อิงะ
อิงะ 伊賀市 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ที่ตั้งของอิงะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดมิเอะ | |||||||||||||
พิกัด: 34°46′N 136°8′E / 34.767°N 136.133°E | |||||||||||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||||||
ภูมิภาค | คันไซ | ||||||||||||
จังหวัด | มิเอะ | ||||||||||||
การปกครอง | |||||||||||||
• ประเภท | เทศบาลนคร | ||||||||||||
• นายกเทศมนตรี | โทชินาโอะ อินาโมริ (稲森 稔尚) | ||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 558.23 ตร.กม. (215.53 ตร.ไมล์) | ||||||||||||
ประชากร (1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024) | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 83,496 คน | ||||||||||||
• ความหนาแน่น | 150 คน/ตร.กม. (400 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||||
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) | ||||||||||||
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 116 อูเอโนะมารูโนอูจิ นครอิงะ จังหวัดมิเอะ 518-8501 | ||||||||||||
รหัสท้องถิ่น | 24216-1 | ||||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||||
|
อิงะ (ญี่ปุ่น: 伊賀市; โรมาจิ: Iga-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 558.23 ตารางกิโลเมตร (215.53 ตารางไมล์) ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 มีจำนวนประชากรประมาณ 83,496 คน มีความหนาแน่นของประชากร 150 คนต่อตารางกิโลเมตร[1]
ภูมิศาสตร์
[แก้]นครอิงะตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดมิเอะ พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเป็นพื้นที่ของเทือกเขาซูซูกะ พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูงชิงารากิ พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองคือที่ราบสูงยามาโตะ และพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้เป็นแอ่งที่ล้อมรอบด้วยเทือกเขานูโนบิกิ พื้นที่แห่งนี้มีลักษณะเป็นเนินเขา ตั้งอยู่บนต้นน้ำของแม่น้ำคิซุซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบแม่น้ำโยโดะ และติดกับจังหวัดชิงะ นาระ และเกียวโต แม้ว่าจังหวัดมิเอะจะจัดอยู่ในภูมิภาคโทไก แต่ภูมิภาคอิงะซึ่งประกอบด้วยนครอิงะและนครนาบาริก็ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคคันไซ
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]- จังหวัดเกียวโต
- จังหวัดมิเอะ
- จังหวัดนาระ
- จังหวัดชิงะ
ภูมิอากาศ
[แก้]อิงะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเด่นคือฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่เย็นสบาย มีหิมะตกเล็กน้อยถึงไม่มีเลย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในอิงะอยู่ที่ 14.6 °C (58.3 °F) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,440.9 มิลลิเมตร (56.73 นิ้ว) โดยเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 26.7 °C (80.1 °F) และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 3.5 °C (38.3 °F)[2]
ข้อมูลภูมิอากาศของอูเอโนะ นครอิงะ (1991−2020 ค่าปกติ, ค่าสุดขีด 1937−ปัจจุบัน) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 17.8 (64) |
22.1 (71.8) |
25.7 (78.3) |
30.2 (86.4) |
33.8 (92.8) |
35.7 (96.3) |
38.0 (100.4) |
38.8 (101.8) |
36.5 (97.7) |
32.2 (90) |
26.3 (79.3) |
22.1 (71.8) |
38.8 (101.8) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 8.3 (46.9) |
9.4 (48.9) |
13.4 (56.1) |
19.2 (66.6) |
24.0 (75.2) |
26.9 (80.4) |
31.0 (87.8) |
32.5 (90.5) |
28.1 (82.6) |
22.2 (72) |
16.5 (61.7) |
10.9 (51.6) |
20.2 (68.36) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 3.5 (38.3) |
4.0 (39.2) |
7.3 (45.1) |
12.7 (54.9) |
17.9 (64.2) |
21.8 (71.2) |
25.8 (78.4) |
26.7 (80.1) |
22.8 (73) |
16.7 (62.1) |
10.7 (51.3) |
5.7 (42.3) |
14.63 (58.34) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -0.6 (30.9) |
-0.5 (31.1) |
2.0 (35.6) |
6.8 (44.2) |
12.4 (54.3) |
17.5 (63.5) |
21.9 (71.4) |
22.6 (72.7) |
18.7 (65.7) |
12.1 (53.8) |
5.7 (42.3) |
1.2 (34.2) |
9.98 (49.97) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -9.6 (14.7) |
-9.6 (14.7) |
-7.8 (18) |
-4.8 (23.4) |
-0.8 (30.6) |
5.6 (42.1) |
11.3 (52.3) |
11.1 (52) |
5.1 (41.2) |
-1.0 (30.2) |
-5.0 (23) |
-9.5 (14.9) |
−9.6 (14.7) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 50.9 (2.004) |
60.0 (2.362) |
104.2 (4.102) |
104.2 (4.102) |
139.7 (5.5) |
194.3 (7.65) |
194.3 (7.65) |
136.4 (5.37) |
187.3 (7.374) |
146.7 (5.776) |
72.1 (2.839) |
50.8 (2) |
1,440.9 (56.728) |
ความชื้นร้อยละ | 71 | 70 | 69 | 67 | 69 | 75 | 76 | 75 | 77 | 77 | 76 | 73 | 72.9 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 6.5 | 7.2 | 9.9 | 9.5 | 9.8 | 12.2 | 11.9 | 8.6 | 10.0 | 9.1 | 6.9 | 6.8 | 108.4 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 125.0 | 121.0 | 154.7 | 174.8 | 183.4 | 132.8 | 155.3 | 191.7 | 142.0 | 143.4 | 136.1 | 135.0 | 1,806.9 |
แหล่งที่มา: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[2][3] |
สถิติประชากร
