ข้ามไปเนื้อหา

ฟาวจา สิงห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Fauja Singh)
โฟวจา สิงห์
สิงห์เมื่อปี 2012
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเล่นผ้าโพกทอร์นาโด (Turbaned Tornado)
บาบานักวิ่ง (Running Baba)
ซุปเปอร์แมนชาวซิกข์ (Sikh Superman)[1]
สัญชาติสหราชอาณาจักร
เกิด (1911-04-01) 1 เมษายน ค.ศ. 1911 (113 ปี)
บีสปินด์, จังหวัดปัญจาบ, บริติชอินเดีย
ปีที่แข่งขัน2000–2013
ส่วนสูง1.72 m (5 ft 8 in)*
น้ำหนัก53 kg (117 lb)
กีฬา
ประเทศสหราชอาณาจักร
กีฬามาราธอน
อำลาวงการ24 กุมภาพันธ์ 2013[2][3]
ข้อมูลล่าสุดวันที่ 26 มกราคม 2013

ฟาวจา สิงห์ หรือ โฟวจา สิงห์ BEM (ปัญจาบ: ਫੌਜਾ ਸਿੰਘ; Fouja Singh, เกิด 1 เมษายน 1911) เป็นชาวอังกฤษเชื้อสายปัญจาบ ผู้นับถือซิกข์, มีอายุเกิน 110 ปี และเป็นอดีตนักวิ่งมาราธอน สถิติดีที่สุดของเขาในลอนดอนมาราธอน (2003) อยู่ที่ 6 ชั่วโมง 2 นาที[4] และสถิติดีที่สุดของเขาซึ่งทำลายสถิติมาราธอนของบุคคลวัยมากกว่า 90 ปี อยู่ที่ 5 ชั่วโมง 40 นาที ด้วยวัย 92 ปี ในโทรอนโตเวอเทอร์ฟรอนต์มาราธอน (2003)[5][6]

ฟาวจา สิงห์ เกิดในหมู่บ้านบีสปินด์ เมืองชลันธร ในภูมิภาคปัญจาบ ใต้ปกครองของบริติชอินเดีย เมื่อวันที่ 1 เมษายน 1911[5] เขาเดินไม่ได้จนอายุได้ห้าปี ขาเขาทั้งบอบบางและอ่อนแรง ทำให้เขาไม่สามารถเดินระยะทางไกล ๆ ได้ ตอนเป็นเด็กเขามักถูกล้อว่า "ดันดา" (ปัญจาบ: ਡੰਡਾ; dandā แปลว่า "ขี้ก้าง") เขาย้ายมายังสหราชอาณาจักรระหว่างการแบ่งประเทศอินเดีย

การลงแข่งมาราธอนและสถิติ

[แก้]

เมื่อเขาอายุได้ 89 ปี เขาเริ่มจริงจังกับการวิ่งและลงแข่งในมาราธอนระดับนานาชาติหลายครั้ง เขาลงแข่งครั้งแรกในลอนดอนมาราธอนเมื่อปี 2000 โคชของเขาเคยบอกเล่ากับสื่อว่า สิงห์สามารถวิ่งระยะทาง 20 กิโลเมตรได้สบาย ๆ จึงอยากลงวิ่งมาราธอนซึ่งเขาเข้าใจว่ามีระยะทาง 26 กิโลเมตร ซึ่งความเป็นจริง มาราธอนมีระยะทาง 26 ไมล์ หรือเท่ากับ 42 กิโลเมตร และเขาพึ่งรู้เรื่องนี้หลังฝึกอย่างหนัก[7] เมื่อเขาอายุได้ 93 ปี สิงห์สามารถทำเวลาที่ 6 ชั่วโมง 54 นาทีในมาราธอน ซึ่งเร็วกว่าสถิติโลกเดิมสำหรับมาราธอนในบุคคลวัยมากกว่า 90 ปีไป 58 นาที[5]

สิงห์เป็นเข้าของสถิติระดับชาติของสหราชอาณาจักรสำหรับระยะทาง 200 m, 400 m, 800 m, ไมล์ และ 3000 m สำหรับช่วงอายุของเขา ทั้งหมดนี้มาจากการวิ่งครั้งเดียวในระยะเวลา 94 นาทีของเขา[8][9][10]

เมื่ออายุได้ 100 ปี สิงห์สามารถทุบสถิติโลกตามกลุ่มอายุแปดสถิติรวดในมาราธอนวันเดียว ซึ่งจัดขึ้นเป็นพิเศษที่สนามเบิร์ชเมาทน์ในโทรอนโต ประเทศแคนาดา เขาวิ่งระยะ100 เมตร ในเวลา 23.14, 200 เมตร ในเวลา 52.23, 400 เมตร ในเวลา 2:13.48, 800 เมตร ในเวลา 5:32.18, 1500 เมตร ในเวลา 11:27.81, 1 ไมล์ ในเงลา 11:53.45, 3000 เมตร ในเวลา 24:52.47 และ 5000 เมตร ในเวลา 49:57.39[11] ทุกสถิติที่เขาทุบไม่เคยมีผู้ท้าประลองด้วยวัยถึง 100 ปีมาก่อน[12] และในสามวันถัดมา (16 ตุลาคม 2011) สิงห์เป็นบุคคลอายุ 100 ปีคนแรกที่วิ่งมาราธอนครบระยะทาง หลังเขาวิ่งครบระยะในโทรอนโตวอเตอร์ฟรอนต์มาราธอน ด้วยระยะเวลา 8:11:06[13]

