ข้ามไปเนื้อหา

นกฟลามิงโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Flamingo)
นกฟลามิงโก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
ชั้นฐาน: Neognathae
อันดับ: Phoenicopteriformes
Fürbringer, 1888
วงศ์: Phoenicopteridae
Bonaparte, 1831
สกุลและชนิด
ดูในบทความ
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (ทั่วโลก)
นกฟลามิงโกในสวนสัตว์พาต้า

นกฟลามิงโก (อังกฤษ: flamingo) เป็นนกน้ำจำพวกหนึ่งในวงศ์ Phoenicopteridae และอันดับ Phoenicopteriformes มี 4 ชนิดในทวีปออสเตรเลีย และ 2 ชนิดในโลกเก่า

นกฟลามิงโก เป็นนกที่มีซากฟอสซิลสามารถนับย้อนไปไกลได้กว่า 30 ล้านปีก่อน นกฟลามิงโกอาศัยอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่ ซึ่งสถานที่ ๆ พบนกฟลามิงโกได้มากที่สุดในโลก คือ ทะเลสาบนากูรู ในอุทยานแห่งชาติทะเลสาบนากูรู ทางตอนเหนือของประเทศเคนยา ซึ่งมีจำนวนประชากรนกฟลามิงโกมากได้ถึง 1,500,000 ตัว นกฟลามิงโกเป็นนกที่บินได้เป็นระยะทางที่ไกล และมักบินในเวลากลางคืน ด้วยความเร็วประมาณ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และหากมีความจำเป็นต้องบินในเวลากลางวันก็จะบินในระดับสูงเพื่อหลบเลี่ยงสัตว์นักล่า ส่วนในทวีปเอเชียสามารถพบได้ที่ทุ่งหญ้าสเตปป์แถบตอนเหนือของคาซัคสถานในภูมิภาคเอเชียกลางเท่านั้น โดยผสมพันธุ์กันในฤดูใบไม้ผลิ ก่อนอพยพไปที่อื่น[1]

นกฟลามิงโก ได้ชื่อว่าเป็นนกที่ไม่มีประสาทรับกลิ่น และเป็นนกที่ส่งเสียงดังตลอดเวลา ซึ่งลูกนกแม้แต่อยู่ในไข่ก็ยังส่งเสียงร้องแล้ว ซึ่งพ่อแม่นกจะจดจำลูกของตัวเองได้จากเสียงร้องอันนี้[2]

นอกจากนี้แล้ว นกฟลามิงโกยังเป็นนกที่ได้ชื่อว่าเป็นนกที่มีขนสีชมพู จนได้รับชื่อว่า "นกฟลามิงโกสีชมพู" ซึ่งขนของนกฟลามิงโกนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดตั้งแต่สีชมพูซีดจนถึงสีแดงเลือดหมูหรือแดงเข้ม ทั้งนี้เป็นเพราะการกินอาหารที่ได้รับสารอาหารจากกุ้งและเห็ดรามีสารประเภทอัลฟาและบีตา-แคโรทีน แต่โดยมากแล้วนกที่เลี้ยงตามสวนสัตว์ขนจะเปลี่ยนเป็นสีขาวเพราะขาดสารอาหารเหล่านี้ ซึ่งหากให้ในสิ่งที่ทดแทนกันได้ เช่น แคร์รอต หรือบีตรูต สีขนก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม อีกทั้งยังเป็นนกที่มีพฤติกรรมยืนด้วยขาเดียวอยู่นิ่ง ๆ แช่น้ำได้เป็นเวลานานมากถึง 4 ชั่วโมง นั่นเพราะขาของนกจะได้รับจะได้รับเลือดสูบฉีดต่ออัตราการเต้นของหัวใจได้มากเท่า ๆ กับที่กล้ามเนื้อหลักได้รับ ซึ่งเลือดจะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย การที่นกฟลามิงโกมีขายาวมาก ก็ยิ่งทำให้มีพื้นที่สูญเสียความอบอุ่น อีกทั้งขาข้างที่ไม่ถูกแช่น้ำก็จะไม่เหี่ยวแห้งอีกด้วย[3]

การจำแนก

[แก้]

แบ่งออกได้ทั้งหมด 6 ชนิด

อ้างอิง

[แก้]
  1. "มนต์เสน่ห์แห่งมองโกเลีย 27 พฤศจิกายน 2558 แนวภูเขาต้าชิงอันหลิง". ช่อง 7. 27 พฤศจิกายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2015.
  2. Wild Events บุกป่าผ่าดง. สารคดีทางทรูเอ็กซ์เพอเรอร์ 1. ทรูวิชั่นส์. 25 มิถุนายน 2556.
  3. "ทำไมนกฟลามิงโกมีสีชมพู-ชอบยืนขาเดียว". ผู้จัดการออนไลน์. 11 กุมภาพันธ์ 2005.
  4. "Phoenicopterus Linnaeus, 1758". Integrated Taxonomic Information System.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]