ข้ามไปเนื้อหา

วัคซีนเอชพีวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก HPV vaccines)
วัคซีนเอชพีวี
รายละเอียดวัคซีน
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้human papillomavirus
ชนิดProtein subunit
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าGardasil, Cervarix
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: B (ไม่มีความเสี่ยงในสัตว์)
ช่องทางการรับยาinjection
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ตัวบ่งชี้
ChemSpider
  • none
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

วัคซีนเอชพีวี (HPV ย่อมาจาก Human Papilloma Virus) หรือวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เป็นวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอชพีวีบางสายพันธุ์ [1]  ขณะนี้วัคซีนที่มีอยู่หลายชนิด สามารถป้องกันการติดเชื้อ ได้ 2 สายพันธุ์, 4 สายพันธุ์ หรือ 9 สายพันธุ์แล้วแต่ชนิดของวัคซีน อย่างไรก็ดีวัคซีนเอชพีวี [1][2] ทุกชนิดอย่างน้อยจะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก  มีการประมาณการว่าวัคซีนต่อไวรัส 2 ชนิดนี้จะช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 70,  ป้องกันมะเร็งทวารหนักได้ร้อยละ 80, ป้องกันมะเร็งช่องคลอดได้ร้อยละ 60, ป้องกันมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของเพศหญิง(Vulva)ได้ร้อยละ 40 และอาจจะช่วยป้องกันมะเร็งช่องปากได้บางส่วน [3][4][5]   ส่วนวัคซีนเอชพีวีที่มี 4 หรือ 9 สายพันธุ์นั้นได้มีการเพิ่มการป้องกันต่อไวรัสกลุ่มเอชพีวีสายพันธุ์อื่นๆที่ก่อให้เกิดโรคหูดของอวัยวะสืบพันธุ์ร่วมด้วย[1]

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้วัคซีนเอชพีวีเป็นส่วนหนึ่งของวัคซีนพื้นฐาน สำหรับประเทศที่มีงบประมาณเพียงพอ ควบคู่กับมาตรการป้องกันมะเร็งปากมดลูกวิธีอื่นๆ  จำนวนครั้งของการให้วัคซีนจะมีความแตกต่างกันตามแต่ละช่วงอายุ สำหรับเด็กหญิง แนะนำให้ให้วัคซีนในช่วงอายุ 9-13 ปี จากข้อมูลที่มีตอนนี้วัคซีนสามารถให้การคุ้มกันได้อย่างน้อย 8 ปี ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกยังคงมีความจำเป็นถึงแม้ว่าจะได้รับวัคซีนเอชพีวีแล้วก็ตาม นอกจากการที่วัคซีนจะมีประโยชน์ต่อตัวผู้ฉีดเองแล้ว หากประชากรส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน จะส่งผลดีกับประชากรอื่นๆผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนด้วย[6] อย่างไรก็ดีวัคซีนไม่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีการติดเชื้อแล้ว[1]

วัคซีนเอชพีวีมีความปลอดภัยสูง อาการไม่พึงประสงค์ในผู้ที่ได้รับวัคซีน ได้แก่ รู้สึกเจ็บปวดบริเวณที่ฉีด (ร้อยละ 80) โดยอาจมีอาการแดงบวมหรือมีไข้ร่วมด้วย  ไม่พบความเชื่อมโยงกับการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดกีแลงบาเร่ (Guillain-Barre syndrome)[1]

วัคซีนเอชพีวีชนิดแรกเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ.2006) จนถึงกระทั่งปี พ.ศ. 2557 (ค.ศ.2014) มีจำนวน 58 ประเทศ ที่บรรจุให้วัคซีนเอชพีวีเป็นวัคซีนพื้นฐานอย่างน้อยสำหรับเด็กผู้หญิง[1] วัคซีนเอชพีวียังอยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นของอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) ซึ่งเป็นทะเบียนรวบรวมรายการยาที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของระบบสุขภาพ[7] ราคาขายส่งโดยประมาณของการฉีดวัคซีนในปีพ.ศ. 2557 อยู่ที่เข็มละ 47 เหรียญสหรัฐอเมริกา[8] และในสหรัฐอเมริกาค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนเอชพีวีทั้งคอร์สมากกว่า 200 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี[9] การศึกษาพบว่าการให้วัคซีนเอชพีวีอาจมีความคุ้มค่าในประเทศกำลังพัฒนา[10]

ตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสาธารณสุข กำหนดให้วัคซีน HPV เป็นวัคซีนมาตรฐานสำหรับเด็กไทย มีกำหนดให้วัคซีนนี้แก่นักเรียนหญิงชั้น ป.5 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Human papillomavirus vaccines: WHO position paper, October 2014" (PDF). Weekly epidemiological record. 43 (89): 465-492. Oct 24, 2014. PMID 25346960.
  2. Kash, N; Lee, MA; Kollipara, R; Downing, C; Guidry, J; Tyring, SK (3 April 2015). "Safety and Efficacy Data on Vaccines and Immunization to Human Papillomavirus". Journal of clinical medicine. 4 (4): 614–33. PMID 26239350.
  3. De Vuyst, H; Clifford, GM; Nascimento, MC; Madeleine, MM; Franceschi, S (1 April 2009). "Prevalence and type distribution of human papillomavirus in carcinoma and intraepithelial neoplasia of the vulva, vagina and anus: a meta-analysis". International journal of cancer. Journal international du cancer. 124 (7): 1626–36. PMID 19115209.
  4. Takes, RP; Wierzbicka, M; D'Souza, G; Jackowska, J; Silver, CE; Rodrigo, JP; Dikkers, FG; Olsen, KD; Rinaldo, A; Brakenhoff, RH; Ferlito, A (December 2015). "HPV vaccination to prevent oropharyngeal carcinoma: What can be learned from anogenital vaccination programs?". Oral oncology. 51 (12): 1057–60. PMID 26520047.
  5. Thaxton, L; Waxman, AG (May 2015). "Cervical cancer prevention: immunization and screening 2015". The Medical clinics of North America. 99 (3): 469–77. PMID 25841595.
  6. Saville, AM (30 November 2015). "Cervical cancer prevention in Australia: Planning for the future". Cancer cytopathology. PMID 26619381.
  7. "19th WHO Model List of Essential Medicines (April 2015)" (PDF). WHO. April 2015. สืบค้นเมื่อ May 10, 2015.
  8. "Vaccine, Hpv". International Drug Price Indicator Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-17. สืบค้นเมื่อ 6 December 2015.
  9. Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 314. ISBN 9781284057560.
  10. Fesenfeld, M; Hutubessy, R; Jit, M (20 August 2013). "Cost-effectiveness of human papillomavirus vaccination in low and middle income countries: a systematic review". Vaccine. 31 (37): 3786–804. PMID 23830973.
  11. "แผนปฏิบัติงานโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563" (PDF). กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-20. สืบค้นเมื่อ 24 September 2020.