ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาฟอร์แทรน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก FORTRAN)
ภาษาฟอร์แทรน
กระบวนทัศน์หลายกระบวนทัศน์: โครงสร้าง, คำสั่ง (เชิงกระบวนความ, เชิงวัตถุ), เจเนริก, แถวลำดับ
ผู้ออกแบบจอห์น แบกคัส
ผู้พัฒนาจอห์น แบกคัสและไอบีเอ็ม
เริ่มเมื่อ1957; 68 ปีที่แล้ว (1957)
รุ่นเสถียร
Fortran 2018 (ISO/IEC 1539-1:2018) / 28 พฤศจิกายน 2018; 6 ปีก่อน (2018-11-28)
ระบบชนิดตัวแปรstrong, static, manifest
นามสกุลของไฟล์.f, .for, .f90
เว็บไซต์fortran-lang.org
ตัวแปลภาษาหลัก
Absoft, Cray, GFortran, G95, IBM XL Fortran, Intel, Hitachi, Lahey/Fujitsu, Numerical Algorithms Group, Open Watcom, PathScale, PGI, Silverfrost, Oracle Solaris Studio, อื่น ๆ
ได้รับอิทธิพลจาก
Speedcoding
ส่งอิทธิพลต่อ
ALGOL 58, BASIC, C, Chapel,[1] CMS-2, DOPE, Fortress, PL/I, PACT I, MUMPS, IDL, Ratfor

ภาษาฟอร์แทรน (อังกฤษ: Fortran, /ˈfɔːrtræn/; อดีตเขียนเป็น FORTRAN) เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้ในจุดประสงค์ทั่วไป ภาษาคอมไพล์เชิงคำสั่งที่ใช้ในการคำนวณเลขและวิทยาการคำนวณ

เดิมฟอร์แทรนพัฒนาโดยไอบีเอ็ม[2] ในคริสต์ทศวรรษ 1950 เพื่อใช้ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ต่อมาจึงครอบคลุมถึงวิทยาการคำนวณ มีการใช้งานภาษานี้มามากกว่าหกทศวรรษในศาสตร์ที่เน้นการคำนวณ เช่น การพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลข, ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, พลศาสตร์ของไหลเชิงคณนา, ธรณีฟิสิกส์, ฟิสิกส์เชิงคำนวณ, ผลิกศาสตร์ และเคมีการคำนวณ ภาษานี้เป็นภาษายอดนิยมสำหรับ High performance computing[3] และใช้ในโปรแกรมที่วัดเปรียบเทียบสมรรถนะและจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก[4][5]

เค้าโครงของฟอร์แทรนเป็นฐานของภาษาโปรแกรมอื่น ๆ เช่น ภาษาเบสิก ที่มีฐานจาก FORTRAN II[6] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2021 ฟอร์แทรนอยู่ในอันดับที่ 13 ของดัชนี TIOBE ซึ่งเป็นตัววัดความนิยมของภาษาโปรแกรม ภาษานี้ไต่ขึ้นไป 29 อันดับจากอันดับที่ 42 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020[7]

The Fortran Automatic Coding System for the IBM 704 (15 ตุลาคม ค.ศ. 1956) คู่มืออ้างอิงภาษาฟอร์แทรนสำหรับโปรแกรมเมอร์ฉบับแรก[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Chapel spec (Acknowledgements)" (PDF). Cray Inc. 1 ตุลาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2016.
  2. John Backus. "The history of FORTRAN I, II and III" (PDF). Softwarepreservation.org. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2014.
  3. Eugene Loh (18 มิถุนายน 2010). "The Ideal HPC Programming Language". Queue. 8 (6).
  4. "HPL – A Portable Implementation of the High-Performance Linpack Benchmark for Distributed-Memory Computers". สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2015.
  5. "Q13. What are the benchmarks?". Overview - CPU 2017. SPEC. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2019.
  6. "Fifty Years of BASIC". Time. 29 เมษายน 2014.
  7. TIOBE Software BV (สิงหาคม 2021). "TIOBE Index for August 2021". TIOBE.com. TIOBE. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2021.
  8. Backus, John Warner; Beeber, R. J.; Best, Sheldon F.; Goldberg, Richard; Herrick, Harlan L.; Hughes, R. A.; Mitchell, L. B.; Nelson, Robert A.; Nutt, Roy; Sayre, David; Sheridan, Peter B.; Stern, Harold; Ziller, Irving (15 ตุลาคม 1956). Sayre, David (บ.ก.). The FORTRAN Automatic Coding System for the IBM 704 EDPM: Programmer's Reference Manual (PDF). New York, USA: Applied Science Division and Programming Research Department, International Business Machines Corporation. pp. 2, 19–20. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2022. (2+51+1 pages)

อ่านเพิ่ม

[แก้]
มาตรฐานภาษา
มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิงอื่น
หนังสือ
บทความ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
วิกิตำราภาษาอังกฤษ มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ: ภาษาฟอร์แทรน
Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Fortran