ข้ามไปเนื้อหา

รอยนูนรูปกระสวย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Fusiform gyrus)
รอยนูนรูปกระสวย (Fusiform gyrus)
ผิวด้านในของสมองซีกซ้าย รอยนูนรูปกระสวยมีสีส้ม
ผิวด้านในของสมองซีกขวา รอยนูนรูปกระสวยอยู่ด้านล่าง
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินgyrus fusiformis
นิวโรเนมส์139
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_1641
TA98A14.1.09.227
TA25500
FMA61908
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

รอยนูนรูปกระสวย (อังกฤษ: fusiform gyrus, gyrus fusiformis) เป็นส่วนหนึ่งของสมองกลีบขมับและสมองกลีบท้ายทอยในเขตบร็อดแมนน์ 37 รู้จักโดยคำที่ปัจจุบันไม่ใช้แล้วอีกอย่างหนึ่งคือ "อังกฤษ: occipitotemporal gyrus" [1]

รอยนูนรูปกระสวยอยู่ในระหว่าง inferior temporal gyrus และรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส (parahippocampal gyrus)[2] ส่วนด้านข้าง (lateral) และส่วนด้านใน (medial) แยกออกจากกันโดยร่องตื้นๆ ตรงกลางกระสวย[3][4]

หน้าที่

[แก้]

ยังมีข้อที่ต้องถกเถียงกันในเรื่องกิจหน้าที่ของสมองเขตนี้ แต่ว่า กิจเหล่านี้โดยมากมีความเห็นพ้องต้องกัน คือ

  1. ประมวลผลเกี่ยวกับสี
  2. การรู้จำใบหน้าและอวัยวะ
  3. การรู้จำคำ
  4. การบ่งชี้วัตถุที่มีประเภทเดียวกัน

นักวิจัยบางท่านคิดว่า รอยนูนรูปกระสวยอาจจะมีบทบาทในความผิดปกติที่รู้จักกันว่า ภาวะบอดใบหน้า (prosopagnosia) งานวิจัยแสดงว่า เขตรับรู้ใบหน้าในรอยนูนรูปกระสวย (Fusiform face area ตัวย่อ FFA) มีบทบาทอย่างสำคัญในการรับรู้ใบหน้า แต่ไม่มีบทบาทในการบ่งชี้วัตถุต่างๆ ที่อยู่ในประเภทเดียวกันแม้ว่าบทบาทนี้จะเป็นกิจอย่างหนึ่งของรอยนูนรูปกระสวย (แต่ไม่เป็นกิจของ FFA)[5]

ความผิดปกติในรอยนูนรูปกระสวยได้ถูกเชื่อมไปยังกลุ่มอาการวิลเลียมส์ (Williams syndrome[6])[7]  รอยนูนรูปกระสวยยังมีบทบาทในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของใบหน้า[8]  แต่ว่า  ผู้มีโรคออทิซึมไม่ปรากฏว่า  มีการทำงานในรอยนูนรูปกระสวยหรือมีการทำงานน้อย  เพื่อตอบสนองการเห็นใบหน้าของมนุษย์[9] 

การทำงานทางประสาทสรีรภาพที่เพิ่มจากปกติของรอยนูนรูปกระสวย อาจทำให้เกิดอาการประสาทหลอนเห็นใบหน้า ไม่ว่าจะเหมือนจริงหรือคล้ายการ์ตูน ดังที่เห็นใน Charles Bonnet syndrome[10], ภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น[11], Peduncular hallucinosis[12], หรือประสาทหลอนที่เกิดจากการบริโภคยา[13]

งานวิจัยเร็วๆ นี้พบว่า รอยนูนรูปกระสวยมีการทำงาน ในระหว่างการรับรู้ที่เป็นอัตวิสัยของตัวอักษรพร้อมด้วยสี ของบุคคลผู้มีภาวะเจือกันของวิถีประสาท (synaesthesia[14])[15]

งานวิจัยต่อๆ มาของนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันเอ็มไอที สรุปว่า รอยนูนรูปกระสวยซีกซ้ายซีกขวามีบทบาทที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะมีการทำงานเชื่อมต่อกัน ซีกซ้ายมีบทบาทในการรู้จำรูปแบบต่างๆ ที่เหมือนใบหน้า ที่อาจจะไม่ใช่ใบหน้าจริงๆ ซีกขวามีบทบาทในการตัดสินว่า รูปแบบที่เหมือนใบหน้านั้น เป็นใบหน้าจริงๆ หรือไม่[16]

