เต่ายักษ์กาลาปาโกส
เต่ายักษ์กาลาปาโกส ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยโฮโลซีน - ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
![]() | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ![]() | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน |
อันดับ: | เต่า |
อันดับย่อย: | เต่า Cryptodira |
วงศ์ใหญ่: | Testudinoidea |
วงศ์: | Testudinidae |
สกุล: | Chelonoidis (Quoy & Gaimard, 1824) |
สปีชีส์: | Chelonoidis niger |
ชื่อทวินาม | |
Chelonoidis niger (Quoy & Gaimard, 1824) | |
ชนิดย่อย[2] | |
ชื่อพ้อง | |
ดูส่วนนี้ |
เต่ายักษ์กาลาปาโกส หรือ เต่ากาลาปาโกส (อังกฤษ: Galápagos tortoise, Galápagos giant tortoise; ชื่อวิทยาศาสตร์: Chelonoidis nigra) สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกเต่า จัดเป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง
นับเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีลักษณะเด่น คือ กระดองหนา มีสีเทาเข้มจนถึงสีดำ มีคอที่ยาวมากเพื่อใช้ในการหาอาหาร หัวมีขนาดเล็ก ตัวผู้มีกระดองยาว 122 เซนติเมตร น้ำหนักได้ถึง 250 กิโลกรัม ตัวเมียจะตัวเล็กกว่า กระดองยาว 91 เซนติเมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 159 กิโลกรัม วางไข่ประมาณ 9-25 ฟอง ไข่จะฟักในอุณหภูมิประมาณ 35-40 องศาเซลเซียส แต่จะเหลือลูกเต่าไม่ถึงครึ่งที่มีชีวิตรอดจากการวางไข่แต่ละครั้ง ชอบอาศัยในที่พุ่มไม้เตี้ย ในบึง และเนินทรายชายฝั่ง และมีอายุยืนได้นานมากกว่า 100 ปี หรือเกือบ ๆ 200 ปี[3][4]
เต่ายักษ์กาลาปาโกส เป็นเต่าที่กินพืชเป็นอาหาร โดยสามารถกินพืชที่ขึ้นที่แห้งแล้งชนิดต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย รวมถึงพืชที่มีหนามแหลมอย่างกระบองเพชรด้วย และจากการศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์พบว่าเมื่อถึงฤดูแล้งที่สภาพอาหารเหือดแห้ง เต่ายักษ์กาลาปาโกสสามารถปรับตัวให้หัวใจเต้นเพียงครั้งละ 1 ครั้งต่อ 1 นาทีได้ด้วย เพื่อประหยัดพลังงานในการเผาผลาญอาหาร และในช่วงฤดูผสมพันธุ์ จากการติดเครื่องติดตามดาวเทียมพบว่า เต่ายักษ์กาลาปาโกสมีพื้นที่อพยพ 6 ไมล์ จากยอดภูเขาไฟอัลเซโด มาจนถึงระดับน้ำทะเล เพื่อผสมพันธุ์ ซึ่งบางตัวอาจใช้เวลาเดินทางนานถึง 2 เดือน [5]
จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่พบเฉพาะบนหมู่เกาะกาลาปาโกส กลางมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ในเขตของประเทศเอกวาดอร์เท่านั้น และก็ได้มีชนิดย่อยแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของกระดอง และขนาดลำตัว ซึ่งจะอาศัยกระจายกันไปตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปาโกส และเกาะอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เป็นไปตามทฤษฎีวิวัฒนาการที่กระดองของเต่าจะปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะการกินอาหารตามแต่ละภูมิประเทศที่อาศัย เช่น บ้างก็เว้าตรงคอ, บ้างก็โค้งกลมเหมือนโดม หรือบ้างก็เหมือนอานม้า โดยสามารถแบ่งออกได้ถึง 14 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) และบางชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้วเช่นกัน[6]
โดยเต่ายักษ์กาลาปาโกส มีชื่อเสียงอย่างยิ่ง เมื่อ ชาร์ลส์ ดาร์วิน นักชีววิทยาชาวอังกฤษ ได้เดินทางมายังที่นี่เมื่อปี ค.ศ. 1835 ดาร์วินได้พบกับเต่ายักษ์กาลาปาโกสครั้งแรก เมื่อเต่ายักษ์กาลาปาโกสเดินออกมาจากพุ่มไม้หนาม และกัดกินใบของพืชตระกูลแอปเปิลที่มีพิษเป็นอาหาร[5] และดาร์วินสังเกตว่า กระดองเต่าที่อาศัยอยู่บนเกาะต่าง ๆ กันนั้นมีรูปร่างต่างกัน ซึ่งข้อสังเกตการณ์นั้นกลายเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติที่ดาร์วินเสนอขึ้นมา จนโด่งดังมีชื่อเสียงขึ้นมา
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f3/Gal%C3%A1pagos_tortoise_shell_in_Pata_Zoo_1.jpg/250px-Gal%C3%A1pagos_tortoise_shell_in_Pata_Zoo_1.jpg)
