ข้ามไปเนื้อหา

กล้องโทรทรรศน์แบบเกรกอรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Gregorian telescope)
ทางเดินแสงในกล้องโทรทรรศน์แบบเกรกอรี

กล้องโทรทรรศน์แบบเกรกอรี (Gregorian telescope) เป็นกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่คิดค้นโดยเจมส์ เกรกอรี นักคณิตศาสตร์ ชาวสกอตแลนด์[1]

ประวัติการคิดค้น

[แก้]

เจมส์ เกรกอรีได้เผยแพร่หลักการสร้างกล้องโทรทรรศน์ที่สามารถรับภาพตั้งตรงโดยใช้กระจกเงาปฐมภูมิเว้าทรงพาราโบลาและกระจกเงาทุติยภูมิเว้าทรงรีนี้ในปี 1663[2] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระดับเทคโนโลยีในขณะนั้น การขัดเงาที่แม่นยำหรือการปรับแกนเชิงแสงที่ยังไม่ดีพอ จึงเป็นการยากที่จะทำเป็นผลิตผลิตภัณฑ์ใช้จริงได้[1]

การผลิตจำนวนมาก

[แก้]

แม้ว่าการผลิตกล้องโทรทรรศน์ชนิดนี้เพื่อใช้งานจริงจะตามหลังกล้องโทรทรรศน์แบบนิวตันซึ่งทำง่ายและถูกใช้อย่างกว้างขวางกว่า แต่ในยุคที่กระจกเงาโลหะถูกนำมาใช้ กล้องชนิดนี้ก็เริ่มนิยมนำมาใช้เป็นกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินในสหราชอาณาจักร เพราะเป็นไปได้ที่จะได้ภาพที่ตั้งตรงโดยตรง[3] ตัวอย่างเช่นในช่วง 36 ปีตั้งแต่ปี 1732 ถึง 1768 กล้องชนิดนี้ได้ถูกสร้างขึ้นโดย เจ. ชอร์ต ถึงกว่า 1,400 เครื่อง เท่ากับว่ามากกว่า 3 เครื่องต่อเดือน ซึ่งบางส่วนยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดที่ผลิตโดย เจ. ชอร์ต มีเส้นผ่านศูนย์กลางกระจกเงาปฐมภูมิ 55 ซม. และความยาวโฟกัส 3.65 ม. ตัวอย่างที่ผลิตขึ้นในปี 1742 มีเส้นผ่านศูนย์กลางกระจกเงาปฐมภูมิเท่ากับ φ58 มม. ทางยาวโฟกัส 244 มม. เส้นผ่านศูนย์กลางกระจกเงาทุติยภูมิเท่ากับ φ38 มม. ระยะห่างระหว่างกระจกเงาสองบานเป็น 286 มม. และความยาวโฟกัสรวมเป็น 2,400 มม. เมื่อนำมาใช้ร่วมกับเลนส์ใกล้ตาแบบเฮยเคินส์ ซึ่งมีความยาวโฟกัส 42 มม. ก็จะขยายได้ 57 เท่า มุมมองคือ φ18 องศา

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 吉田正太郎 1988.
  2. "歴史的な望遠鏡の光学精度を推理する", 天体望遠鏡のすべて'81年版, pp. 50–57
  3. 吉田正太郎 1988, pp. 53–70.