ฝรั่งเศสสมัยกลาง
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส Royaume de France (ฝรั่งเศส) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||
ราชอาณาจักรฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1000 | |||||||||
ราชอาณาจักรฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1190 บริเวณสีเขียวอ่อนอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอ็องฌู | |||||||||
เมืองหลวง | ปารีส | ||||||||
ภาษาทั่วไป | |||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยระบบศักดินา | ||||||||
กษัตริย์ฝรั่งเศส | |||||||||
สภานิติบัญญัติ | สภาฐานันดร (ตั้งแต่ ค.ศ. 1302) | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยกลาง | ||||||||
• ต้นราชวงศ์กาเปเซียง | ค.ศ. 987 | ||||||||
ค.ศ. 1337–1453 ค.ศ. 1422 | |||||||||
คริสต์ศตวรรษที่ 15 | |||||||||
สกุลเงิน | ลีฟวร์, ฟรังก์, เอกูว์ | ||||||||
|
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ในสมัยกลาง (ตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 จนถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15) เป็นช่วงที่จักรวรรดิการอแล็งเฌียงและอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก (ค.ศ. 843–987) เริ่มเสื่อมอำนาจลง และการเข้าสู่อำนาจของราชวงศ์กาเปเซียง (ค.ศ. 987–1328) รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ในการปกครองเหล่าราชรัฐน้อยใหญ่ (ดัชชีและเคาน์ตีต่าง ๆ เช่น แคว้นนอร์มัน อ็องฌู) ที่ได้อุบัติขึ้นจากการรุกรานของชาวไวกิงและจึงทำให้จักรวรรดิการอแล็งเฌียงค่อย ๆ อ่อนแอลง และรวมถึงการเริ่มใช้การควบคุมและขยายอำนาจทางการปกครอง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้พระเจ้าฟีลิปที่ 2 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 และรวมถึงการเถลิงอำนาจของราชวงศ์วาลัว (ค.ศ. 1328–1589) รวมทั้งการยืดเยื้อของกรณีปัญหาต่อราชวงศ์แพลนแทเจเนตและจักรวรรดิอ็องฌูซึ่งควบคุมโดยราชอาณาจักรอังกฤษในสงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337–1453) และต่อด้วยการระบาดของกาฬมรณะ (ค.ศ. 1348) ซึ่งเป็นผลทำให้การปกครองนั้นรวมศูนย์มากขึ้นและแผ่ขยายอำนาจมากขึ้นในช่วงสมัยใหม่ตอนต้นและจึงเป็นการสร้างเสริมความรู้สึกในความเป็นชาติฝรั่งเศสมากขึ้นด้วย
ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13 นั้น ฝรั่งเศสถือเป็นศูนย์กลาง (และต้นกำเนิด) ของวัฒนธรรมที่แผ่อิทธิพลไปทั่วทั้งยุโรปตะวันตก รวมถึงการเปลี่ยนผ่านจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ไปสู่สถาปัตยกรรมกอทิก (ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในฝรั่งเศส) และศิลปะกอทิก รวมถึงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสมัยกลาง เช่น มหาวิทยาลัยปารีส ซึ่งรับรองใน ค.ศ. 1150 มหาวิทยาลัยมงเปอลีเย (ค.ศ. 1220) มหาวิทยาลัยตูลูซ (ค.ศ. 1229) และมหาวิทยาลัยออร์เลอ็อง (ค.ศ. 1235) และ "สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 12" ซึ่งรวมถึงวรรณกรรมและดนตรีสมัยกลางเป็นต้น
ภูมิศาสตร์
[แก้]นับตั้งแต่สมัยกลางเป็นต้นมา ผู้ปกครองฝรั่งเศสล้วนยึดถือว่าพรมแดนของตนนั้นเป็นพรมแดนธรรมชาติ เช่น เทือกเขาพิรินี เทือกเขาแอลป์ และแม่น้ำไรน์ เป็นต้น จึงเป็นที่มาของนโยบายอันแข็งกร้าวและเน้นการรุกรานเป็นหลัก ซึ่งหลักความเชื่อนี้นั้นในความจริงแล้วไม่ใช่เป็นดินแดนในปกครองของราชอาณาจักร รวมทั้งพระราชอำนาจภายในพระราชอาณาจักรนั้นก็มีความเปลี่ยนแปลงตลอด ดินแดนภายในราชอาณาจักรฝรั่งเศสนั้นมีความแตกต่างทางภูมิศาสตร์มาก ตอนเหนือและตอนกลางนั้นมีอากาศอบอุ่นในขณะที่ตอนใต้นั้นมีอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในขณะที่ความแตกต่างระหว่างตอนเหนือและตอนใต้ที่มีมากแล้ว สิ่งที่สำคัญพอกันคือระยะห่างจากเทือกเขาต่าง ๆ ได้แก่ แอลป์ พิรินี และมาซิฟซ็องทราลเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีทางน้ำที่สำคัญหลายแห่ง ได้แก่ แม่น้ำลัวร์ แม่น้ำโรน แม่น้ำแซน และแม่น้ำการอนซึ่งได้มีการตั้งรกรากมาก่อนหน้านี้ และเมืองใหญ่หลัก ๆ นั้นยังตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเหล่านี้ โดยมีป่าไม้หรือที่ราบขนาดใหญ่คั่นระหว่างกัน[1]
