ข้ามไปเนื้อหา

เนื้อเทา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Grey matter)
เนื้อเทา (Grey matter)
การเกิดขึ้นของประสาทไขสันหลังที่รากส่วนหลัง (dorsal root) และรากส่วนหน้า (ventral root) เนื้อเทามีป้ายบอกชื่ออยู่ด้านขวาตรงกลาง
ภาพถ่ายขยายแสดงเนื้อเทา ซึ่งมีตัวเซลล์ประสาทเป็นตัวบ่งลักษณะเฉพาะ (ด้านขวาของรูปที่มีสีเข้มกว่า) และเนื้อขาว (white matter) ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ ตาข่ายเป็นตัวบ่งลักษณะเฉพาะ (ด้านซ้ายของรูปที่มีสีอ่อนกว่า)
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินSubstantia grisea
MeSHD066128
TA98A14.1.00.002
A14.1.02.020
A14.1.04.201
A14.1.05.201
A14.1.05.401
A14.1.06.301
TA25365
FMA67242
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

เนื้อเทา (อังกฤษ: Grey matter หรือ อังกฤษ: Gray matter, ละติน: Substantia grisea) เป็นส่วนสำคัญของระบบประสาทกลาง ซึ่งประกอบด้วยตัวเซลล์ neuropil (คือเดนไดรท์ และแอกซอนไม่มีปลอกไมอีลิน) เซลล์เกลีย และหลอดเลือดฝอย (capillary) เนื้อเทามีตัวเซลล์ประสาท ซึ่งแตกต่างจากเนื้อขาว (white matter) ซึ่งมีแต่แอกซอนมีปลอกไมอีลินและไม่มีเซลล์ประสาท[1] สีของเนื้อขาวเกิดจากสีขาวของปลอกไมอีลินซึ่งไม่เหมือนกับเนื้อเทา ในเนื้อเยื่อที่มีชีวิต เนื้อเทามีสีเทาแกมน้ำตาล ที่มีต้นเหตุจากหลอดเลือดฝอยและตัวเซลล์ประสาท[2]

บทบาทหน้าที่

[แก้]

เขตสมองที่เป็นเนื้อเทารวมทั้งเขตที่ควบคุมกล้ามเนื้อ เขตที่มีการรับรู้เช่นการเห็นและการได้ยิน เขตความจำ เขตที่ก่อให้เกิดอารมณ์คือความรู้สึก และเขตการพูด ในขณะที่ 20% ของออกซิเจนในร่างกายถูกส่งไปที่สมอง 95% ของส่วนออกซิเจนนั้นถูกส่งไปยังเนื้อเทา[3]

ที่อยู่อันกระจัดกระจายของเนื้อเทา

[แก้]

เนื้อเทามีอยู่อย่างกระจัดกระจายไปที่พื้นผิวของเซรีบรัลเฮมิสเฟียร์ (cerebral hemisphere) ทั้งสองข้าง (คือในเปลือกสมอง) และของซีรีเบลลัม (คอร์เทกซ์สมองน้อย) และในส่วนต่างๆข้างในของซีรีบรัม (คือ ทาลามัส, ไฮโปทาลามัส, ซับทาลามัส [subthalamus], ปมประสาทฐาน [basal ganglia] รวมทั้ง putamen, globus pallidus, globose nucleus, septal nuclei) ของสมองน้อย (นิวเคลียสของสมองน้อยที่อยู่ด้านในรวมทั้ง dentate nucleus, globose nucleus, emboliform nucleus, fastigial nucleus) ของก้านสมอง (substantia nigra, red nucleus, olivary nuclei, cranial nerve nuclei) และของเนื้อเทาของไขสันหลัง (anterior horn, lateral horn, posterior horn) เนื้อเทามีการเจริญเติบโตขึ้นตลอดในวัยเด็กและวัยรุ่น[4]

งานวิจัย

[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและการรับรู้ในคนสูงวัย

[แก้]

มีผลงานวิจัยที่แสดงถึงความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างปริมาตรเนื้อเทาของผู้สูงวัย กับสมรรถภาพของความจำโดยความหมาย (semantic memory) และของความจำระยะสั้น แต่ไม่พบความสัมพันธ์กันกับปริมาตรของเนื้อขาว ซึ่งบอกเป็นนัยว่า ในการทำงานของระบบการรับรู้บางอย่างที่ทรงสภาพไว้แม้จะเข้าสู่วัยชรา ความแตกต่างกันในระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของปริมาตรเนื้อเทาในผู้ชราที่มีสุขภาพดี[5]