[แก้]ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[4] ประชากรของอิงะค่อนข้างคงที่ตลอด 60 ปีที่ผ่านมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1960 | 99,821 | — |
1970 | 92,841 | −7.0% |
1980 | 95,582 | +3.0% |
1990 | 97,752 | +2.3% |
2000 | 101,527 | +3.9% |
2010 | 97,215 | −4.2% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]พื้นที่บริเวณอิงะในปัจจุบันสอดคล้องกับส่วนหนึ่งของแคว้นในอดีตที่ชื่อแคว้นอิงะ พื้นที่แห่งนี้ถูกบันทึกไว้ในยุคเซ็งโงกุว่าเป็นศูนย์กลางของนินจา ตั้งแต่ราวคริสต์ทศวรรษ 1460 จนถึง ค.ศ. 1581 แคว้นอิงะเป็นสมาพันธ์อิสระซึ่งปกครองโดยกลุ่มคนจากครอบครัวนินจาในท้องถิ่น ในยุคเอโดะ เมืองนี้เจริญขึ้นจากการเป็นเมืองรอบปราสาทอิงะอูเอโนะ โดยเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การปกครองของโชกุนโทกูงาวะ อิงะเป็นบ้านเกิดของมัตสึโอะ บาโช กวีไฮกุ และเป็นบ้านของนินจาฮัตโตริ ฮันโซ
เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาล ได้มีการจัดตั้งเมืองอูเอโนะขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 และได้รับการยกฐานะเป็นนครอูเอโนะเมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1941 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 นครอูเอโนะได้ควบรวมกับเมืองอิงะ เมืองอายามะ หมู่บ้านชิมางาฮาระ และหมู่บ้านโอยามาดะ (ทั้งหมดมาจากอำเภออายามะ) และเมืองอาโอยามะ (มาจากอำเภอนางะ) เพื่อจัดตั้งเป็นนครอิงะ
การเมืองการปกครอง
[แก้]นครอิงะมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี-สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 22 คน ในแง่ของการเมืองระดับจังหวัด นครอิงะเป็นเขตพื้นที่ที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดมิเอะจำนวน 2 คน และในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครอิงะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดมิเอะ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
[แก้]อิงะเป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางของศิลปะการถักเชือกแบบดั้งเดิมที่เรียกว่า คูมิฮิโมะ ซึ่งยังมีช่างฝีมือหลายคนที่ยังทำงานอยู่ เมืองนี้เป็นศูนย์กลางการค้าของเมืองและหมู่บ้านข้างเคียง และเศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้นเน้นไปที่การเกษตรและการท่องเที่ยวตามฤดูกาล และเนื่องจากอิงะตั้งอยู่ในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ระหว่างโอซากะและนาโงยะ จึงมีโรงงานมาตั้งอยู่ริมทางหลวงเมฮังเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุผลเรื่องความสะดวกในการขนส่ง
การศึกษา
[แก้]นครอิงะมีโรงเรียนประถมศึกษา 19 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 10 แห่งที่สังกัดเทศบาลนครอิงะ และโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 แห่งที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดมิเอะ นครอิงะยังมีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเอกชน 2 แห่ง และโรงเรียนรวมมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลายเอกชนอีก 1 แห่ง
โรงเรียนนานาชาติ
[แก้]- Colégio Positivo - โรงเรียนประถมศึกษาชาวบราซิล[5] ก่อตั้งใน ค.ศ. 2013
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตก (JR West): สายหลักคันไซ
- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตก (JR West): สายคูซัตสึ
- รถไฟคินเท็ตสึ: สายโอซากะ
- ■ รถไฟอิงะ: สายอิงะ
ทางหลวง
[แก้]- ทางด่วนเมฮัง
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 25
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 163
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 165
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 368
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 422
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
[แก้]บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- มัตสึโอะ บาโช - กวีไฮกุ
- ฮาการุ ฮาชิโมโตะ - แพทย์และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์
- อากิโกะ อิวาซากิ - นักภูมิคุ้มกันวิทยาและศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเยล
- อิงาโนะ คาบามารุ - นินจา
- จิโร คาวาซากิ - นักการเมือง
- ชูโตะ มาจิโนะ - นักฟุตบอลอาชีพ
- เก็งอิจิ มิตสึฮาชิ - นินจา
- วาซาบิ มิซูตะ - นักพากย์
- อิจิโซะ นากาตะ - นักฟุตบอลอาชีพ
- โคจิ นิชิมูระ - นักฟุตบอลอาชีพ
- คิปเป ชีนะ - นักแสดง
- ชิโยโนกูนิ โทชิกิ - นักมวยปล้ำซูโม่
- คาซูฮิโระ ยามาจิ - นักแสดง นักพากย์
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สถิติทางการของนครอิงะ" (ภาษาญี่ปุ่น). ประเทศญี่ปุ่น.
- ↑ 2.0 2.1 平年値(年・月ごとの値) (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ February 17, 2017.
- ↑ 観測史上1~10位の値(年間を通じての値) (ภาษาญี่ปุ่น). (1981–2010). สืบค้นเมื่อ February 19, 2017.
- ↑ สถิติประชากรอิงะ
- ↑ "Escolas Brasileiras Homologadas no Japão" (Archive). Embassy of Brazil in Tokyo. Retrieved on October 13, 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการของนครอิงะ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- คู่มือการท่องเที่ยว Iga จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ อิงะ ที่โอเพินสตรีตแมป