การกล่าวถึงขนาดที่ชัดเจนของราชอาณาจักรฝรั่งเศสในสมัยกลางนั้นมีความซับซ้อนเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับที่ดินที่ถือครองโดยพระมหากษัตริย์ "ดอแมนรัวยาล" และที่ดินที่ขึ้นกับผู้ปกครองคนอื่น จากเอกสารที่ตกทอดมาจากจังหวัดกอลของโรมันนั้นดินแดนนี้ไม่ได้ถูกปกครองโดยสมบูรณ์จากราชอาณาจักรแฟรงก์และจักรวรรดิการอแล็งเฌียง และในปีแรก ๆ ของการมีอำนาจของราชวงศ์กาเปเซียง ราชอาณาจักรฝรั่งเศสในสมัยนั้นถือว่าไม่ต่างจากนิยาย "ดอแมนรัวยาล" แห่งราชวงศ์กาเปเซียงนั้นกินอาณาเขตเพียงแต่บริเวณใกล้ปารีส บูร์ฌ และซ็องส์ ที่เหลือส่วนใหญ่ในฝรั่งเศสนั้นล้วนเป็นส่วนหนึ่งของอากีแตน ดัชชีนอร์ม็องดี ดัชชีบริตานี กงเตช็องปาญ ดัชชีบูร์กอญ เคาน์ตีฟลานเดอส์ และดินแดนอื่น ๆ โดยหลักการแล้ว ผู้ปกครองดินแดนเหล่านี้เคารพนับถือพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส แต่ความจริงแล้วพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์นั้นแทบไม่มีอิทธิพลและความสำคัญใด ๆ ในดินแดนเหล่านี้เลย ซึ่งต่อมาในที่สุดราชวงศ์แพลนแทเจเนตสามารถรวบรวมนอร์ม็องดี อากีแตน และอังกฤษเข้าเป็นหนึ่งเดียวได้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13
พระเจ้าฟีลิปที่ 2 ได้แผ่ขยายอาณาเขตของฝรั่งเศสได้แผ่ไพศาลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่สุดท้ายส่วนใหญ่ก็เสียดินแดนที่ได้มาไปจากการ "อาปานาฌ" (หรือการพระราชทานดินแดนให้แก่สมาชิกในพระราชวงศ์เพื่อปกครอง) และความพ่ายแพ้ต่อสงครามร้อยปี จนกระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าชาร์ลที่ 7และพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 ได้ขยายดินแดนจนเกือบเท่ากับประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน (ยกเว้นเบรอตาญ นาวาร์ และบริเวณบางส่วนของภาคเหนือและตะวันออกของฝรั่งเศส
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hallam & Everard, pp. 1–2.
บรรณานุกรม
[แก้]สมัยกลางตอนต้น
[แก้]- Stéphane Lebecq. Les origines franques: Ve-IXe siècles. Series: Nouvelle histoire de la France médiévale. Paris: Editions du Seuil, 1999. ISBN 2-02-011552-2
- Chris Wickham. The Inheritance of Rome: Illuminating the Dark Ages, 400–1000. Penguin: 2009. ISBN 978-0-14-311742-1
สมัยกลางตอนกลาง
[แก้]- Dominique Barthélemy. (ในภาษาฝรั่งเศส) L'ordre seigneurial: XIe-XIIe siècle. Series: Nouvelle histoire de la France médiévale, tome 3. Editions du Seuil. ISBN 2-02-011554-9
- Marc Bloch. Feudal Society. 2nd edition: Routledge, 1989. ISBN 978-0226059785
- Constance Brittain Bouchard. Strong of Body, Brave and Noble": Chivalry and Society in Medieval France. ISBN 978-0801485480
- Norman F. Cantor. The Civilization of the Middle Ages. New York: HarperPerennial, 1993. ISBN 0-06-092553-1
- Alain Demurger. (ในภาษาฝรั่งเศส) Temps de crises, temps d'espoirs: XIVe-XVe siècle. Series: Nouvelle histoire de la France médiévale, tome 5. Editions du Seuil. ISBN 2-02-012221-9
- Monique Bourin-Derruau. (ในภาษาฝรั่งเศส) Temps d'équilibres, temps de ruptures: XIIIe siècle. Series: Nouvelle histoire de la France médiévale, tome 4. Editions du Seuil. ISBN 2-02-012220-0
- Georges Duby. France in the Middle Ages 987–1460: From Hugh Capet to Joan of Arc. Wiley-Blackwell. 1993. ISBN 978-0631189459
- Elizabeth M. Hallam & Judith Everard. Capetian France 987–1328. Editions Longman. 2nd edition: Pearson, 2001. ISBN 978-0582404281
- William Kibler. Medieval France: An Encyclopedia Series: Routledge Encyclopedias of the Middle Ages. Routledge, 1995. ISBN 978-0824044442