ข้ามไปเนื้อหา

ญะอ์ฟัร อัศศอดิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ja'far al-Sadiq)
ญะอ์ฟัร

อัศศอดิก
คำนำหน้าชื่ออิมามะฮ์
รายการ
  • aṡ-Ṣādiq̈[1]
    (ภาษาอาหรับหมายถึงซื่อสัตย์)
  • al-Fādhil[1]
    (ภาษาอาหรับหมายถึงเที่ยงธรรม)
  • aṫ-Ṫāhir[1]
    (ภาษาอาหรับหมายถึงบริสุทธิ์)
  • Altıncı Ali
    (ภาษาตุรกีหมายถึงอะลีที่ 6)
ชื่ออื่นญะฟัร อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ อะลี
ส่วนบุคคล
เกิดป. ค.ศ.702
17 รอบีอุลเอาวัล ฮ.ศ.83[2]
มรณภาพค.ศ.765
15 เชาวาล ฮ.ศ.148 (63 ปี) [4]
ที่ฝังศพอัลบะกีอ์, มะดีนะฮ์, ประเทศซาอุดีอาระเบีย
24°28′1″N 39°36′50.21″E / 24.46694°N 39.6139472°E / 24.46694; 39.6139472
ศาสนาอิสลาม
คู่สมรสFatima bint al-Hussain'l-Athram
Hamīdah al-Barbariyyah[3]
บุตร
รายการ
บุพการีMuhammad al-Baqir
Farwah bint al-Qasim
สายบนูฮาชิม
ชื่ออื่นญะฟัร อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ อะลี
ตำแหน่งชั้นสูง
ช่วงที่ดำรงตำแหน่งค.ศ.733–765
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้ามุฮัมมัด อัล-บากีร์
ผู้ดำรงตำแหน่งถัดมาเป็นที่โต้แย้ง
ชีอะฮ์สิบสองอิมามมูซา อัล-คาดิม
อิสมาอีลียะฮ์อิสมาอิล อิบน์ ญะฟัร
อัฟตาฮิยะฮ์อับดุลลอฮ์ อัล-อัฟตะฮ์

Shumattiyyah - มุฮัมมัด อิบน์ ญะฟัร อัศศอดิก

อะลี อัล-อุไรดี อิบน์ ญะฟัร อัศศอดิก

ญะอ์ฟัร อิบน์ มุฮัมมัด อัศศอดิก (อาหรับ: جعفر بن محمد الصادق; อังกฤษ: Jaʿfar ibn Muhammad al-Sādiq) หรือเรียกสั้น ๆ ในภาษาไทยว่า อิมามศอดิก เป็นอิมามที่ 6 ของชีอะฮ์ เกิดในปี ฮ.ศ. 83 (ค.ศ. 702) เป็นบุตรของอิมามบากิร และนางอุมฟัรวะหฺ บุตรีกอซิม บินมุฮัมมัด บินอะบีบักรฺ เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 148 (ค.ศ. 765)

อิมามอัศศอดิกมีชีวิตใน 10 แผ่นดิน นั่นคือ ได้มีการเปลี่ยนแปลงเคาะลีฟะฮ์ถึงสิบคนในสองอาณาจักร คือ อาณาจักรอุมัยยะฮ์และอาณาจักรอับบาซียะฮ์

ท่านมีสานุศิษย์ 4,000 คน ในจำนวนนั้นได้แก่ ญาบิร บินฮัยยาน, อะบูหะนีฟะฮ์ และมาลิก บินอะนัส

บทบาทของอิมามอัศศอดิก

[แก้]

อิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก (อ) สามารถเผยแผ่วิชาการอิสลามได้มากกว่ายุคใดทั้งหมด สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะว่าอิมามอัลบากิร (อ) ได้สร้างฐานเอาไว้แล้วส่วนหนึ่ง ท่านได้เผยแผ่และเชิญชวนผู้คนมาสู่อิสลามเป็นจำนวนมากมาย ซึ่งผู้คนเหล่านั้นต่างกระหายในวิชาการอิสลามและความรู้ของอะหฺลุลบัยตฺ ไม่ใช้อิสลาม


