ฮอรอปเตอร์
บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากชื่อเป็นศัพท์เฉพาะทางของประสาทวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถานยังไม่บัญญัติภาษาไทย |
ในการศึกษาเรื่องการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา ฮอรอปเตอร์ (horopter) หมายถึงเส้น/ผิว ที่จุดต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งอยู่บนเส้น/ผิวนั้น จะมองเห็นเป็นจุดเดียวด้วยตาทั้งสองเมื่อไม่ขยับ[1] อีกอย่างหนึ่ง หมายถึงผิว (ในจินตนาการ) ที่วิ่งผ่านจุดตรึงตา ภาพที่เกิดจากสิ่งเร้าที่ปรากฏบนผิวนี้ จะตกลงที่จุดซึ่งสอดคล้องกันของจอตาทั้งสอง[2] วัตถุที่ปรากฏบนผิวนี้ จะปรากฏว่าใกล้ไกลเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามองผู้หญิงเป็นจุดตรึงตา และมีต้นไม้ที่อยู่ติดกับผิวจินตนาการ (horopter) ที่วิ่งผ่านจุดตรึงตา ผู้หญิงและต้นไม้จะปรากฏว่าอยู่ไกลเท่ากันจากผู้ดู[3] ภาพที่ปรากฏนอกผิวนี้ อาจปรากฏเป็นภาพซ้อน[4] ปรากฏการณ์นี่สามารถเห็นได้เมื่อชี้วัตถุที่อยู่ไกลด้วยนิ้ว ถ้าตรึงตาดูที่ปลายนิ้ว ก็จะเห็นนิ้วนิ้วเดียว แต่จะเห็นวัตถุที่ไกลเป็นภาพซ้อน ถ้าตรึงตาดูวัตถุที่อยู่ไกล ก็จะเห็นเป็นภาพเดียว แต่จะเห็นปลายนิ้วมือเป็นภาพซ้อน
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "Merriam Webster".
noun. the line or surface in which are situated all the points which are seen single while the point of sight, or the adjustment of the eyes, remains unchanged.
- ↑ Goldstein 2014, Glossary, pp. 407 "An imaginary surface that passes through the point of fixation. Images caused by a visual stimulus on this surface fall on corresponding points on the two retinas."
- ↑ Goldstein 2014, Chapter 10 - Perceiving Depth and Size, pp. 236
- ↑ Bingushi, K.; Yukumatsu, S. (2005). "Disappearance of a monocular image in Panum's limiting case". Japanese Psychological Research. 47 (3): 223–229. doi:10.1111/j.1468-5884.2005.00291.x.