ข้ามไปเนื้อหา

ป้อมชยครห์

พิกัด: 26°59′09″N 75°51′03″E / 26.9859°N 75.8507°E / 26.9859; 75.8507
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Jaigarh Fort)
ป้อมชยครห์
ส่วนหนึ่งของชัยปุระ
อาเมร์ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย
ป้อมชยครห์
ป้อมชยครห์ตั้งอยู่ในชัยปุระ
ป้อมชยครห์
ป้อมชยครห์
ป้อมชยครห์ตั้งอยู่ในรัฐราชสถาน
ป้อมชยครห์
ป้อมชยครห์
พิกัด26°59′09″N 75°51′03″E / 26.9859°N 75.8507°E / 26.9859; 75.8507
ประเภทป้อม
ข้อมูล
ควบคุมโดยJaigarh Public Charitable Trust
เปิดสู่
สาธารณะ
ใช่
สภาพดี
ประวัติศาสตร์
วัสดุหินทรายแดง
การต่อสู้/สงคราม436
เหตุการณ์การเสียชีวิตของ Dara Shikoh
ข้อมูลสถานี
ผู้บัญชาการ
ในอดีต
Shazada Jalal Muhammad Mirza Mughal Empire

ป้อมชยครห์ (ราชสถานและฮินดี: जयगढ़ क़िला; อังกฤษ: Jaigarh Fort) ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาชีลกาทีลา (เขาแห่งอินทรี) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาอะระวัลลี โดยตั้งอยู่สูงเหนือกว่าป้อมอาเมร์ ซึ่งเบื้องล่างนั้นเป็นทะเลสาบเมาตา ซึ่งใกล้กับเมืองอาเมร์ ชานเมืองชัยปุระ ในรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย[1][2] สร้างโดยมหาราชาสะหวายจัย สิงห์ที่ 2 ในปีค.ศ. 1726 เพื่อใช้สำหรับอารักขาป้อมอาเมร์ และพระราชวังอาเมร์ซึ่งตั้งอยู่ภายในอันเป็นพระราชฐานของพระองค์[1][2][3]

ป้อมชยครห์
แนวกำแพงเมือง
ป้อมชยครห์ (ด้านบน) มองจากบริเวณป้อมอาเมร์เบื้องล่าง

ป้อมแห่งนี้มีการออกแบบทางโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับป้อมอาเมร์ และยังนิยมเรียกกันว่า "ป้อมชัย" (ป้อมแห่งชัยชนะ) ซึ่งกินความยาวรวม 3 กิโลเมตร (1.9 ไมล์) ทางด้านทิศเหนือจรดใต้ และกว้างประมาณ 1 กิโลเมตร (0.62 ไมล์) ในป้อมแห่งนี้เป็นที่ตั้งของปืนใหญ่ "ชัยวนา" (Jaivana) ซึ่งมีน้ำหนักถึง 50 ตัน ซึ่งได้ทำการหลอมโลหะและผลิตภายในป้อมแห่งนี้ โดยในขณะที่สร้างนั้นถือเป็นปืนใหญ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีล้อสามารถเคลื่อนย้ายได้[4] ภายในป้อม มีสวนที่ตกแต่งอย่างสวยงาม และหมู่พระตำหนักซึ่งประกอบด้วย "ลักษมีวิลาส" (Laxmi Vilas), "ลลิตมนเทียร" (Lalit Mandir), "วิลาสมนเทียร" (Vilas Mandir) และ "อารามมนเทียร" (Aram Mandir) ซึ่งใช้สำหรับสมาชิกพระราชวงศ์เวลาเสด็จมาประทับที่ป้อมแห่งนี้ นอกจากนี้ยังพบ "ศุภัตนิวาส" (Shubhat Niwas) ซึ่งเป็นโถงสำหรับรวมพล โรงงานผลิตอาวุธ และพิพิธภัณฑ์[2][3][4] ป้อมชยครห์ และป้อมอาเมร์นั้นเชื่อมต่อกันด้วยทางเดินลับใต้ดิน จึงมักถือว่าป้อมทั้งสองนี้เป็นสถานที่เดียวกัน[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Pippa de Bruyn; Keith Bain; David Allardice; Shonar Joshi (2010). Frommer's India. Frommer's. pp. 521–522. ISBN 978-0-470-55610-8.
  2. 2.0 2.1 2.2 D. Fairchild Ruggles (2008). Islamic gardens and landscapes. University of Pennsylvania Press. pp. 205–206. ISBN 978-0-8122-4025-2. สืบค้นเมื่อ 16 April 2011.
  3. 3.0 3.1 "Jaigarh Fort – Jaipur, India". cs.utah.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2014. สืบค้นเมื่อ 14 April 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Jaipur". Jaipur.org.uk. สืบค้นเมื่อ 16 April 2011.