สาธารณรัฐโดมินิกัน
สาธารณรัฐโดมินิกัน República Dominicana (สเปน) | |
---|---|
คำขวัญ: Dios, Patria, Libertad (พระเจ้า ปิตุภูมิ เสรีภาพ) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ซานโตโดมิงโก 19°00′N 70°40′W / 19.000°N 70.667°W |
ภาษาราชการ | ภาษาสเปน |
การปกครอง | ประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี |
Luis Abinader | |
Raquel Peña | |
เอกราช จาก เฮติ | |
• ประกาศ | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2387 |
พื้นที่ | |
• รวม | 48,730 ตารางกิโลเมตร (18,810 ตารางไมล์) (128) |
1.6 | |
ประชากร | |
• พ.ศ. 2560 ประมาณ | 10,648,791 คน[1] (87) |
• สำมะโนประชากร 2545 | 10,400,000 |
183 ต่อตารางกิโลเมตร (474.0 ต่อตารางไมล์) (58) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 172.576 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 16,965 |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 74.873 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 7,360 |
จีนี (2561) | 43.7[2] ปานกลาง |
เอชดีไอ (2562) | 0.756[3] สูง · อันดับที่ 88 |
สกุลเงิน | เปโซ (DOP) |
เขตเวลา | UTC-4 |
รหัสโทรศัพท์ | 1-809 และ +1-829 |
รหัส ISO 3166 | DO |
โดเมนบนสุด | .do |
สาธารณรัฐโดมินิกัน (อังกฤษ: Dominican Republic; สเปน: República Dominicana) เป็นประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 2 ใน 3 ทางทิศตะวันออกของเกาะฮิสปันโยลาซึ่งขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในหมู่เกาะเกรตเตอร์แอนทิลลีส เกาะนี้ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน ทางทิศตะวันตกของเปอร์โตริโก และอยู่ทางทิศตะวันออกของคิวบาและจาเมกา โดยสาธารณรัฐโดมินิกันมีอาณาเขตจรดเฮติทางทิศตะวันตก
สาธารณรัฐโดมินิกันเป็นคนละประเทศกับดอมินีกา ซึ่งเป็นประเทศในทะเลแคริบเบียนอีกประเทศหนึ่ง
ภูมิศาสตร์
[แก้]สาธารณรัฐโดมินิกันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะฮิสปันโยลา ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองในทะเลแคริบเบียนรองจากเกาะคิวบา โดยเกาะได้ถูกแบ่งเป็นประเทศเฮติทางทิศตะวันตก สาธารณะรัฐโดมินิกันมีพื้นที่ประมาณ 48,442 ตารางกิโลเมตร ทำให้เป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองในหมู่เกาะทะเลแคริบเบียนรองจากคิวบาอีกด้วย เมืองหลวงคือซานโตโดมิงโกตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะ พื้นที่ทั้งหมดของประเทศตั้งอยู่ในเขตร้อนจึงทำให้มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น และยังได้รับอิทธิพลจากพายุเฮอร์ริเคนในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
ประวัติศาสตร์
[แก้]สมัยก่อนอาณานิคม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สมัยอาณานิคม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เอกราชและสงคราม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หลังจากโดมินิกันประกาศแยกตัวจากสเปนได้เพียง 9 สัปดาห์ ก็ถูกเฮติเข้าผนวกฝั่งโดมินิกัน เหตุเพราะในขณะนั้นสเปนถูกนโปเลียนยึดครองอยู่ โดมินิกันอยู่ภายใต้การปกครองของเฮติ 22 ปี จึงทำสงครามแยกตัวออกจากเฮติ โดมินิกันจึงเป็นเอกราชแต่ก็เป็นอยู่ได้เกือบ 20 ปี สเปนก็เข้ามาปกครองอีก 5 ปี แล้วจึงได้ทำการประกาศเอกราชอีกครั้ง
การเมืองการปกครอง
[แก้]รูปแบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย โดยใช้ระบบรัฐสภาและประธานาธิบดีแบบเดียวกันกับสหรัฐอเมริกา
ประมุขของประเทศ ประธานาธิบดี ซึ่งดำรงตำแหน่งทั้งประมุขของรัฐและประมุขของรัฐบาล มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ได้แก่ นาย Leonel Fernández Reyna ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นสมัยที่ 3 เมื่อปี 2551 (สมัยแรก ปี 2539 และสมัยที่สอง ปี 2547) และการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2555
บริหาร
[แก้]ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร โดยมีอำนาจแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี รัฐบาลชุดปัจจุบันนำโดยพรรค PLD ซึ่งครองเสียงข้างมากในรัฐสภาด้วย
นิติบัญญัติ
[แก้]ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบสภาคู่ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ประกอบด้วยวุฒิสภา ซึ่งมีสมาชิก 32 คน โดยมีที่มาจากการเลือกตั้งใน 31 จังหวัดๆ ละ 1 คน และเขตประเทศ 1 คน ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน 183 คน
ตุลาการ
[แก้]ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาล ซึ่งมีเขตจังหวัดเป็นเขตอำนาจศาล และศาลฎีกา (ผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้รับแต่งตั้งจากสภาตุลาการแห่งชาติ)
สถานการณ์สำคัญ
[แก้]นาย Leonel Fernandez ประธานาธิบดีคนปัจจุบันแห่งสาธารณรัฐโดมินิกัน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาแล้วเป็นสมัยที่ 3 และถือได้ว่าเป็นผู้นำที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศนับตั้งแต่ ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่อนุญาตให้นาย Fernanadez ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกในสมัยหน้า (ค.ศ. 2012) แต่ด้วยฐานเสียงสนับสนุนที่เข้มแข็งของพรรค PLD ในรัฐสภาโดมินิกัน อาจนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้นาย Fernanadez สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งก็เป็นได้ ทั้งนี้ โดมินิกันมีปัญหาสำคัญที่รอการแก้ไข ได้แก่ การขาดแคลนพลังงาน การปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด รวมถึงการบริหารการขาดดุลงบประมาณของประเทศ