อีกด้านหนึ่ง ราชวงศ์อุมัยยะฮ์กำลังจะสิ้นสุดอำนาจและราชวงศ์อับบาสก็ยังยึดอำนาจไม่ได้ทั้งหมด ซึ่งก้าวขึ้นสู่อำนาจของพวกอับบาสได้โดยอาศัยบารมีของอะหฺลุลบัยต (อ) โดยใช้การโศกนาฏกรรมของบรรดาอะหลุลบัยตฺในกัรบะลาอ์เป็นสิ่งนำและเรียกร้องความสนใจของประชาชน

ขณะที่อิมามอัศศอดิก (อ) ได้สั่งสอนและขยายความรู้ออกไปอย่างกว้างขวาง โดยมีผู้รู้นักปราชญ์และนักวิชาการจากทั่วสารทิศแห่กันมายังนครมะดีนะหฺ เพื่อมาศึกษาหาความรู้จากอิมามอัศศอดิก (อ) ในศาสตร์ต่าง ๆ จนได้รับฉายานามว่า "บิดาแห่งความรู้" ท่านเป็นคนแรกที่สอนวิทยาศาสตร์ทั้งวิทยาศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์

อิมามอัศศอดิก (อ) ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้คนมากมายหลายเชื้อชาติและต่างศาสนา ต่อมาท่านได้สอนลูกศิษย์ให้มีความรอบรู้และความสันทัดด้านวิทยาศาสตร์ไว้หลายคนด้วยกัน มีตำราหลายร้อยเล่มที่ได้บันทึกฮะดีษต่าง ๆ คำอธิบายและถ่ายทอดความรู้ของอิมามศอดิกเอาไว้ ตำราเหล่านั้นเรียกว่า "อุศูล"

อิมามอัศศอดิก (อ) ได้หยิบฉวยโอกาสสั้น ๆ นั้นสั่งสอนลูกศิษย์และสร้างนักปราชญ์เอาไว้มากมายในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้เกี่ยวกับอิสลามและวัฒนธรรมอิสลาม จำนวนลูกศิษย์ที่ได้รับความรู้โดยตรงจากอิมามอัศศอดิก (อ) มีมากเกิน 4,000 คน อิมามอัศศอดิก (อ) ได้สั่งบรรดาลูกศิษย์ของท่านให้จดบันทึกความรู้เอาไว้และรักษาความรู้เหล่านั้นไว้ให้ดี เพราะท่านทราบดีว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับโลกอิสลามในวันข้างหน้า ถึงเวลานั้นตำราเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะมันจะเป็นทีย้อนกลับของศาสนาความรู้และมวลมุสลิมทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้เอง บรรดาลูกศิษย์ของอิมามอัศศอดิก (อ) จึงเตรียมสมุดปากกามาทุกครั้งเพื่อจดบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ยินจากอิมามอัศศอดิก (อ)

อิมามอัศศอดิก (อ) ได้ใช้เวลาส่วนมากในการสอนสานุศิษย์มากกว่าทำอย่างอื่น ความรู้ของท่านได้ซึมลึกลงไปในหมู่ของประชาชนที่มีทั้งฉลาดและโง่เขลา อิมามอัศศอดิกเป็นเสมือนกระจกเงาแห่งวิชาการของท่านศาสดา (ศ) ที่แท้จริง หลังจากที่ความรู้ของท่านศาสดาได้ถูกคนทรยศทำลาย มันได้ถูกฟื้นฟูให้รุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่งโดยอิมามศอดิก ด้วยเหตุนี้เอง ต่อมาภายหลังจึงขนานนามท่านว่าเป็นผู้สถาปนาแนวทางของชีอะฮ์และเรียกกันจนติดปากว่า "ตะชัยยุอฺ"หรือ"ญะอฺฟะรีย์"

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 A Brief History of The Fourteen Infallibles. Qum: Ansariyan Publications. 2004. p. 123. ISBN 964-438-127-0.
  2. Gleaves, Robert. "JAʿFAR AL-ṢĀDEQ i. Life". Encyclopedia Iranica. สืบค้นเมื่อ 2015. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) According to Gleaves, most sources give 702 as the year of his birth, but there are some which give 699 and others which give 705.
  3. A Brief History of The Fourteen Infallibles. Qum: Ansariyan Publications. 2004. p. 131. ISBN 964-438-127-0.
  4. Gleaves, Robert. "JAʿFAR AL-ṢĀDEQ i. Life". Encyclopedia Iranica. สืบค้นเมื่อ 2015. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

อ้างอิง

[แก้]