รูปต่างๆ

[แก้]

ดู

[แก้]

เชิงอรรถและหมายเหตุ

[แก้]
  1. Nature Neuroscience, vol7, 2004
  2. "Gyrus". The free dictionary. สืบค้นเมื่อ 2013-06-19.
  3. Weiner & Grill-Spector, Sparsely-distributed organization of face and limb activations in human ventral temporal cortex.Neuroimage. 2010 Oct 1;52(4):1559-73. Epub 2010 May 10.
  4. Nasr el al. Scene-selective cortical regions in human and nonhuman primates. J Neurosci. 2011 Sep 28;31(39):13771-85.
  5. McCarthy, G et al. Face-specific processing in the fuman fusform gyrus.J. Cognitive Neuroscicence. 9, 605-610(1997).
  6. กลุ่มอาการวิลเลียมส์ (อังกฤษ: Williams syndrome) เป็นความผิดปกติของการพัฒนาระบบประสาท (neurodevelopmental disorder) มีอาการคือ มีหน้าตาเหมือน elf มีสะพานจมูก (nasal bridge) ต่ำ มีอาการร่าเริงผิดปกติ มีความคุ้นเคยกับคนแปลกหน้าผิดปกติ มีความเชื่องช้าทางพัฒนาการที่คู่กับทักษะทางภาษาที่เข้มแข็ง และมีปัญหาทางระบบหัวใจร่วมหลอดเลือด
  7. A. L. Reiss, et al. Preliminary Evidence Of Abnormal White Matter Related To The Fusiform Gyrus In Williams Syndrome: A Diffusion Tensor Imaging Tractography Study.Genes, Brain & Behavior 11.1, 62-68(2012)
  8. Radua, Joaquim; Phillips, Mary L.; Russell, Tamara; Lawrence, Natalia; Marshall, Nicolette; Kalidindi, Sridevi; El-Hage, Wissam; McDonald, Colm; Giampietro, Vincent (2010). "Neural response to specific components of fearful faces in healthy and schizophrenic adults". NeuroImage. 49 (1): 939–946. doi:10.1016/j.neuroimage.2009.08.030. PMID 19699306.
  9. Carter, Rita. The Human Brain Book. p. 241.
  10. Charles Bonnet syndrome เป็นภาวะที่ทำให้คนไข้ที่สูญเสียการเห็น มีประสาทหลอนทางตาที่ซับซ้อน พรรณนาครั้งแรกโดย Charles Bonnet ในปี ค.ศ. 1760
  11. ภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น (hypnagogia) เป็นประสบการณ์ของการย่างเข้าไปสู่หรือออกจากความหลับ คือภาวะก่อนหลับ (hypnagogic) และภาวะกำลังตื่น (hypnopompic)
  12. Peduncular hallucinosis (PT) เป็นความผิดปกติทางประสาทที่เกิดขึ้นไม่บ่อย ก่อให้เกิดประสาทหลอนทางตาที่เป็นจริงเป็นจัง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างมืด และดำเนินไปเป็นเวลาหลายนาที เปรียบเทียบกับประสาทหลอนชนิดอื่นแล้ว คนไข้ PT มีประสบการณ์ที่เหมือนจริงมาก และมักจะมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลและสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย และประสบการณ์นั้นจะไม่แปลกประหลาดมาก
  13. Jan Dirk Blom. A Dictionary of Hallucinations. Springer, 2010, p. 187. ISBN 978-1-4419-1222-0
  14. ภาวะเจือกันของวิถีประสาท (synaesthesia จากคำกรีกแปลว่า การเชื่อมกันของการรับรู้) เป็นสภาวะทางประสาทที่ตัวกระตุ้นทางประสาทหรือทางการรับรู้อย่างหนึ่ง ก่อให้เกิดประสบการณ์ทางประสาทหรือทางการรับรู้อีกทางหนึ่ง เช่นตัวอักษรและตัวเลขแต่ละตัวถูกรับรู้เหมือนกับมีสีอยู่ในตัว
  15. Imaging of connectivity in the synaesthetic brain « Neurophilosophy
  16. Trafton, A. "How does our brain know what is a face and what’s not?" MIT News

แหล่งอ้างอิงอื่นๆ

[แก้]