โดยเต่ายักษ์กาลาปาโกสตัวที่มีชื่อเสียง ได้แก่ "จอร์จผู้เดียวดาย" ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี เป็นตัวผู้ได้ตายลงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2012 จอร์จเป็นเต่าชนิดย่อย C. n. abingdonii ที่เป็นชนิดที่พบบนเกาะพินต้า ซึ่งเป็นเกาะที่เล็กที่สุดของหมู่เกาะกาลาปาโกส[4] และเชื่อกันว่าจอร์จนี้เป็นตัวสุดท้ายของโลกของเต่าชนิดย่อยนี้ เป็นเต่าในสถานที่เลี้ยงในกรุงกีโต เมืองหลวงของเอกวาดอร์มีความพยายามจากนักวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายครั้งที่จะพยายามเพาะขยายพันธุ์ ด้วยการให้จอร์จผสมพันธุ์กับเต่าตัวเมีย แต่ก็ไม่สำเร็จเมื่อเต่าตัวเมียวางไข่ 2 ครั้ง แต่ก็เป็นหมันทั้งหมด เพราะจอร์จอายุมากแล้ว จึงได้รับชื่อว่า "จอร์จผู้เดียวดาย"[7][4]
ปัจจุบัน มีเต่ายักษ์กาลาปาโกสอาศัยอยู่ในธรรมชาติประมาณ 20,000 ตัว ซึ่งเป็นผลมาจากการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ จากที่เคยเหลืออยู่แค่ 3,000 ตัว เมื่อปี ค.ศ. 1974 จากการถูกรุกรานและฆ่าโดยมนุษย์[7] โดยศูนย์เพาะขยายพันธุ์ใหญ่ที่สุด คือ สถานีวิจัยชาร์ลส์ ดาร์วิน บนเกาะซานตาครูซ ของหมู่เกาะกาลาปาโกส ซึ่งมีด้วยกันหลายจุด ครอบคลุมเต่ายักษ์กาลาปาโกสทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เกิดจนตาย เต่าวัยอ่อนอายุไม่เกิน 2 ปี จะถูกดูแลเป็นอย่างดีให้พ้นจากศัตรูตามธรรมชาติที่มีอยู่มากมาย โดยบนกระดองจะมีการแต้มสีต่าง ๆ เป็นจุด เพื่อเรียกแทนค่าหมายเลขประจำตัว ตามชนิดย่อยที่แตกต่างกันตามไปตามเกาะที่เป็นแหล่งต้นกำเนิด ซึ่งเต่ายักษ์กาลาปาโกสจะอาศัยอยู่ที่นี่จนอายุได้ 4-6 ปี และผ่านการวัดขนาดความกระดองให้ได้ประมาณ 20-25 เซนติเมตร จึงถือว่าเติบโตได้ตามปกติ และนำไปปล่อยสู่แหล่งเลี้ยงที่มีการจัดสภาวะแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด [8]
และมีรายงานจากนักวิทยาศาสตร์พบว่า ยังมีเต่าในชนิดย่อยต่าง ๆ อาศัยอยู่ยังเกาะที่ห่างไกลออกไปกว่า 300 กิโลเมตร โดยทราบมาจากวิเคราะห์ทางพันธุกรรม[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-16. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อiucnredlist.org
- ↑ เต่ายักษ์กาลาปากอส[ลิงก์เสีย]
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "ปิดฉากชีวิต "จอร์จผู้เดียวดาย" สูญพันธุ์เต่ายักษ์อายุ 100 ปีแห่งกาลาปาโกส". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
- ↑ 5.0 5.1 หน้า 100, Close Encounters. นิตยสาร Lonely Planet Traveller Thailand Issue 51: November 2015
- ↑ หมู่เกาะกาลาปากอส[ลิงก์เสีย]
- ↑ 7.0 7.1 "'เต่ายักษ์'แห่งเกาะกาลาปากอสตายแล้ว". คมชัดลึก. 2012-06-25.
- ↑ "สุดหล้าฟ้าเขียว: กาลาปากอส 3". ช่อง 3. 31 Janaury 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31. สืบค้นเมื่อ 31 Janaury 2015.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "เข้าใจผิดมา 150 ปี "เต่ายักษ์กระดองอานม้า" แห่งกาลาปากอสยังไม่สูญพันธุ์". ผู้จัดการออนไลน์.[ลิงก์เสีย]
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Chambers, Paul (2004). A sheltered life: the unexpected history of the giant tortoise. London: John Murray. ISBN 978-0-7195-6528-1.
- Darwin, Charles (2009) [1839]. Narrative of the surveying voyages of His Majesty's Ships Adventure and Beagle between the years 1826 and 1836, describing their examination of the southern shores of South America, and the Beagle's circumnavigation of the globe. Journal and remarks (facsimile ed.). General Books LLC. ISBN 978-1-151-09182-6.
- Günther, Albert Carl Ludwig Gotthilf (2010) [1877]. The gigantic land-tortoises (living and extinct) in the collection of the British Museum (facsimile reprint ed.). Nabu Press. ISBN 978-1-141-78978-8.
- Nicholls, Henry (2006). Lonesome George: The life and loves of a conservation icon. Hampshire, England: Palgrave Macmillan. ISBN 978-1-4039-4576-1.
- Pritchard, Peter Charles Howard (1996). The Galapagos tortoises: nomenclatural and survival status. Chelonian Research Foundation. ISBN 978-0-9653540-0-4.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Chelonoidis nigra