ข้ามไปเนื้อหา

ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เกมมังกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Game of Death)
ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เกมมังกร
โปสเตอร์ภาพยนตร์ ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เกมมังกร
กำกับโรเบิร์ต เคล้าส์
เขียนบทแจน สเปียร์ส (โรเบิร์ต เคล้าส์/เรมอนด์ เชา)
อำนวยการสร้างเรมอนด์ เชา
นักแสดงนำบรูซ ลี
คิม ไท ชุง
หยวนเปียว
กิ๊ก ยัง
ดีน แจ็กเกอร์
คอลลีน แคมป์
โรเบิร์ต วอลล์
ฮิวจ์ โอไบรอัน
แดน อิโนซานโต้
เมล โนวาค
หง จินเป่า
กำกับภาพโฮ ลาน ชาน
ก็อดฟรีย์ เอ. โกดาร์
ตัดต่ออลัน แพททิลโล
ดนตรีประกอบจอห์น แบร์รี
โจเซฟ คู (เวอร์ชันฮ่องกง)
ผู้จัดจำหน่ายโกลเด้นฮาร์เวสท์ (H.K.)
โคลัมเบียพิกเจอร์ส (U.S.)
วันฉายฮ่องกง:
23 มีนาคม ค.ศ. 1978
สหรัฐอเมริกา:
8 มิถุนายน ค.ศ. 1978
ความยาว103 นาที (เวอร์ชันนานาชาติ)
94 นาที (เวอร์ชันฮ่องกง)
125 นาที (รอบปฐมทัศน์ในฮ่องกง)
ประเทศฮ่องกง
สหรัฐอเมริกา
ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน
อังกฤษ
ต่อจากนี้ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง ระห่ำแตก (ค.ศ. 1981)

ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เกมมังกร (จีน: 死亡遊戲; อังกฤษ: Game of Death) เป็นภาพยนตร์ที่บรูซ ลีได้วางแผนเพื่อที่จะสาธิตศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของเขาซึ่งมีชื่อเรียกว่าจีทคุนโด้ โดยมีการบันทึกการถ่ายทำเป็นระยะเวลากว่า 100 นาที ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลงในภายหลัง โดยบางส่วนของภาพยนตร์ดังกล่าวได้จัดเรียงใหม่ในแผนกจัดเก็บข้อมูลสำคัญของโกลเด้นฮาร์เวสท์โดยที่ไม่ได้ทำการนำคืนกลับมาฉายใหม่ (อย่างเช่น ฉากที่นักสู้คนหนึ่งโจมตีแดน อิโนซานโต้ด้วยท่อนไม้) วิดีโอส่วนที่เหลือได้รับการเผยแพร่ด้วยบทสนทนาภาษาอังกฤษและกวางตุ้งตามต้นฉบับของบรูซ ลี ซึ่งจอห์น ลิตเติลผู้เขียนได้กำหนดให้ไฮ เทียน ที่รับบทโดยบรูซ ลี เป็นส่วนหนึ่งในสารคดีเรื่อง Bruce Lee: A Warrior's Journey ซึ่งการถ่ายทำดำเนินการบันทึกไว้เกือบทั้งหมด ซึ่งได้กลายมาเป็นสวนประกอบสำคัญในภาพยนตร์ลำดับต่อมา

ในระหว่างการถ่ายทำไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เกมมังกร บรูซ ลี ยังได้รับการเสนอให้เป็นดารานำในภาพยนตร์เรื่องไอ้หนุ่มซินตึ๊ง มังกรประจัญบาน ซึ่งเป็นภาพยนตร์กังฟูเรื่องแรกที่จัดสร้างโดยสตูดิโอฮอลลีวูด ด้วยงบประมาณเป็นประวัติการณ์สำหรับภาพยนตร์แนวนี้ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่บรูซ ลีไม่อาจปฏิเสธได้ แต่บรูซ ลีได้เสียชีวิตลงด้วยอาการสมองบวมก่อนที่จะมีการจัดฉายภาพยนตร์ดังกล่าว ก่อนช่วงระหว่างที่เขาเสียชีวิตไม่นานนี้เอง บรูซ ลีได้มีแผนที่จะจัดถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เกมมังกร อยู่ก่อนแล้ว

ภายหลังจากการเสียชีวิตของบรูซ ลี; โรเบิร์ต เคล้าส์ ซึ่งเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องไอ้หนุ่มซินตึ๊ง มังกรประจัญบาน ได้รับการเกณฑ์ให้ไปกำกับในฉากเพิ่มเติมโดยใช้ผู้แสดงอื่นมาสแตนอินแทน เมื่อผลงานดังกล่าวได้นำมารวมกับภาพบันทึกสารดีต้นฉบับ ตลอดจนภาพวิดีโอที่บันทึกบรูซ ลีในช่วงเริ่มอาชีพ มาจัดเรียงเป็นภาพยนตร์ใหม่ซึ่งมีชื่อว่า ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เกมมังกร (จีนตัวเต็ม: 死亡遊戲; จีนตัวย่อ: 死亡游戏; พินอิน: Sǐwáng Yóuxì; ยฺหวิดเพ็ง: Sei5 Mong4 Jau4 Hei3) ซึ่งได้เปิดตัวในปี ค.ศ. 1978 นับเป็นระยะเวลา 5 ปีภายหลังจากการเสียชีวิตของเขา โดยโคลัมเบียพิกเจอร์ส

