การก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า
การก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า | |||||||||||||||||||||||
เตาหลอมหลังบ้านสำหรับผลิตเหล็กดิบยังคงทำงานในเวลาค่ำคืนในชนบทของจีน ภาพถ่ายปี 1958 | |||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 大躍進 | ||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
การก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า (อังกฤษ: Great Leap Forward; จีน: 大跃进) หรือแผนห้าปีฉบับที่สอง ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการรณรงค์ทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งมีพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) เป็นผู้นำระหว่างปี 1958 ถึง 1962 ประธานเหมา เจ๋อตงเปิดฉากการณรงค์เพื่อบูรณะประเทศจากเศรษฐกิจการเกษตรเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ผ่านการตั้งคอมมูนประชาชน เหมาสั่งการเร่งความพยายามให้เพิ่มผลผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นทวีคูณ และขยายอุตสาหกรรมออกสู่ชนบท ข้าราชการท้องถิ่นต่างกริ่งเกรงการรณรงค์ต่อต้านฝ่ายขวาและแข่งกันบรรลุให้เท่าหรือมากกว่าโควตาตามข้ออ้างที่เกินจริงของเหมา โดยเก็บรวบรวม "ส่วนเกิน" ซึ่งไม่มีอยู่จริงแล้วปล่อยให้เกษตรกรอดอยาก ข้าราชการระดับสูงไม่กล้ารายงานภัยพิบัติทางเศรษฐกิจที่เกิดจากนโยบายเหล่านี้ และข้าราชการระดับชาติโทษว่าผลผลิตอาหารที่ลดลงเกิดจากลมฟ้าอากาศที่เลว และไม่ดำเนินการใดหรือดำเนินการน้อยมาก การก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบล้านคน[1] โดยมีประมาณพิสัยระหว่าง 18 ถึง 45 ล้านคน[2] อัตราการเกิดเสียชีวิตหรือเลื่อนไปจำนวนประมาณเท่า ๆ กัน ทำให้ทุพภิกขภัยจีนใหญ่ เป็นทุพภิกขภัยใหญ่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ[3]
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวจีนในชนบทที่สำคัญ ได้แก่ การค่อย ๆ เพิ่มการรวมอำนาจการผลิตเกษตกรรมแบบบังคับ มีคำสั่งห้ามการกสิกรรมของเอกชน และผู้ที่ประกอบกสิกรรมดังกล่าวถูกบีฑาหรือตีตราว่าเป็นผู้ต่อต้านการปฏิวัติ การจำกัดประชากรชนบทมีการใช้บังคับผ่านการประชุมเพื่อรีดคำสารภาพ (struggle session) และการกดดันทางสังคม นอกจากนี้ยังเผชิญกับการบังคับใช้แรงงานด้วย[4] การทำให้ชนบทเป็นอุตสาหกรรมซึ่งเป็นลำดับความสำคัญของการรณรงค์อย่างเป็นทางการ พบว่า "การพัฒนา... ถูกยกเลิกโดยข้อผิดพลาดของการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า"[5] นโยบายดังกล่าวเป็นหนึ่งในสองช่วงเวลาระหว่างปี 1953 ถึง 1976 ที่เศรษฐกิจจีนหดตัว[6]
ในปี 1959 เหมา เจ๋อตงยกตำแหน่งผู้นำบริหารประจำวันแก่นักคิดสายกลางเน้นปฏิบัติอย่างหลิว เช่าฉีและเติ้ง เสี่ยวผิง และ CPC ศึกษาความเสียหายที่เกิดขึ้นในการประชุมปี 1960 และ 1962 เหมาไม่ยอมถอนนโยบายนี้และกลับโทษปัญหาว่าเกิดจากการนำไปปฏิบัติที่เลวและ "ฝ่ายขวา" ที่คัดค้านเขา เขาริเริ่มการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในปี 1966 เพื่อกำจัดการต่อต้านและรวบอำนาจของเขา นอกจากนี้ มีการสร้างเขื่อนนับสิบแห่งในจูหม่าเตี้ยน มณฑลเหอหนาน ซึ่งแตกในปี 1975 ระหว่างการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าภายใต้อิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นนีนา ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติจากฝีมือมนุษย์ครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ โดยมียอดผู้เสียชีวิตโดยประมาณระหว่างหลายหมื่นถึง 240,000 คน[7][8][9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Tao Yang, Dennis (2008). "China's Agricultural Crisis and Famine of 1959–1961: A Survey and Comparison to Soviet Famines" เก็บถาวร 2013-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Palgrave MacMillan, Comparative Economic Studies 50, pp. 1–29.
- ↑ "45 million died in Mao's Great Leap Forward, Hong Kong historian says in new book". 2018-12-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-23. สืบค้นเมื่อ 2016-12-02.
At least 45 million people died unnecessary deaths during China's Great Leap Forward from 1958 to 1962, including 2.5 million tortured or summarily killed, according to a new book by a Hong Kong scholar. Mao's Great Famine traces the story of how Mao Zedong's drive for absurd targets for farm and industrial production and the reluctance of anyone to challenge him created the conditions for the countryside to be emptied of grain and millions of farmers left to starve.
- ↑ Smil, Vaclav (1999-12-18). "China's great famine: 40 years later". BMJ (Clinical Research Ed.). 319 (7225): 1619–1621. doi:10.1136/bmj.319.7225.1619. PMC 1127087. PMID 10600969.
(...) the world's largest famine: between the spring of 1959 and the end of 1961 some 30 million Chinese starved to death and about the same number of births were lost or postponed. The famine had overwhelmingly ideological causes, rating alongside the two world wars as a prime example of what Richard Rhodes labelled public manmade death, perhaps the most overlooked cause of 20th century mortality. (...) Yet it has still not undertaken an open, critical examination of this unprecedented tragedy. (...) The origins of the famine can be traced to Mao Zedong's decision, supported by the leadership of China's communist party, to launch the Great Leap Forward.
- ↑ Mirsky, Jonathan. "The China We Don't Know เก็บถาวร 2015-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." New York Review of Books Volume 56, Number 3. February 26, 2009.
- ↑ Perkins, Dwight (1991). "China's Economic Policy and Performance" เก็บถาวร 2019-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Chapter 6 in The Cambridge History of China, Volume 15, ed. by Roderick MacFarquhar, John K. Fairbank and Denis Twitchett. Cambridge University Press.
- ↑ GDP growth in China 1952–2015 เก็บถาวร 2013-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Cultural Revolution was the other period during which the economy shrank.
- ↑ "1975年那个黑色八月(上)(史海钩沉)". Renmin Wang (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-06. สืบค้นเมื่อ 2020-03-25.
- ↑ IChemE. "Reflections on Banqiao". Institution of Chemical Engineers. สืบค้นเมื่อ 2020-03-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Ecologists dread new dam boom - GlobalTimes". www.globaltimes.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-23. สืบค้นเมื่อ 2020-03-25.