards". Capital.fm. 26 กุมภาพันธ์ 2015. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2016.
- ↑ "Billboard Music Awards 2015: See the Full Winners List". Billboard. 17 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2016.
- ↑ "The MOBO Awards 2015: The Winners List". Capital Xtra. 4 พฤศจิกายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-10. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2016.
- ↑ Shepherd, Jack (26 ตุลาคม 2015). "MTV EMAs 2015 winners list in full: Justin Bieber takes home more awards than Taylor Swift". Independent. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2016.
- ↑ Ronald (ตุลาคม 2015). "Nominees Announced for the MTV Video Music Awards Japan 2015". Arama! Japan. p. 4. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2016.
- ↑ McCall, Malorie (10 ธันวาคม 2015). "BBC Music Awards 2015 Winners List: Adele & Taylor Swift Reign". Billboard. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2016.
- ↑ McAloon, Jonathan (24 กุมภาพันธ์ 2016). "Brit Awards 2016: full list of winners". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2016.
- ↑ Savage, Mark (19 พฤษภาคม 2016). "Adele named songwriter of the year at Ivor Novello Awards". BBC. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016.
- ↑ "O2 Silver Clef Awards 2016". Nordoff Robbins. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2016.
- ↑ "Revealed: The Finalists For The A&R Awards In Association With Abbey Road Studios". Music Business Worldwide. 9 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2017.
- ↑ "2016 MTV EMAs: See the Full Winners List". Billboard. 6 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ "2016 ASCAP London Music Awards". ASCAP. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2017.
- ↑ "BBC Music Awards 2016 - The Nominees". BBC. 25 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2017.