โครงเรื่องดั้งเดิม (1972)

[แก้]

โครงเรื่องดั้งเดิมนั้น ได้กำหนดให้บรูซ ลี รับบทเป็น ไห่ เทียน ผู้ซึ่งออกจากตำแหน่งแชมเปี้ยนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวซึ่งต้องทำการเผชิญกับแก๊งใต้ดินของเกาหลี พวกเขาได้บอกถึงเรื่องราวของเจดีย์ที่ไม่อนุญาตให้พกปืนเข้าไป ทั้งยังมีการอารักขาอย่างเข้มงวดโดยผู้ใช้ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่ชำนาญยุทธซึ่งมีหน้าที่ในการปกป้องบางสิ่งที่สถิตอยู่ในชั้นบนสุดของเจดีย์ หัวหน้าแก๊งต้องการให้ไห่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโดยมีวัตถุประสงค์ให้นำวัตถุดังกล่าวกลับคืนมา โดยพวกเขาจะเป็นกลุ่มที่สองในการพยายามปฏิบัติภารกิจดังกล่าวภายหลังจากที่ตัวแทนกลุ่มแรกประสบกับความล้มเหลว แต่ไห่ก็ปฏิเสธ กระทั่งน้องสาวกับพี่ชายของเขาถูกลักพาตัวเพื่อบังคับให้ไห่ได้ปฏิบัติตาม ไห่รวมทั้งผู้ใช้ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวอื่นสี่ราย (สองคนในกลุ่มดังกล่าวคือ เจมส์ เทียน และ เจี๋ย หยวน[1]) จึงได้ทำศึกกันตามเส้นทางของตนที่เจดีย์ห้าชั้น โดยได้พบกับความท้าทายที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชั้น โดยกำหนดไว้ที่วัดเบออบชูซาซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาซองนิซานในเกาหลีใต้

เจดีย์ซึ่งมีชื่อเรียกว่า พัลซาง-จอง เป็นเจดีย์ไม้แห่งเดียวที่ยังคงหลงเหลือในเกาหลีใต้ ในส่วนของฐานเจดีย์เขาได้ต่อสู้กับนักสู้ 50 คนซึ่งเป็นผู้ใช้ศิลปะการต่อสู้ระดับสายดำ เมื่อพวกเขาเข้าไปภายในเจดีย์แล้ว ก็ได้พบกับฝ่ายตรงข้ามที่มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชั้น ซึ่งมีความท้าทายมากกว่าการต่อสู้ครั้งที่ผ่านมา แม้ว่าพวกพ้องของเขาจะพยายามช่วยเขาออกมา แต่พวกเขาก็ใกล้จะถูกกำจัดอยู่เต็มที อีกทั้งไห่ยังต้องเผชิญกับนักต่อสู้ในแต่ละชั้นแบบตัวต่อตัว เขาได้ปราบแดน อิโนซานโต้ผู้เป็นอาจารย์ฝึกสอนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวชาวฟิลิปปินส์, จี ฮันแจซึ่งเป็นอาจารย์แฮปคิโด้ และนักสู้คนสุดท้ายซึ่งก็คือคารีม อับดุล จาบาร์ ผู้ซึ่งมีรูปแบบการต่อสู้แบบอิสระและลื่นไหลเสมือนกับเป็นกระจกเงาของจีทคุนโด้ที่บรูซ ลี คิดค้นขึ้นมา และเนื่องด้วยตัวละครที่มีลักษณะสูงใหญ่อย่างคารีม และมีรูปแบบการต่อสู้เพิ่มเติมจากบรูซ ลี นี้เอง ที่ทำให้ไห่ได้ตระหนักถึงความว่องไวที่ผิดธรรมชาติซึ่งเป็นจุดอ่อนที่ใหญ่หลวงที่สุดสำหรับเขา[2]

ตัวละคร

[แก้]

ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เกมมังกร (ภาพยนตร์ ค.ศ. 1978)

[แก้]

สำหรับเวอร์ชันภาพยนตร์ ค.ศ. 1978 ได้นำวิดีโอต้นฉบับดังกล่าวมาตัดต่อเข้ากับโครงเรื่องใหม่ที่ต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง อันเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวละครของแจน สเปียร์ส ที่มีชื่อว่า บิลลี่ หลู ซึ่งได้ทำการดิ้นรนเมื่อเจอกับพฤติการณ์ที่ผิดกฎหมายซึ่งรวมตัวกันเป็นสมาคม เมื่อหลูได้ปฏิเสธในการเข้าร่วมสมาคมเป็นคนรับใช้ให้กับสไตเนอร์ (ฮิวจ์ โอไบรอัน) รวมทั้งแก๊งนักเลงของเขา เจ้าของสมาคมซึ่งมีชื่อว่า ดร.แลนด์ (ดีน แจ็กเกอร์) จึงสั่งให้ทำการสังหารเพื่อเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู

