ข้ามไปเนื้อหา

แร้งเครา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Gypaetus)
แร้งเครา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Accipitriformes
วงศ์: Accipitridae
วงศ์ย่อย: Gypaetinae
สกุล: Gypaetus
Storr, 1784
สปีชีส์: G.  barbatus
ชื่อทวินาม
Gypaetus barbatus
(Linnaeus, 1758)
แผนที่การกระจายพันธุ์

แร้งเครา (อังกฤษ: Bearded vulture, Lammergeier[1], Ossifrage; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gypaetus barbatus) นกล่าเหยื่อขนาดใหญ่จำพวกแร้งชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทแร้งโลกเก่า โดยเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Gypaetus[2]

แร้งเครา เป็นแร้งขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับแร้งชนิดอื่น ๆ จะมีขนาดใหญ่กว่า และมีลักษณะที่แตกออกไปจากแร้งทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด คือ ส่วนหัวจะมีขนปุกปุยต่างจากแร้งทั่วไปที่หัวและลำคอจะล้านเลี่ยน สีของขนตามลำตัวเป็นสีเหลือง ส่วนหัวสีขาวเป็นสัญลักษณะบ่งบอกว่า แร้งตัวนั้นโตเต็มวัยแล้ว และมีกระจุกขนสีดำบริเวณจะงอยปากล่างแลดูคล้ายเครา อันเป็นที่มาของชื่อ

ตัวโตเต็มที่ขณะบิน
ตัวโตเต็มที่ขณะบิน
Winter coat
สีของใบหน้าตัวที่ยังไม่โตเต็มที่

แร้งเครา มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 95–125 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 4.5–9.9 กิโลกรัม ความยาวปีกเมื่อกางเต็มที่เกือบ 10 ฟุต มีเอกลักษณะในการบินเฉพาะตัว มีสายตารวมถึงประสาทในการดมกลิ่นอย่างดีเยี่ยม

กระจายพันธุ์ตามเทือกเขาสูงในทวีปยุโรปตอนใต้, แอฟริกา จนถึงอินเดีย และทิเบต เช่น เทือกเขาแอลป์ ทำรังและวางไข่บนหน้าผาสูงสำหรับใช้หลบหลีกจากสัตว์นักล่าชนิดต่าง ๆ ที่มารังควาญได้

นอกจากจะกินเนื้อและซากสัตว์ต่าง ๆ เหมือนแร้งชนิดอื่นแล้ว แร้งเครายังมีพฤติกรรมและชื่นชอบอย่างมากในการกินกระดูกด้วย สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะอาหารขาดแคลนด้วยปัจจัยของถิ่นที่อยู่อาศัยที่ทำให้หาอาหารได้ยากและสภาพอากาศที่หนาวเย็น เคยมีผู้พบแร้งเคราคาบกระดูกสัตว์ชิ้นใหญ่ เชื่อว่าเป็นกระดูกของแกะบินขึ้นไปในอากาศที่จุดสูงสุด และทิ้งลงไปให้แตกเป็นชิ้นละเอียดกับพื้น ก่อนจะบินลงมากินทั้งหมดลงไปในกระเพาะ[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 BirdLife International (2013). "Gypaetus barbatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
  2. "Gypaetus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 2016-10-27.
  3. หน้า 7 จุดประกาย, แร้งเครา เจ้าเวหา. กรุงเทพธุรกิจ. วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Gypaetus barbatus ที่วิกิสปีชีส์