ความสัมพันธ์กันระหว่างปริมาตรและโรคจิตแบบสองขั้ว (bipolar disorder)

[แก้]

ความแตกต่างโดยโครงสร้างบางอย่างในเนื้อเทา อาจจะมีความสัมพันธ์กับโรคจิตบางอย่าง แต่ไม่มีความแตกต่างกันในปริมาตรเนื้อเทาของสมองทั้งหมดระหว่างคนไข้โรคจิตสองขั้วประเภท 1 (bipolar I disorder) และผู้ทดลองกลุ่มควบคุมที่สุขภาพดี คนไข้โรคจิตสองขั้วประเภท 1 มีปริมาตรที่ต่ำกว่าของสมองกลีบขมับย่อยด้านล่าง (inferior parietal lobule) รอยนูนกลีบขมับด้านบนซีกขวา รอยนูนสมองกลีบหน้าส่วนกลางซีกขวา (middle frontal gyrus) และนิวเคลียสมีหางซีกซ้าย (caudate nucleus) ปริมาตรของรอยนูนสมองกลีบหน้าส่วนกลางซีกขวาเท่านั้น มีความสัมพันธ์กับอายุขัยของโรคและจำนวนคราวที่โรคกำเริบ[6]

ผลที่เกิดเพราะสูบบุหรี่

[แก้]

ผู้สูบบุหรี่สูงวัยสูญเสียเนื้อเทาและการรับรู้มากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ผู้ติดบุหรี่เรื้อรังที่เลิกบุหรี่ระหว่างงานวิจัยสูญเสียเซลล์ประสาทน้อยกว่า และรักษาไว้ซึ่งสติปัญญาดีกว่าผู้ที่ไม่เลิก[7]

ผลเกิดขึ้นจากการถูกทำความทารุณในวัยเด็ก

[แก้]

เด็กวัยรุ่นที่ถูกทำความทารุณในวัยเด็ก หรือถูกละเลย มีเนื้อเทาในคอร์เท็กซ์สมองกลีบหน้าผากส่วนหน้า ที่น้อยลง[8]

หมายเหตุและเชิงอรรถ

[แก้]
  1. Purves, Dale, George J. Augustine, David Fitzpatrick, William C. Hall, Anthony-Samuel LaMantia, James O. McNamara, and Leonard E. White (2008). Neuroscience. 4th ed. Sinauer Associates. pp. 15–16. ISBN 978-0-87893-697-7.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Kolb & Whishaw: Fundamentals of Human Neuropsychology (2003) page 49
  3. Miller, A. K. H. (28 June 2008). "VARIATION WITH AGE IN THE VOLUMES OF GREY AND WHITE MATTER IN THE CEREBRAL HEMISPHERES OF MAN: MEASUREMENTS WITH AN IMAGE ANALYSER". Neuropathology and Applied Neurobiology. 6 (2): 119–132. doi:10.1111/j.1365-2990.1980.tb00283.x. PMID 7374914. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  4. Sowell, Elizabeth (15 November 2001). "Mapping Continued Brain Growth and Gray Matter Density Reduction in Dorsal Frontal Cortex: Inverse Relationships during Postadolescent Brain Maturation". The Journal of Neuroscience. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  5. Taki, Y., Kinomura, S., Sato, K., Goto, R., Wu, K., Kawashima, R., & Fukuda, H. "Correlation between gray/white matter volume and cognition in healthy elderly people". Brain and Cognition. สืบค้นเมื่อ 2011-04-21.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Li, M., Cui, L., Deng, W., Ma, X., Huang, C., Jiang, L., & ... Li, T. "Voxel-based morphometric analysis on the volume of gray matter in bipolar I disorder". Psychiatry Research: Neuroimaging. สืบค้นเมื่อ 2011-04-21.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Almeida, Osvaldo. "Smoking causes brain cell loss and cognitive decline". NeuroImage. สืบค้นเมื่อ 2011-04-21.
  8. http://news.yale.edu/2011/12/05/past-abuse-leads-loss-gray-matter-brains-adolescents-0

แหล่งข้อมูลอื่นๆ

[แก้]
  • Gray+matter จากเว็บไซต์ eMedicine Dictionary

[[หมวดหมู่::ประสาทกายวิภาคศาสตร์]]