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]สาธารณรัฐโดมินิกันแบ่งออกเป็น 31 จังหวัด (provincia) ส่วนกรุงซานโตโดมิงโกเมืองหลวงของประเทศนั้น อยู่ในดินแดนดิสตริโตนาซิโอนัล
- อาซัว
- บาโอรูโก
- บาราโอนา
- ดาฮาบอน
- ดัวร์เต
- เอลิอัสปิญญา
- เอลเซย์โบ
- เอร์มานัสมิราบัล
- เอสไปยัต
- อาโตมายอร์
- อินเดเปนเดนเซีย
- ลาอัลตากราเซีย
- ลาโรมานา
- ลาเบกา
- มาริอาตรินิดัดซานเชซ
- มอนเซญญอร์โนอูเอล
- มอนเตกริสติ
- มอนเตปลาตา
- เปเดร์นาเลส
- เปราเบีย
- ปูเอร์โตปลาตา
- ซามานา
- ซานเชซรามิเรซ
- ซานกริสโตบัล
- ซานโฮเซเดโอโกอา
- ซานฮวน
- ซานเปโดรเดมาโกริส
- ซานเตียโก
- ซานเตียโกโรดริเกซ
- ซานโตโดมิงโก
- บัลเบร์เด
นโยบายต่างประเทศ
[แก้]ความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รัฐบาลประธานาธิบดี Fernandez มุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย นอกเหนือไปจากการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐฯ นอกจากนี้ นาย Fernandez ยังพยายามเพิ่มบทบาทในระดับภูมิภาคของโดมินิกัน ด้วยการเข้าไปมีบทบาทในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างโคลอมเบียกับเวเนซุเอลา รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูประเทศแก่เฮติภายหลังประสบภัยแผ่นดินไหวเมื่อต้นปี 2553 โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้โดมินิกันก้าวขึ้นมามีบทบาทเป็นตัวกลางประสานผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคที่ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ
ที่ผ่านมา สาธารณรัฐโดมินิกันมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ในทวีปอเมริกาโดยเฉพาะเวเนซุเอลา ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีการทำความตกลงซื้อขายน้ำมันที่เอื้อประโยชน์ให้โดมินิกันสามารถซื้อน้ำมันจากเวเนซุเอลาได้ในราคาถูก จึงสามารถแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของโดมินิกันได้เป็นอย่างดี ส่วนความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอย่างเฮตินั้น แม้โดมินิกันจะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเฮติภายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสองประเทศ อาจถูกกระทบด้วยปัญหาผู้อพยพชาวเฮติที่เพิ่มจำนวนอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย สร้างภาระแก่รัฐบาลโดมินิกัน ซึ่งพยายามที่จะผลักดันกลุ่มคนเหล่านั้นออกจากดินแดนของตน
กองทัพ
[แก้]กองกำลังกึ่งทหาร
[แก้]กองกำลังกึ่งทหารของสาธารณรัฐโดมินิกัน ก่อตั้งโดย de la República Dominicana ประกอบด้วยประมาณ 44,000 บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ประมาณร้อยละ 60 ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นหลักสำหรับการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทหารรวมทั้งผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัยสำหรับสถานที่ไม่ใช่ทหารที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ ภารกิจหลักคือการปกป้องประเทศและปกป้องความสมบูรณ์ของดินแดนของประเทศสาธารณรัฐโดมินิกัน
ประชากรศาสตร์
[แก้]เชื้อชาติ
[แก้]ผสม 73% ผิวขาว 16% ผิวดำ 11%
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชนพื้นเมือง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เมสติโซ (ผิวขาวผสมอินเดียแดงพื้นเมือง) 60%, อเมริกาอินเดียแดง 30%, คอเคเชียน 9% และอื่นๆ 1%
ภาษา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการและมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง รองลงมาคือภาษาฝรั่งเศส ซึ่งภาษาสเปนจะมีความแตกต่างทางสำเนียงไปจากประเทศอื่นๆในทวีปอเมริกาใต้ กล่าวได้ว่าแต่ละประเทศจะมีสำเนียงที่ต่างกัน และจะมีคำท้องถิ่น(บางคำ)เฉพาะของแต่ละประเทศอีกด้วย
ศาสนา
[แก้]ศาสนาในสาธารณรัฐโดมินิกันส่วนมากนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (82.7%) รองลงมาคือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนต์ (9.7%) และอื่นๆ คือ ไม่มีศาสนา (4.7%) ไม่ปรากฏ (2.7%) ศาสนอื่นๆ (0.7%)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ "GINI index (World Bank estimate) - Dominican Republic". World Bank. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ2010-census
- สาธารณรัฐโดมินิกัน เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รัฐบาล
- (สเปน) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโดมินิกัน
- Chief of State and Cabinet Members เก็บถาวร 2012-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน CIA The World Factbook
- World Bank Dominican Republic
- ข้อมูลทั่วไป
- Dominican Republic entry at The World Factbook
- Dominican Republic เก็บถาวร 2008-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at UCB Libraries GovPubs
- สาธารณรัฐโดมินิกัน ที่เว็บไซต์ Curlie
- Dominican Republic profile from the BBC News
- Wikimedia Atlas of the Dominican Republic
- Key Development Forecasts for the Dominican Republic from International Futures
- การท่องเที่ยว
- พัฒนา และ สวัสดิการสังคม
- Gastronomy
- ดนตรี