สติค (เมล โนวาค) ได้ปลอมตัวเป็นสตั๊นท์ ซึ่งแอบสะกดรอยไปยังการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องใหม่ของบิลลี่ และได้ยิงกระสุนใส่บิลลี่ในช่วงระหว่างการถ่ายทำ กระสุนผ่านทะลุใบหน้าของบิลลี่แต่ก็ได้รับการศัลยกรรมพลาสติกเพื่อเปลี่ยนแปลงใบหน้าในเวลาต่อมา บิลลี่จึงใช้โอกาสนี้ปลอมตัวและแสร้งสร้างเหตุการณ์ว่าเขาได้เสียชีวิตไปแล้ว พอรอวันแก้แค้นแก่ฝ่ายอธรรมที่เคยทำร้ายเขามาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อองค์การเริ่มคุกคามและลักพาตัวคู่หมั้นของเขาซึ่งมีชื่อว่าแอน มอร์ริส (คอลลีน แคมป์) บิลลี่จึงต้องออกมาจากที่ซ่อนเพื่อทำการปกป้องเธอ ในเนื้อเรื่องฉบับปรับปรุงนี้ ได้นำฉากต่อสู้ในเจดีย์ของบรูซ ลี มาดัดแปลงเป็นฉากในชั้นบนของภัตตาคารที่มีชื่อว่า เรดเป็ปเปอร์ แทนซึ่งดร.แลนด์และเหล่านักเลงคอยดักทำร้ายอยู่ ณ ที่แห่งนี้

โดยชุดสีเหลืองแถบดำที่บรูซ ลี สวมใส่ในภาพยนตร์นั้น เสมือนเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับนักแสดง และมีการแพร่กระจายสู่ภาพยนตร์อื่นที่แสดงถึงความเคารพต่อบรูซ ลีในสื่ออื่นเป็นจำนวนมาก ในภาพยนตร์รีเมคที่เคล้าส์ได้กำกับ ผู้สร้างภาพยนตร์ได้ให้เหตุผลว่าต้องการให้เป็นฉากที่บิลลี่ หลู ปลอมตัวเป็นอันธพาลนักบิดมอเตอร์ไซค์คนหนึ่งของดร.แลนด์ โดยสวมใส่ชุดที่มีลายแถบดำนั่นเอง

บรูซ ลี กับชุดสีเหลืองแถบดำ ในการถ่ายทำต้นฉบับดั้งเดิม โดยมีเจี๋ย หยวนในชุดนักสู้ตะวันออกสีดำ กับเจมส์ เทียนในชุดฮาวายสีฟ้ายืนอยู่ข้างๆ

ตัวละคร

[แก้]
  • บรูซ ลี รับบทเป็น "บิลลี่ หลู"
  • หยวนเปียว รับบทเป็น "บิลลี่ หลู" (สตั๊นท์)
  • คิม แท จุง รับบทเป็น "บิลลี่ หลู" (สตั๊นท์)
  • เฉิน เหย้า โป รับบทเป็น "บิลลี่ หลู" (สตั๊นท์)
  • กิ๊ก ยัง รับบทเป็น "จิม มาร์แชล"
  • ดีน แจ็กเกอร์ รับบทเป็น "ดร.แลนด์"
  • คอลลีน แคมป์ รับบทเป็น "แอน มอร์ริส"
  • เมล โนวาค รับบทเป็น "สติค"
  • เจมส์ เทียน รับบทเป็น "ชาร์ลี หวัง"
  • รอย จ้าว รับบทเป็น "ลุงเฮนรี่ โล" (เฉพาะเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา)
  • หง จินเป่า รับบทเป็น "หลอ เฉิน" (เวอร์ชันภาษาไทยใช้ชื่อ หงจินเป่า ตามชื่อของนักแสดง)
  • ฮิวจ์ โอไบรอัน รับบทเป็น "สไตเนอร์"
  • โรเบิร์ต วอลล์ รับบทเป็น "คาร์ล มิลเลอร์"
  • แดน อิโนซานโต้ รับบทเป็น "ปัสกา"
  • จี ฮันแจ รับบทเป็น "นักสู้ประจำภัตตาคาร"
  • คาซาโนว่า หว่อง รับบทเป็น "เลา เยียชุน" (เฉพาะเวอร์ชันฮ่องกง)
  • ชัค นอร์ริส รับบทเป็น "นักสู้ในภาพยนตร์"
  • คารีม อับดุล จาบาร์ รับบทเป็น "ฮาคิม"

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]