อย่างไรก็ตาม กินเนสเวิลด์เรคเคิดส์ ปฏิเสธการบันทึกสิงห์ในสถิติโลก เนื่องจากสิงห์ไม่มีสูติบัตรเพื่อยืนยันอายุแท้จริงของเขา อันเป็นผลมาจากช่วงปีที่เขาเกิด (1911) รัฐบาลอินเดียยังไม่มีการทำสูติบัตรให้กับพลเมือง[14] อย่างไรก็ตาม เขามีหนังสือเดินทางซึ่งระบุวันเกิดของเขาเป็น 1 เมษายน 1911 รวมถึงเคยได้รับจดหมายสุขสันต์วันเกิดจากสมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่สองแห่งสหราชอาณาจักรเนื่องในวันเกิด 100 ปีของเขา[15]

การเมือง

[แก้]

สิงห์เคยเข้าร่วมการเดินขบวนหาเสียงในหมูบ้านกุกรันวลา (Kukranwala) ซึ่งอยู่ในเขตเล่อกตั้งราชา สันสี (Raja Sansi constituency) ใกล้กับอมฤตสระ โดยเขาช่วยหาเสียงให้กับผู้สมัครจากพรรคประชาชนปัญจาบ (Punjab People's Party) ซึ่งมีรายงานระบุว่าเขาแสดงความสนับสนุนพรรคนี้[16] อย่างไรก็ตาม "ชาวซิกข์ในเมือง" ดังกล่าววิพากษ์วิจารณ์ว่าพรรคได้นำ "ฟาวจา สิงห์ มาใช้อย่างผิด ๆ เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง" และ "เอาความไม่มั่นคงของผู้สูงอายุมาหากิน"[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wee, Lea (13 December 2012). "Running gave him second wind". The Straits Times. Singapore. p. 24.
  2. "New Delhi Marathon runner Fauja Singh to retire after one last run 3rd of September". p. 169. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2013.
  3. "At 101, Fauja Singh completes his final marathon". Agence France-Presse. 24 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2013. สืบค้นเมื่อ 24 February 2013.
  4. Ashenden, Mark (30 June 2005). "Life Begins at 90". BBC News. สืบค้นเมื่อ 16 October 2011.
  5. 5.0 5.1 5.2 Rana, Vijay (19 April 2004). "At 93, Adidas Marathon man Fauja runs with god as partner". The Indian Express. สืบค้นเมื่อ 18 October 2011. I run while talking to God.
  6. "Runner, 94, finishes capital race". BBC News. 12 June 2005. สืบค้นเมื่อ 16 October 2011.
  7. Carney, John (3 February 2012). "Marathon man, 100, takes challenges in his stride". South China Morning Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2012. สืบค้นเมื่อ 14 February 2012.
  8. "The Real Singh, the Real King (Fauja Singh)". Curry Bear. April 2010. สืบค้นเมื่อ 16 October 2011.
  9. "94-year-old breaks 5 records within 94 minutes". British Masters Athletic Federation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2011. สืบค้นเมื่อ 16 October 2011.
  10. "Who Are The Oldest People on Our Planet? And, Why Are They That Healthy?". Diabetes Diet Dialogue. 14 July 2007. สืบค้นเมื่อ 16 October 2011.
  11. "M100 Indian sets 8 world records in succession? Check ID first". Masterstrack.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2011. สืบค้นเมื่อ 16 October 2011.
  12. "100 Year Old Fauja Singh Sets EIGHT World Records in a Row". Ontario Masters Athletics. 13 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-16. สืบค้นเมื่อ 16 October 2011.
  13. "Another marathon milestone for centenarian". The Tribune. 17 October 2011. สืบค้นเมื่อ 18 October 2011.
  14. "Fauja Singh, 100, won't make Guinness". ESPN. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 24 October 2011.
  15. https://www.huffpost.com/archive/ca/entry/2011/10/24/fauja-singh-marathon-no-record_n_1028410.html?ir=UK[ลิงก์เสีย]
  16. "Fauja Singh runs for PPP". The Indian Express. 24 January 2012. สืบค้นเมื่อ 14 February 2012.
  17. "100-year-old marathoner's family miffed with political party". NDTV. 25 January 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2012. สืบค้นเมื่อ 14 February 2012.