ขยะเข้าขยะออก
ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขยะเข้าขยะออก (อังกฤษ: garbage in, garbage out ย่อว่า GIGO หรือ rubbish in, rubbish out ย่อว่า RIRO) เป็นหลักการที่ว่าหากข้อมูลป้อนเข้าเป็นข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไร้ความหมาย (เป็นขยะ) การประมวลผลก็จะนำมาซึ่งข้อมูลส่งออกที่ปราศจากความหมายเช่นกัน GIGO พบได้บ่อยกว่า RIRO ซึ่งให้ความหมายเดียวกัน[1][2][3]
ประวัติ
[แก้]สำนวนนี้เป็นที่นิยมตั้งแต่ช่วงแรกของยุคคอมพิวเตอร์ การใช้ในครั้งแรกพบได้ในบทความหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ในกองทัพบกสหรัฐและงานของพวกเขาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ยุคแรกเมื่อ ค.ศ. 1957[4] ในบทความดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญของกองทัพบกสหรัฐนามว่า William D. Mellin อธิบายว่าคอมพิวเตอร์ไม่สามารถคิดเองได้ และข้อมูลป้อนเข้าที่โปรแกรมไว้อย่างงุ่มง่ามก็จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องในที่สุด หลักการพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้ถูกบันทึกไว้โดยผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ชนิดที่เขียนโปรแกรมได้เครื่องแรกของโลกดังนี้:
On two occasions I have been asked, "Pray, Mr. Babbage, if you put into the machine wrong figures, will the right answers come out?" ... I am not able rightly to apprehend the kind of confusion of ideas that could provoke such a question.
— Charles Babbage, Passages from the Life of a Philosopher[5]
การนำไปใช้
[แก้]สำนวนนี้สามารถใช้อธิบายคุณภาพของเสียงหรือวีดิทัศน์ในไฟล์ดิจิทัลที่ต่ำได้ แม้ว่ากระบวนการแปลงสื่อให้เป็นรูปแบบดิจิทัลจะเป็นขั้นแรกเพื่อการเพิ่มคุณภาพสัญญาณ แต่ว่ากระบวนการแปลงเป็นดิจิทัลเองนั้นมิได้เพิ่มคุณภาพ ข้อบกพร่องที่มีอยู่เดินในสัญญาณแบบอะนาล็อกจะถูกบันทึกอย่างเที่ยงตรง แต่อาจถูกกำจัดออกไปในขั้นตอนต่อมาคือการประมวลผลสัญญาณดิจิทัล
GIGO ใช้อธิบายความผิดพลาดในการตัดสินใจของมนุษย์ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ไม่ครบถ้วน หรือไม่แม่นยำ
ดูเพิ่ม
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/ec/Wiktionary-logo.svg/40px-Wiktionary-logo.svg.png)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Demming, Anna (2019-06-30). "Machine learning collaborations accelerate materials discovery". Physics World (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-09-18.
- ↑ Adair, John (2009-02-03). The Art of Creative Thinking: How to be Innovative and Develop Great Ideas (ภาษาอังกฤษ). Kogan Page Publishers. ISBN 9780749460082.
- ↑ Fortey, Richard (2011-09-01). Survivors: The Animals and Plants that Time has Left Behind (Text Only) (ภาษาอังกฤษ). HarperCollins UK. pp. 23, 24. ISBN 9780007441389.
- ↑ "Work With New Electronic 'Brains' Opens Field For Army Math Experts". The Hammond Times. 10 November 1957. p. 65. สืบค้นเมื่อ March 20, 2016 – โดยทาง Newspapers.com.
- ↑ Babbage, Charles (1864). Passages from the Life of a Philosopher. Longman and Co. p. 67. OCLC 258982.